วัคซีนบาดทะยักเป็นวัคซีนที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่อยู่ในโปรแกรมพื้นฐานที่ต้องมีการฉีดให้กับเด็กทารก เป็นผลให้การระบาดของบาดทะยักน้อยลง นอกจากนั้นวัคซีนบาดทะยักจำเป็นต้องมีการรักษาภูมิคุ้มกันไว้ตลอดทำให้ต้องมีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับผู้ใหญ่ หรือหลังจากที่ได้รับวัคซีนจนครบขนาดของยาในวัยเด็กแล้ว โดยในวัยผู้ใหญ่จะต้องมีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกๆ 10 ปี
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจและรู้จักกับโรคบาดทะยักกันก่อนนะคะ เพื่อที่จะได้ทราบอาการและสาเหตุ รวมไปถึงความรุนแรงของบาดทะยักด้วย เมื่อเรารู้ที่มาที่ไปแล้วก็จะได้หาวิธีป้องกันที่ถูกต้องไว้ได้ทันท่วงที
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนบาดทะยักมีดังต่อไปนี้
บาดทะยัก คืออะไร
บาดทะยัก (Tetanus) คือ โรคติดเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium tetani ซึ่งผลิต exotoxin ที่มีพิษต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ทำให้มีการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา เริ่มแรกกล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง ทำให้อ้าปากไม่ได้ โรคนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (lockjaw)
(อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข)
สาเหตุของโรคบาดทะยัก
เกิดจากเชื้อ Clostridium tetani ซึ่งเป็น anaerobic bacteria ย้อมติดสีแกรมบวก มีคุณสมบัติที่จะอยู่ในรูปแบบของสปอร์ (spore) ที่ทนทานต่อความร้อนและยาฆ่าเชื้อหลายอย่าง เชื้อสามารถสร้าง exotoxin ที่ไปจับและมีพิษต่อระบบประสาท
เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
- แผลสดที่มีสิ่งแปลกปลอมค้างเช่น ฝุ่น อุจาระ น้ำลาย
- แผลที่มีวัตถุค้างเช่น ตะปูดำ เข็มตำ หรือกิ่งไม้ดำ หรือ
- อาจจะเกิดจากของมีคมบาด
- แผลไฟไหม้
- แผลบดทับทำให้เกิดเนื้อตาย
- สัตว์กัดเช่น สุนัข แมว ค้างคาว หนู
- แผลเรื้อรังมีเนื้อตายหรือออกซิเจนเข้าไม่ถึงได้แก่
- แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ
- เช้าเข้าผ่านทางสายสะดือ
- ไม่ทราบสาเหตุ
ระยะฟักตัวของโรคบาดทะยัก
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลแล้ว ระยะฟักตัวของบาดทะยักจะใช้เวลาประมาณ 7 ถึง 10 วัน แล้วโรคบาดทะยักจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่สองสามวันแรกและอาจกินระยะเวลาหลายสัปดาห์
อาการของโรคบาดทะยัก
- ปวด คล้ายปวดกล้ามเนื้อ
- มีปัญหาในการกลืนอาหาร การอ้าปาก หรือการหายใจ
- มีไข้สูง มีเหงื่อออก หงุดหงิดง่าย
- มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นระยะๆ คอเกร็ง หลังเกร็ง
- มีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- มีอาการเกร็งรุนแรงจนกล้ามเนื้อสลายตัว หรือจนถึงขั้นกระดูกหัก
- กล้ามเนื้อหลังหดจนทำให้หลังค่อม
- เป็นตะคริว เป็นลมชัก
” บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ หรือมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติที่รุนแรง “
การป้องกันโรคบาดทะยัก
- ฉีดวัคซีนบาดทะยักตามอายุที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนด และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
- ป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผล หรือเมื่อเกิดบาดแผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก ควรรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและฟอกสบู่นานอย่างน้อย 10-15 นาที และรีบมาพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (วัคซีนบาดทะยัก ฉีดตอนไหน)
1. หากในสมัยเด็ก ได้รับวัคซีนบาดทะยักครบตามกำหนด (ในเด็กเล็กจะเป็นวัคซีนรวมป้องกัน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก) เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น จะดูตามบาดแผลคือ
ดังนั้น หากเคยฉีดวัคซีนครบมาก่อนแล้ว และได้ฉีดกระตุ้นไป 1 เข็มในช่วงนี้ หลังจากนี้ หากเกิดบาดแผลเล็กๆ แผลไม่สกปรก แผลไม่ลึก ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีนไปได้อีกนานเป็น 10 ปี
2. แต่หากในสมัยเด็ก ได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด ควรฉีดวัคซีนบาดทะยักให้ครบ 3 เข็ม และหลังจากนั้น จะฉีดกระตุ้นตามลักษณะของบาดแผลดังข้อ 1
อ้างอิงข้อมูล : แพทย์หญิงสลิล ศิริอุดมภาส, การพิจารณาฉีดวัคซีนบาดทะยัก (ถามแพทย์)
การฉีดวัคซีนบาดทะยักในหญิงตั้งครรภ์ (วัคซีนบาดทะยัก คนท้อง)
1. หญิงมีครรภ์ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 ครั้ง ครั้งละ 0.5 มล. โดย
- เข็มที่ 1ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ จะเป็นระยะตั้งครรภ์เดือนไหนก็ได้
- เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน
- เข็มที่ 3ฉีดห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน แต่หากฉีดไม่ทันในขณะตั้งครรภ์ให้ฉีดหลังคลอด
สรุป คือ ฉีด 3 เข็ม ระยะห่าง 0, 1, 6 เดือนและให้วัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี
อ้างอิงข้อมูล : ธีราพร ชนะกิจ.คำถามที่พบบ่อยในการให้วัคซีนในหญิงมีครรภ์ FAQs: Vaccination in pregnancy. อาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำแนะนำในการดูแลภายหลังฉีดวัคซีนบาดทะยัก
ภายหลังได้รับวัคซีนแล้วผู้ที่ฉีดวัคซีนอาจจะมีอาการ ไข้ ปวดบวม แดงร้อนบริเวณที่ฉีด แต่ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง หากมีอาการหลังฉีดวัคซีนดังกล่าวข้างต้น แนะนำให้ปฏิบัติตน ดังนี้
นอกจากนี้ก่อนการฉีดวัคซีนบาดทะยัก ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ดูแล ตรวจความพร้อมของร่างกาย หลังการฉีดวัคซีนควรพักบริเวณจุดให้บริการเป็นเวลา 30 นาที เพื่อเฝ้าดูอาการให้แน่ใจว่าไม่มีการแพ้รุนแรง จึงกลับบ้านได้ค่ะ
หากต้องการฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือสอบถามรายละเอียด
ทักแชทมาได้ทุกช่องทาง เรายินดีให้บริการค่ะ
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 26/06/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com