ตรวจไขมันในเลือด เพื่อป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คุณไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถคาดเดาได้จากอาการของโรคที่แสดงออกอย่างชัดเจน ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจไขมันในเลือด เพื่อประกอบวินิจฉัยของแพทย์และการติดตามรักษาอย่างใกล้ชิด
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจไขมันในเลือด
ตรวจไขมันในเลือด ตรวจอะไรบ้าง?
Lipid profile คืออะไร?
การตรวจ Lipid Profile คือ การตรวจไขมันในเลือด เป็นการเช็คระดับไขมันทุกส่วนประกอบของเส้นเลือดในร่างกายทั้งหมด เช่น ไขมันชนิดคอเลสเตอรอล ประกอบด้วย
-
ไขมันชนิดเลว (LDL)
-
ไขมันชนิดดี (HDL)
-
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ว่ามีการไหลเวียนที่ปกติหรือมีปริมาณการอุดตันในหลอดเลือดมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำผลการตรวจระดับไขมันในเลือดประกอบการวินิจฉัยภาวะโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากภาวะขาดเลือด เช่น
โรคหัวใจ และภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงจากการเกิดการอุดตันอย่าง โรคหลอดเลือดตีบตัน ที่เป็นโรคแทรกซ้อนยอดนิยมของคนไทย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ราคาตรวจไขมันในเลือด
ค่าบริการตรวจไขมันในเลือด ราคา 1,190 บาท ซึ่งราคานี้จะมีรายการตรวจคือ
1. ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination
2. ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด Glucose / FBS
3. ตรวจระดับไขมันในเส้นเลือด / Lipid profile
ราคาตรวจไขมันในเลือดตามรายการข้างต้นรวมค่าแพทย์และบริการทางคลินิกแล้ว
หมายเหตุ : ทั้งนี้ราคาตรวจไขมันอาจแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละคน ขึ้นกับดุลยพินิจแพทย์
ค่าไขมันในเลือดสูงเท่าไหร่อันตราย?
หากต้องการทราบว่าไขมันในเลือดสูงเท่าไหร่ถึงอันตราย เราสามารถประเมินได้จากการตรวจ Lipid profile แล้วนำผลมาอ่านค่าไขมันในเลือด ซึ่งการตรวจนี้จะเป็นการตรวจเช็คไขมันทุกชนิดในร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าผลตรวจไขมันในเลือดทั่วทั้งร่างกายอยู่ระดับเกณฑ์ไหนบ้าง โดยอ้างอิงจากผลตรวจระดับไขมันในเลือด โดยสามารถเช็คผลจากตารางดังนี้
ซึ่งระดับไขมันในร่างกาย ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ
-
ไขมันรวม มีค่าน้อยกว่า 200 มิลลิกริม/เดซิลิตร
-
ไตรกลีเซอไรด์ มีค่าน้อยกว่า 150 มมิลลิกริม/เดซิลิตร
-
ไขมันชนิดไม่ดี มีค่าน้อยกว่า 130 มิลลิกริม/เดซิลิตร
-
ไขมันชนิดดี ในผู้ชายมีค่าสูงกว่า 40 มิลลิกริม/เดซิลิตร
-
ไขมันชนิดดี ในผู้หญิงจะมีค่าสูงกว่า 50 มิลลิกริม/เดซิลิตร
คนที่ไขมันในเลือดสูง อาการมีอะไรบ้าง?
อาการของไขมันในเลือดสูง
อาการของไขมันในเลือดสูงในระยะแรกอาจตรวจพบได้ยากเพราะไม่มีอาการแสดง แต่หากในร่างกายมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์จำนวนมากเกินไปสะสมกันเป็นระยะเวลานาน ต่อมาอาจเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนได้ลำบาก ส่งผลให้มีอาการดังต่อไปนี้
อาการปวดหัวแบบไหนบ้าง เสี่ยงไขมันในเลือดสูง
ลักษณะอาการปวดหัวที่เสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูงระบุไม่ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นไขมันในเลือดสูง อาจมีอาการปวดหัวที่พบได้ดังนี้ เช่น
-
ปวดหัว เวียนหัว หน้ามืด
-
วูบเป็นลมบ่อย
-
มีอาการปวดหัวที่บริเวณท้ายทอย
หากต้องการที่จะหาสาเหตุที่แน่ชัดว่ามีไขมันในเลือดสูง จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด
ตรวจไขมันในเลือด งดอาหารกี่ชั่วโมง?
การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือดเพื่อตรวจไขมันในเลือดจะต้องทำการงดอาหารและเตรียมตัวดังนี้
-
ควรงดอาหารก่อนการตรวจไขมันในเลือดประมาณ 9 – 12 ชั่วโมง โดยยังสามารถให้ดื่มน้ำเปล่าได้อยู่
-
สามารถรับประทานอาหารที่เคยรับประทานได้ตามปกติ ในช่วงระยะ 3 สัปดาห์ก่อนการเจาะเลือด
-
ผู้ตั้งครรภ์ หรือป่วยหนัก เช่น ได้รับอุบัติอย่างรุนแรง, ผู้ป่วยหลังผ่าตัด,ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ การตรวจไขมันในเลือดอาจตรวจได้ผลที่คลาดเคลื่อน ควรต้องตรวจเมื่อภาวะดังกล่าวหายไปแล้ว 12 สัปดาห์หรืออย่างน้อย 3 สัปดาห์ในผู้ที่เจ็บป่วยเล็กน้อย
-
ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) ควรเจาะเลือดภายใน 12 ชั่วโมงแรก หรือ 6 สัปดาห์หลัง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามผลที่เจาะได้ในระยะเฉียบพลันหากพ้นระยะ 12 ชั่วโมง อาจมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัย ถ้าหากระดับไขมันสูงกว่ามาตรฐาน แสดงว่าผู้ป่วยเป็นไขมันในเลือดสูงจริง สามารถให้การรักษาได้โดยไม่ต้องรอเป็น ระยะเวลาถึง 6 สัปดาห์
ควรตรวจไขมันในเลือด กี่ครั้งต่อปี
สำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และไม่มีประวัติของโรคที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบหรือตัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปัจจุบันยังสูบบุหรี่ และประวัติเคยตรวจค่าไขมันในเลือดพบว่าปกติ ควรตรวจไขมันในเลือดซ้ำทุก 5 ปี
“แต่หากใครที่มีปัจจัยความเสี่ยงจากประวัติดังกล่าว หรือตรวจพบว่ามีภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ และต้องรับประทานยาลดไขมันอยู่ ควรเข้ารับการตรวจไขมันในเลือดซ้ำทุก 2 – 6 เดือน”
พญ.สุพิชชา บึงจันทร์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 23/02/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com