ในปัจจุบันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นโรคที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งในวัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้ใหญ่วัยทำงานก็เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในด้านการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่าไรนัก ส่งผลให้คู่รักหลายคู่ต้องเผชิญกับอาการไม่พึงประสงค์จากการมีเพศสัมพันธ์ รุกรามไปจนถึงขั้นร้ายแรง ไม่ยอมไปพบแพทย์เนื่องด้วยความอาย
จากสิ่งที่ไม่เข้าใจดังที่กล่าวข้างต้น วันนี้อินทัชเมดิแคร์จะมาไขข้อสงสัยให้กับคนที่ยังไม่มีความเข้าใจ รวมทั้งผู้ที่กำลังเผชิญกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ ให้ทราบถึงความสำคัญในการดูแลรักษาตัวเอง และการป้องกันโรคได้ในเบื้องต้นให้เข้าใจได้ง่ายๆ ไปดูกันเลยค่ะ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease) คือกลุ่มโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อจากการร่วมเพศ ระหว่างชายและหญิง ตลอดจนเพศสัมพันธ์ของกลุ่ม LGBT ด้วย
โรคบางโรคติดต่อจากการสัมผัสทางใดทางหนึ่งได้แก่ ทางปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก และโรคกลุ่มนี้สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างถูกต้องและปฏิบัติตนให้ถูกวิธี
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 10 โรคมีดังนี้
โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate, Genital wart)
-
โรคหูดหงอนไก่ เกิดจากเชื้อ HPV type 6, 11
-
ระยะฟักตัว (Incubation period) ประมาณ 1-6 เดือน
-
ติดต่อโดยการร่วมเพศ และสัมผัสทางเพศกับผู้ป่วย
-
อาการ ติ่งเนื้ออ่อนสีชมพูยื่นออกมาจากผิว กระจายออกทางด้านบน คล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ พบได้บ่อยบริเวณรอบปากช่องคลอด ใต้ผนังหุ้มปลายองคชาติ
โรคซิฟิลิส (Syphilis)
-
โรคซิฟิลิสเกิดจากเชื้อ Treponema pallidum
-
ระยะฟักตัว (Incubation period) 9-90 วัน
-
ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิสทารกจะติดโรคด้วย
-
อาการแบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 : (Primary Syphilis) เกิดแผลริมแข็ง ไม่มีอาการปวด
ระยะที่ 2 : (Secondary Syphilis) แผลริมแข็งหายไป มีไข้ ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ มีผื่นขึ้นตามฝ่ามือ-ฝ่าเท้าหรือทั่วร่างกาย
ระยะที่แฝง : (Latent Syphilis) มักไม่มีอาการแสดงใดๆ
ระยะที่ 3 : (Tertiary Syphilis) เชื้อเข้าไปทำลายระบบสมอง และอวัยวะต่างๆ
แผลริมอ่อน (Chancroid)
-
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus ducreyi
-
ระยะฟักตัว (Incubation period) 4-7 วัน
-
ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
-
อาการของผู้ชายจะมีตุ่มหนองเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ ต่อมาแตกเป็นแผล แผลขอบไม่แข็ง ไม่เรียบ มีเลือดอออกเจ็บปวดมาก
- อาการของผู้หญิงส่วนใหญ่คล้ายกับผู้ชาย แต่ถ้าแผลอยู่ที่ผนังช่องคลอด หรือปากมดลูกก็อาจไม่มีอาการ หรือเจ็บปวดเวลาร่วมเพศ
เริม (Herpes genitalis)
-
เริมเกิดจากเชื้อ HSV type 2
-
ระยะฟักตัว (Incubation period) 4-7 วัน
-
ติดต่อโดยการร่วมเพศหรือสัมผัสทางเพศกับผู้ป่วย
-
อาการ เม็ดตุ่มน้ำใสๆ บริเวณอวัยวะเพศ ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ปวดแสบร้อน คันๆ หากแตกจะเป็นแผลตื้นและเจ็บ พบบ่อยที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศชาย ช่องคลอด ปากมดลูก
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
-
ควรงดร่วมเพศ รวมทั้งสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
-
ไม่ควรซื้อยารักษาด้วยตัวเอง ควรเข้าตรวจรักษากับแพทย์เท่านั้น เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อ
-
ยารักษาไม่หาย การเข้ารักษากับแพทย์โดยตรงจะส่งผลดีกับคนไข้และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการรักษา
-
ไปตรวจรักษาตามนัดทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
-
ควรแจ้งให้สามี/ภรรยาทราบ และควรพาคู่นอนไปตรวจรักษาด้วยโดยเร็วที่สุดเมื่อทราบว่าตนเองเป็นโรค
-
เมื่อตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรเจาะเลือดตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วย
-
ในกรณีเกิดหนองในผู้ชายไม่ควรรีดอวัยวะเพศเพื่อดูหนองเพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบมากขึ้น
-
รักษาอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
-
ควรงดดื่มเหล้า-เบียร์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
-
การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทางทวารหนัก
-
การใช้สารเสพติด รวมถึงใช้อุปกรณ์เสริมทางเพศร่วมกัน
-
มีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายให้บริการทางเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
-
มีคู่เพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คน
-
มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือ ถุงยางอนามัยแตก รั่ว หลุด (ช่องทางใดช่องทางหนึ่งหรือทุกช่องทาง ที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์)
-
คู่เพศสัมพันธ์เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
-
มีประวัติการป่วยติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไปในรอบปีที่ผ่านมา
วิธีการป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือการงดการมีเพศสัมพันธ์ แต่หากไม่สามารถงดได้ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
-
ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆและสามารถป้องกันได้โดยการที่ผู้ชายต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
-
ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง โดยเฉพาะกรณีมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า
-
ห้ามร่วมเพศหากมีประจำเดือนเพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการติดโรคมากขึ้น
-
ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเพราะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
-
ควรตรวจเลือดประจำปีทุกครั้งเพื่อหาเชื้อโรคในกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะคู่ที่แต่งงานใหม่ การพบแพทย์เป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หากเป็นในระยะแรกก็จะรักษาได้ทันท่วงที
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะเกิดความอายเมื่อต้องมาพบแพทย์ บางรายปล่อยไว้ไม่กล้ามารักษา รวมทั้งขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรค จนทำให้เกิดการรุกรามของโรครวมไปถึงการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นด้วย
ดังนั้นเมื่อเป็นโรคแล้วผู้ป่วยต้องละความอายเข้าพบแพทย์และมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรักษาร่วมกับสามี-ภรรยาหรือคู่นอนที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อช้ำและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาในระยะยาว
เอกสารอ้างอิง
-
บทความโรคหนองใน คืออะไร? ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
-
บทความการติดตามผู้สัมผัสโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้, เวชบันทึกศิริราช
-
ผศ.ดร.เด่นพงศ์ พัฒนเศรษฐานนท์ ,โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease) .สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พญ.สุพรรษา เหนียวบุบผา
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 22/08/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com