กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคของคนชอบกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัญหาสุขภาพทางระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มสาวๆ อาการที่น่ารำคาญใจ เช่นปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด หรือปวดท้องน้อย อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงสาเหตุและวิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมด้วยคำแนะนำในการป้องกันสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคนี้

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบคืออะไร

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ โรคที่มีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ โดยเชื้อจากภายนอกเข้ามาทางท่อปัสสาวะสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดขณะปัสสาวะได้

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากการติดเชื้ออีโคไล

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อ Escherichia coli หรือ E.coli

พบได้บ่อยในผู้กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชาย แต่ก็สามารถเป็นได้ในทุกเพศทุกวัยเช่นกัน รวมไปถึงผู้ที่มีโรคที่ทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เช่น ท่อไตผิดปกติ นิ่ว ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์คลิก

อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเบื้องต้นช่วงเริ่มแรกผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปัสสาวะแบบต่างๆ อาการปัสสาวะแสบขัด ตามมาด้วยอาการปวดท้องน้อยหน่วงๆ ปัสสาวะบ่อย กะปริบกะปรอย ปัสสาวะปนเลือด (อาจมองเห็นเป็นสีชมพูหรือเป็นเลือด) ปัสสาวะขุ่น ซึ่งปกติปัสสาวะของคนเราจะใส และปัสสาวะไม่สุด

ภาวะแทรกซ้อน

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หรือมีการติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น 

  • กรวยไตอักเสบ ซึ่งเป็นโรครุนแรง รักษายากขึ้น อาจถึงขั้นไตวายเฉียบพลัน และติดเชื้อในกระแสเลือด

  • ในผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยและได้รับยาฆ่าเชื้อบ่อย อาจเกิดการดื้อยาฆ่าเชื้อได้ ทั้งนี้ควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุอื่นๆร่วมด้วย ที่พบบ่อยเช่น นิ่วในท่อไต เป็นต้น

ดื่มน้ำอย่างเพียงพอช่วยป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

วิธีรักษา

วิธีรักษากระเพราะปัสสาวะอักเสบสามารถรักษาได้โดยยาฆ่าเชื้อ มีทั้งแบบชนิดกิน หรือวิธีฉีดตามแพทย์สั่ง ระยะเวลาประมาณ 3-10 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตัวผู้ป่วย ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างการดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ และงดกลั้นปัสสาวะ


” การรักษาด้วยการกินยา

ควรมาพบแพทย์ก่อน
เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
ไม่ควรซื้อยากินเอง 

รักษาช้าจะส่งผลอย่างไร

หากรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบช้าอาจทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ  ซึ่งเป็นโรครุนแรง การรักษาก็จะยากขึ้น อาจถึงขั้นไตวายเฉียบพลัน และติดเชื้อในกระแสเลือด

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

หากสังเกตพบอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะแสบขัด (ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ) ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น หรือปัสสาวะบ่อย (ทั้งนี้การปัสสาวะบ่อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้เช่นกัน) หรือปัสสาวะมีเลือดปน

พบแพทย์เพื่อรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การดูแลตัวเองหลังพบแพทย์

การดูแลตัวเองหลังพบแพทย์

  • แนะนำดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆและปริมาณมากกว่าปกติ เพื่อเพิ่มปริมาณปัสสาวะ และเพื่อช่วยขับเชื้อโรคออกไปทางปัสสาวะ 

  • งดกลั้นปัสสาวะ ทำให้เป็นสุขอนามัยที่ดีด้านการขับถ่าย

  • ทำความสะอาดบริเวณท่อปัสสาวะหลังปัสสาวะและหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงควรปัสสาวะทิ้งทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยขับเชื้อแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ท่อปัสสาวะออก

  • หากแพทย์มีการจ่ายยาควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระคายเคือง

  • หากแพทย์มีการนัดติดตามอาการ ควรไปพบตามนัด

วิธีป้องกัน

ดื่มน้ำให้มาก

แต่ไม่ควรมากจนเกินไป การดื่มน้ำจะช่วยทำให้เราปัสสาวะบ่อยขึ้น และช่วยขับแบคทีเรียออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยสามารถคำนวณปริมาณน้ำที่ร่างกายควรได้รับ ตามน้ำหนักตัวได้โดยคิดตามสูตรนี้


(น้ำหนัก x 2.2 x 30/2) /1000 = ปริมาณน้ำที่ควรดื่มใน 1 วัน (ลิตร)

ไม่กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ

หากรู้สึกอยากปัสสาวะ ควรไปปัสสาวะทันทีอย่ากลั้นไว้ เพราะอาจเป็นการสะสมแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ

ปัสสาวะหลังการมีเพศสัมพันธ์

วิธีนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันการท้องอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และช่วยขับแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ท่อปัสสาวะให้ออกไป

รักษาความสะอาด

ทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกต้อง

หลังการขับถ่ายให้ทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียจากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีแรงๆ ทำความสะอาดที่บริเวณอวัยวะเพศ

รักษาความสะอาด

รักษาสุขอนามัยของร่างกายและบริเวณอวัยวะเพศ ควรอาบน้ำทุกวัน และไม่ใส่ชุดชั้นในซ้ำเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย

ไม่ซื้อยาใช้เองหากมีอาการผิดปกติ

เพราะเสี่ยงอาการแย่ลง หรืออาจเกิดการติดเชื้อได้ หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

คำถามที่พบบ่อย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หายเองได้ไหม

ตอบ: ในรายที่มีอาการเริ่มเป็นในช่วงแรกไม่รุนแรง และไม่มีโรคประจำตัว บางรายสามารถหายเองได้ โดยให้ดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ และงดกลั้นปัสสาวะ

ห้ามกินอะไรเมื่อเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ตอบ: กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ และเกิดจากเชื้อโรคภายนอกมากกว่า ดังนั้นไม่จำเป็นต้องห้ามกินอะไร แต่เน้นที่การดื่มน้ำบ่อยๆและงดกลั้นปัสสาวะ และทานยาฆ่าเชื้อให้ถูกต้องมากกว่า แนะนำหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ทานอาหานที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ยารักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ตอบยาฆ่าเชื้อสามารถใช้ได้หลายกลุ่ม เช่น  Penicillin , Cephalosporin , Fluoroquinolones  ขึ้นกับเชื้อที่สงสัย ความรุนแรง ยาที่แพ้และ โรคประจำตัวผู้ป่วย

*ควรมาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยากินเอง

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กี่วันหาย

ตอบ: ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นภายใน 3-7 วัน หากในกรณีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ทำไมถึงเป็นบ่อย หรือเป็นซ้ำ

ตอบ: สาเหตุที่ทำให้เป็นซ้ำ เช่น การรักษาอย่างไม่ถูกวิธี พฤติกรรมการปัสสาวะที่ไม่ดีอย่างการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ การดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำหรือป่วยด้วยโรคที่มีผลต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลให้สามารถติดเชื้อได้ง่าย

หมายเหตุ: อาจมีปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากปัจจัยเหล่านี้ หากเป็นซ้ำควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

หากมีอาการแสบอวัยวะเพศควรทำอย่างไร

ตอบ: หากมีอาการแสบอวัยวะเพศ ขณะเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างระมัดระวัง โดยไม่ควรใช้สารเคมีหรือสบู่ที่มีความรุนแรงล้าง สวมกางเกงที่ระบายอากาศได้ดี ผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ภายในช่องคลอด เช่น ผ้าอนามัยชนิดสอด เพราะอาจทำให้ระคายเคืองมากขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์

บทความที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 แก้ไขล่าสุด : 01/08/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com