คำถามโรคไทรอยด์ – คำตอบโรคไทรอยด์

เมื่อพูดถึงโรคไทรอยด์หลายคนก็จะเกิดคำถามเกี่ยวกับโรคไทรอยด์ขึ้นมาว่า มันคืออะไร เป็นแล้วอันตรายไหม โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร พบได้บ่อยมากเป็นคำถามโรคไทรอยด์ยอดฮิตเลยก็ว่าได้ วันนี้อินทัชเมดิแคร์จึงมาพร้อมคำตอบโรคไทรอยด์ที่จะไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ

คำถาม-คำตอบที่พบบ่อยเกี่ยวกับไทรอยด์

โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร

โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร

คำตอบ : โรคไทรอยด์เป็นพิษ หากอยู่ในช่วงที่ยังมีอาการหรือพึ่งเริ่มรักษา แนะนำงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น , แอลกอฮอล์ และยาเสพติด

เนื่องจากจะส่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำให้อาการใจสั่นของไทรอยด์เป็นพิษนั้นแย่ลงและอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้แต่หากไม่มีอาการและรักษาจนระดับไทรอยด์ปกติแล้วสามารถทานได้แต่ต้องทานด้วยความระมัดระวัง


สนใจตรวจคัดกรองไทรอยด์

นอกจากนี้ ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ต้องระมัดระวังในการทานอาหารเสริมในกลุ่มอาหารเสริมช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งอาจมีการแอบใส่ฮอร์โมนไทรอยด์เข้ามาและทำให้ผู้ป่วยนั้นอาการแย่ลงและไม่ตอบสนองต่อการรักษา 

ส่วนอาหารธรรมชาติทั่วไปที่อาจส่งผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์สูงนั้น เช่น กะหล่ำปลีดิบ ไม่จำเป็นต้องงดรับประทาน เนื่องจากมีผลเพิ่มฮอร์โมนไทรอยด์ค่อนข้างน้อยมาก 

 อ่านเพิ่มเติม การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคไทรอยด์ตามคำแนะนำของแพทย์


ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาหายไหม

คำตอบ : ขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากภูมิแพ้ตนเอง หรือโรคเกรฟ (Graves’ disease) ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยวิธีการทานยา,กลืนแร่ หรือผ่าตัด เพียงแต่ใช้ระยะค่อนข้างนานและขึ้นกับคนไข้ในแต่ละราย

ส่วนสาเหตุอื่นๆ นั้นพบได้น้อย เช่น ก้อนในไทรอยด์ หรือ มะเร็งไทรอยด์ ซึ่งระยะเวลาและการรักษาหายนั้นแตกต่างกันไป ให้สอบถามแพทย์เจ้าของไข้จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า

โรคไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายไหม น่ากลัวไหม

โรคไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายไหม น่ากลัวไหม

คำตอบ : ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่สามารถทำให้อันตรายถึงเสียชีวิตได้ หากตรวจพบช้าและไม่ได้รับการรักษาจนโรคดำเนินไปถึงภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤต (Thyroid storm)  เนื่องจากไทรอยด์เป็นพิษส่งผลต่อระบบร่างกายทุกระบบ เช่น หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย ไม่รู้สึกตัว เป็นต้น

แต่ถ้าหากคนไข้ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการและได้รับการรักษาเร็วและถูกต้อง มักจะไม่มีอันตราย และตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จนสามารถหายขาดและใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปได้


สนใจเข้ารับบริการคลิกที่นี่

เมื่อเป็นโรคไทรอยด์ กินผักอะไรได้บ้าง

ผักที่สามารถกินได้

คำตอบ : ผักที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักโขม แครอท ฟักทอง ผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แครอท ถั่วเลนทิล  ถั่วขาว  ผักวิตามีนบี ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา

ผักที่ห้ามกินเมื่อเป็นโรคไทรอยด์

คำตอบ : ผู้ป่วยขาดไอโอดีน/ไทรอยด์ต่ำ ห้ามกินผักดังนี้ ผักกาดขาว บรอกโคลี คะน้า และหัวไชเท้า ถั่วเหลือง

ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ต้องระมัดระวังในการทานอาหารที่มีสารไอโอดีน ซีลีเนียมและสังกะสีสูง เช่น เห็ด จมูกข้าวสาลี รำข้าว หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บรอกโคลี ข้าวกล้อง

ไทรอยด์สูง เกิดจากอะไร

ไทรอยด์สูงเกิดจากอะไร

คำตอบ : ไทรอยด์สูงมีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองของต่อมไทรอยด์ที่เป็นขึ้นมาเอง ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ นอกจากนี้อาจเกิดจากมีก้อนในไทรอยด์ที่สร้างฮอร์โมนผิดปกติหรือ เกิดจากการกินยา, อาหารเสริมที่ผสมไทรอยด์ได้ค่ะ


สนใจตรวจรักษากับอินทัชเมดิแคร์

โรคไทรอยด์ในเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร

โรคไทรอยด์ในเด็กมีสาเหตุคล้ายในผู้ใหญ่ แต่การรักษาโรคไทรอยด์ในเด็กมีความยุ่งยากมากกว่า เช่น ไม่สามารถรับไอโอดีน รังสีเพราะกังวลผลข้างเคียงโดยเฉพาะในเด็กเล็ก การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ในเด็กทำได้ยากกว่าเพราะขนาดต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็ก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไทรอยด์เป็นพิษมีอะไรบ้าง

ไทรอยด์มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและรุนแรงที่สุด คือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤต (Thyroid storm) เป็นภาวะที่เจอได้ไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตสูง มักพบได้คนไข้ที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษแต่ไม่ได้รับการรักษา คนไข้จะมีอาการใจสั่นรุนแรง ซึมไม่รู้สึกตัว และมีไข้สูง

 ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของไทรอยด์นั้นสามารถพบได้ทุกระบบของร่างกาย ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง กระดูกบาง ตาโปน ประจำเดือนมาผิดปกติและมีบุตรยาก เป็นต้น 

รวมถึงไทรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์ก็มีอาการแทรกซ้อนจากไทรอยด์เป็นพิษเช่นกัน

ทั้งนี้การเกิดภาวะแทรกซ้อนมักจะสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นโรคและระยะเวลาที่ได้รับการรักษา หากเป็นมาไม่นานและได้รับการรักษาเร็วโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อยลง

บทความที่น่าสนใจ

แก้ไขล่าสุด : 24/08/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com