เชื้อราในช่องคลอด! ปัญหากวนใจผู้หญิง [ทุกคน] ที่ต้องอ่านเลย!

เชื้อราในช่องคลอดเป็นโรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเผชิญ อาจไม่ได้ส่งผลเสียที่ร้ายแรง แต่ก็ก่อให้เกิดความรำคาญเนื่องจากอาการคัน เมื่อต้องพบปะผู้คนจะทำให้เสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ วันนี้อินทัชเมดิแคร์พามารู้จักสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด รวมทั้งวิธีป้องกันและดูแลตัวเองกันค่ะ

เลือกอ่านข้อมุลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการเป็นเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal candidiasis) มีสาเหตุ จากการติดเชื้อรา ที่มีชื่อว่า “แคดิดา แอลบิแคน” (Candida abicans) พบได้ในบริเวณลำไส้ โดยเฉพาะเพศหญิงที่มีทวารหนักอยู่ใกล้กับช่องคลอด ซึ่งทำให้เชื้อกระจายจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอดได้ง่าย

แต่ช่องคลอดมีภาวะความเป็นกรดทำให้เชื้อราไม่สามารถเติบโตได้ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ภาวะความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง เชื้อราก็จะสามารถเพิ่มจำนวนมากขึ้น และจะแสดงอาการตามมา

 โรคเชื้อราในช่องคลอดไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะถึงแม้ว่าจะไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลยก็สามารถติดเชื้อได้อยู่ดีเพราะเชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้เองเช่นกัน 

อาการคันเชื้อราในช่องคลอด

อาการเชื้อราในช่องคลอด

  • คันช่องคลอดมาก ระคายเคือง คันมากจนช่องคลอดบวม

  • เจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพราะช่องคลอดแห้ง

  • ตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น เป็นก้อนๆคล้ายโยเกิร์ต  บางรายเป็นน้ำคล้ายนมบูด

  • อาการรุนแรงขึ้น คือปัสสาวะแสบขัด ช่องคลอดบวมแดง


พบแพทย์ รักษาเชื้อราในช่องคลอด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด
  • สวมกางเกงยีนส์คับแน่นจนเกินไป กางเกงที่คับจะทำให้เกิดการเสียดสี

  • สวมกางเกงชั้นในไนลอนซึ่งทำให้การระบายอากาศไม่ดี

  • เกิดการอับชื้น หมักหมมจากเหงื่อหรือความร้อน

  • การใช้ผ้าอนามัยก็จะเกิดการเสียดสีได้เวลาเคลื่อนไหวและยังทำให้บริเวณนั้นชื้นซึ่งเอื้อต่อการเกิดเชื้อรา

  • การสวนล้างช่องคลอดทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างเสียไป

  • ใช้สบู่ยาหรือสบู่อาบน้ำ ยาระงับกลิ่น และยาฆ่าเชื้อบริเวณใกล้ๆ กับช่องคลอดเพราะสารเคมีจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อบริเวณนั้น และเปลี่ยนแปลงสภาพสมดุลในช่องคลอด

  • การกินยาคุมกำเนิด อาจทำให้ค่าความเป็นกรด ด่างภายในช่องคลอดเปลี่ยนไป และส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบและติดเชื้อราได้
สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอด
  • การรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดลดปริมาณลง ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ เกิดเป็นตกขาวมาก เกิดความอับชื้นตามมา

  • ใช้ผงซักฟอกที่มีความเข้มข้นมากในการซักกางเกงชั้นใน

  • ภาวะตึงเครียด

  • อาหารก็มีผลต่อการติดเชื้อราได้ เมื่อเรารู้สึกซึมเศร้า มีภาระหนัก เกิดความวิตกกังวลอย่างมาก จะมีผลต่อความต้านทานของร่างกายทำให้ภูมิต้านทานลดลง และการติดเชื้อราก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย ส่วนอาหารที่ไม่มีประโยชน์จะทำให้สุขภาพจิตแย่ลง

  • ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถติดเชื้อราได้มากที่สุด เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะสูง ส่งผลให้มีน้ำตาลในสารหล่อลื่นช่องคลอดมากขึ้นด้วย

เชื้อราในช่องคลอด อันตรายไหม

เชื้อราในช่องคลอด อันตรายไหม

คุณผู้หญิงเมื่อเป็นเชื้อราในช่องคลอดไม่ต้องวิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะอาการนี้ถือเป็นโรคทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิง ไม่ได้มีอันตรายจนกลายเป็นโรคร้ายแรง แต่จะก่อให้เกิดอาการรำคาญ เพราะคันมาก

ส่วนใหญ่มักจะคันจนนอนไม่ได้ เกาจนเป็นแผล เป็นอุปสรรคเมื่อมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากอาการคัน


เชื้อราในช่องคลอด รักษาหายไหม

การรักษาโดยใช้ยาตามวินิจฉัยของแพทย์ทำให้อาการสามารถหายได้ แต่ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้ได้ ไม่ปล่อยปะละเลยความสะอาด ไม่เช่นนั้นอาการคันจากเชื้อราในช่องคลอดก็จะกลับมาอีกได้

พบแพทย์ดีกว่าซื้อยากินเอง 

วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอด

วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอดมีทั้งการใช้ยาเหน็บช่องคลอด เมื่อมีอาการคันและเจ็บปวด ควรใช้ยาฆ่าเชื้อรา ชนิดครีมทาบริเวณรอบๆช่องคลอดและทวารหนัก แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนเท่านั้น ไม่ควรซื้อยาใช้เอง เพราะอาจใช้ยามากเกินขนาด หรือได้รับการรักษาที่ไม่ครบถ้วน ทำให้เชื้อราหยุดยั้งไปชั่วขณะแต่ไม่ถูกทำลายหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการดื้อยาขึ้น การรักษาก็จะยากขึ้นไปอีก 

การรักษาเชื้อราในช่องคลอดนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ เพราะอาการคล้ายกับปัญหาสุขภาพทางเพศอื่นๆ เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งโรคเหล่านี้มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน

วิธีดูแลและป้องกันการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

วิธีดูแลและป้องกันการเกิดเชื้อราในช่องคลอดด้วยตัวเอง

  • ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม งดการสวนล้างช่องคลอด ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่อ่อนๆ ล้างภายนอกเท่านั้นก็เพียงพอ

  • สวมใส่กางเกงชั้นใน กางเกงที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป ถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น

  • ทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรกินเกินขนาด

  • เมื่อเป็นประจำเดือนควรเปลี่ยนแผ่นอนามัยบ่อยๆ อย่าปล่อยให้มักหมม

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เชื้อราชอบ เช่น น้ำตาล แป้งขัดขาวต่างๆ น้ำผลไม้ อาหารแรรูปต่างๆ นมวัวที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ รวมไปถึงแอลกอฮอล์ 

  • รับประทานผักใบเขียว เช่น ผักเคล กวางตุ้ง คะน้า ผักขม น้ำตาลต่ำ แมกนีเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง วิตามินซีสูง ทำให้ช่องคลอดเป็นด่าง

เอกสารอ้างอิง

  • หนังสือสารพันปัญหาคาใจสาว, กองบรรณาธิการ. สำนักพิมพ์ใกล้หมอ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

แก้ไขล่าสุด : 26/10/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com