วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดป้องกันโรคหลังสัมผัสหรือถูกสัตว์กัด

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า มีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด คนหรือสัตว์ที่มีอาการของโรคจะเสียชีวิตทุกราย โรคนี้พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด

ซึ่งในประเทศไทยสุนัขยังคงเป็นสัตว์นำโรคที่สำคัญที่สุด ในปีหนึ่งๆ มีคนถูกสุนัขกัดมากกว่า 1 ล้านคน ส่วนหนึ่งของคนที่ถูกกัดจะมารับบริการที่สถานพยาบาล การตัดสินใจให้วัคซีนหรืออิมมูโนโกลบูลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งสำคัญ

หากผู้สัมผัสโรคนี้ได้รับการดูแลรักษาอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้เสียชีวิตได้ 


เรื่องน่าก่อนฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าสำคัญอย่างไร?

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าสำคัญอย่างไร

  • ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหากได้รับความเสี่ยง เพราะโรคนี้ไม่มีทางรักษาหากเป็นแล้วก็มักเสียชีวิตในทุกๆราย

  • การฉีดก่อนสัมผัสเชื้อจะช่วยป้องกันบุตรหลานของคุณ เมื่อบังเอิญสัมผัสเชื้อแล้วไม่ได้บอกผู้ปกครอง

  • ป้องกันและลดโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อในคนและสัตว์

  • ลดโอกาสการเสียชีวิต เมื่อถูกสัตว์กัด ข่วน หรือได้รับความเสี่ยงอื่นๆ

วัคซีนพิษสุนัขบ้าในคนกับในสัตว์

 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน

  • ช่วยป้องกันโอกาสการติดเชื้อทั้งการฉีดก่อนและหลังสัมผัสเชื้อ

  • สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน

  • การฉีดก่อนการสัมผัสเชื้อช่วยลดค่าใช้จ่ายในภายหลัง เพราะไม่ต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (เซรุ่มพิษสุนัขบ้า) รอบแผลเพิ่มเติม ในกรณีที่ได้รับเชื้อแบบมีความเสี่ยงสูง

  • ฉีดวัคซีนที่สถานพยาบาล เช่น คลินิก โรงพยาบาล

 

 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์

  • สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ช่วยอายุ 2-4 เดือน ไม่ควรฉีดตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากในช่วงแรกเกิดยังมีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีพอ จึงไม่เหมาะแก่การฉีดวัคซีน และฉีดกระตุ้นซ้ำเมื่อสัตว์อายุ 3 เดือน และ 1 ปี และควรฉีดซ้ำทุกปี

  • เป็นการฉีดเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไม่ให้เกิดอาการป่วยหลังถูกสัตว์ที่มีความเสี่ยงกัด และลดความเสี่ยงในการส่งต่อเชื้อมายังคนด้วย

  • มีกฎหมาย พรบ. โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ใดมีสุนัขไว้ใน ครอบครองต้องนำไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรก เมื่อสุนัขอายุ 2-4 เดือน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

  • ฉีดที่สถานพยาบาลสัตว์ เช่น คลินิกสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์

  • เจ้าของสัตว์ควรมีใบรับรองการฉีดวัคซีน

 

สนใจฉีดวัคซีนทักแชท


ผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน

กรณีฉีดก่อนสัมผัสเชื้อ

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า จะทำให้มีระดับภูมิคุ้มกันขึ้นสูงพอที่จะป้องกันโรคได้ ภายใน 14 วันหลังฉีด โดยแนะนำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อสูงฉีด  เช่น

ผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสเชื้อ

  • ผู้มีสัตว์เลี้ยง, เด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก (มีโอกาสถูกกัดบ่อย) 

  • สัตวแพทย์ ผู้ช่วยสัตวแพทย์

  • ผู้ทำงาน หรืออาศัยที่ในพื้นที่มีสัตว์ เช่น สวนสัตว์, วัด, คาเฟ่แมว-สุนัข เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เป็นต้น

  • บุรุษไปรษณีย์ พนักส่งของเดลิเวอรี่ ไรด์เดอร์

  • ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ๆมีความเสี่ยงสูง

กรณีฉีดหลังสัมผัสเชื้อ

จะเป็นการฉีดในในกรณีที่ถูกสัตว์กัด ข่วน หรือสัมผัสเชื้อผ่านทางอื่น ที่ส่งผลให้ร่างกายได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าอย่างเหมาะสมตามกรณีและความเสี่ยง


 ราคาฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

ราคาวัคซีนพิษสุนัขบ้าที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

  • ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เข็มแรก ราคา 1,350 บาท 

  • ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เข็มถัดไป ราคา 850 บาท (ฉีดต่อเนื่อง)

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

หมายเหตุ : ราคารวมค่าแพทย์และค่าบริการคลินิกแล้ว
                   ราคาไม่รวมค่าทำแผล,ล้างแผล และวัคซีนบาดทะยัก
                   * ราคานี้สำหรับกรณีฉีดวัคซีนครั้งแรกที่อินทัชเมดิแคร์


วิธีปฏิบัติตนเมื่อถูกสัตว์กัดหรือข่วน

หากพบว่าตนเองหรือบุตรหลานถูกสัตว์กัดหรือข่วน ควรรีบทำการล้างแผลและปฐมพยาบาลบาดแผลทันที ก่อนไปสถานพยาบาลเพื่อรับการป้องกันตามคำแนะนำจากแพทย์ หรือหากมีสถานพยาบาลใกล้ๆสามารถไปทำแผลที่สถานพยาบาลได้เลย

วิธีปฐมพยาบาลหลังถูกสัตว์กัด

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง   กรณีที่แผลลึกให้ล้างไปจนถึงจุดลุกสุดของแผล และควรล้างอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดอาการช้ำ

  2. ทำการเช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดน ไอโอดีน หรือฮิบิเทน หากไม่มียาเหล่านี้ให้ใช้เป็นทิงเจอร์ไอโอดีน หรือแอลกอฮอล์ 70% เช็ดแทน

  3. ไปที่สถานพยาลเพื่อพบแพทย์ เพื่อรับการป้องกันที่เหมาะสม

หมายเหตุ: กรณีผู้ที่มีบาดแผลลึก (เสี่ยงสูง) หลังจากทำการปฐมพยาบาลแล้วควรรีบไปพบแพทย์ทันที

พบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์

ไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อรับการป้องกัน

ไปพบแพทย์

เมื่อไปที่สถานพยาบาล แพทย์จะทำการพิจารณาบาดแผลและแนะนำให้รับการพยาบาลโดยเฉพาะในผู้มีบาดแผลเปิดเลือดออก ได้แก่

  • ทำความสะอาดแผลและจ่ายยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ

  • พิจารณการฉีวัคซีนบาดทะยักเพิ่มในผู้ป่วยบางราย โดยพิจารณาจากประวัติการรับวัคซีน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการเกิดอัมพาต

  • จ่ายยารักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ยาบรรเทาอาการปวด

  • พิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามความเสี่ยง รวมไปถึงการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน 

ไม่รับการฉีดวัคซีน หลังถูกสัตว์ข่วนได้หรือไม่?

ไม่ฉีดวัคซีนได้ไหม

การที่แพทย์ที่จะพิจารณาว่าผู้ป่วยสมควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่นั้นจะสามารถพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีที่ 1การสัมผัสแบบแบบไม่ติดเชื้อ เช่น สัมผัสผิวหนัง แม้อาจมีโรคพิษสุนัขบ้า แต่ไม่มีบาดแผลหรือรอยถลอก หรือไม่ได้สัมผัสเลือดสัตว์ ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนหรือสังเกตุอาการของสัตว์

  • กรณีที่ 2 การสัมผัสแบบติดเชื้อ เช่น โดนเลือด น้ำลาย สารคัดหลั่ง ถูกสัตว์ข่วนหรือกัด จนได้รับบาดแผล ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค แม้จะเคยฉีดก่อนการสัมผัสมาแล้ว ต้องได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้น โดยพิจารณาว่าเคยได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายเมื่อใด ถ้าภายใน 6 เดือน ก็ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม ถ้าเกิน 6 เดือนไปแล้ว ฉีดกระตุ้นเพียง 2 เข็ม

ฉีดอิมมูโนโกลบูลินจำเป็นหรือไม่?

ฉีดอิมมูโนโกลบูลินจำเป็นหรือไม่

อิมมูโนโกลบูลินสำหรับป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies Immunoglobulin) หรือเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า มักมีความจำเป็นต้องฉีดในผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้ามาก่อน เมื่อฉีดเข้าไปจะพบแอนติบอดีหลังฉีดทันที โดยมักฉีดภายในช่วง 7 วันหลังรับวัคซีนเข็มแรก

“หากผู้สัมผัสเชื้อได้รับวัคซีนมาเกิน 7 วันแล้ว และยังไม่ได้รับอิมมูโนโกลบูลินก็ไม่จำเป็นต้องฉีดแล้ว เพราะอิมมูโนโกลบูลินจะไปทำการกดการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนนั่นเอง ส่วนในผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 3 เข็ม ไม่จำเป็นต้องฉีด”

การฉีดวัคซีนก่อนรับเชื้อเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลินที่รอบแผลเพิ่ม  ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บ หรือในบางรายอาจมีอาการแพ้ อีกทั้งยังมีราคาแพงด้วย

สนใจฉีดวัคซีนทักแชท

ระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

ในการจะพิจารณาระดับความเสี่ยงว่าผู้ป่วยรายใดที่ถูกสัตว์สัมผัส กัด หรือข่วน จำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและอิมมูนโกลบูลินหรือไม่นั้น ในแต่ละประเทศจะมีแนวทางการรักษาที่ไม่เหมือนกัน

ทั้งนี้เป็นเพราะการควบคุมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มีความเข้มงวดแตกต่างกันและมีความชุกชุมของสัตว์ที่เป็นโรคไม่เท่ากัน สำหรับในประเทศไทยนั้นมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

ระดับที่ 1 การสัมผัสเชื้อที่ไม่ติดโรค

  • ในกรณีมีการป้อนน้ำ-อาหาร หรือสัมผัสสัตว์ แต่บริเวณที่สัมผัสไม่มีแผลหรือรอยถลอก

  • ถูกเลีย หรือโดนน้ำลาย เลือดในบริเวณที่ไม่ได้มีแผล หลังสัมผัสให้ล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดและสบู่

  • กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน

ระดับที่ 2 การสัมผัสที่มีโอกาสติดโรค

  • ถูกสัตว์เลียในบริเวณที่มีแผลถลอก หรือเกิดรอยข่วน

  • ถูกสัตว์กัด แล้วเกิดรอยแผลแทงทะลุผ่านทางผิวหนัง และมีเลือดออก

  • ถูกสัตว์งับ จนเกิดรอยช้ำ แต่ไม่ได้มีเลือดออก หรือไหลซิบออกมา

  • ถูกสัตว์ข่วน เกิดลอยถลอกที่บริเวณผิวหนัง แต่ไม่มีเลือดออก

หลังสัมผัสเชื้อให้รีบล้างแผล บริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดและสบู่ และทำความสะอาดแผล และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน*

ระดับที่ 3 การสัมผัสที่มีโอกาสติดโรคสูง

  • ถูกข่วน ซึ่งทำให้ผิวหนังฉีกขาด และเลือดออก

  • ถูกกัดจนเกิดแผลทะลุลงบนผิวหนัง และมีเลือดออก

  • แผลสัมผัสถูกสารคัดหลั่งของสัตว์ ซากสัตว์ เนื้อสมองของสัตว์ และการชำแหละซากสัตว์และลอกหนังสัตว์***

  • มีการรับประทานอาหารดิบที่เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

หลังสัมผัสเชื้อให้รีบล้างแผล บริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดและสบู่ และทำความสะอาดแผล และรีบเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน*และอิมมูโนโกลบูลิน**โดยเร็วที่สุด

หมายเหตุ :

* จะหยุดฉีดเมื่อสัตว์ (เฉพาะสุนัขและแมว) เป็นปกติตลอดระยะเวลากักขังเพื่อดูอาการ 10 วัน

** กรณีที่ถูกกัดเป็นแผลที่บริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ มือ และนิ้วมือ หรือเป็นแผลลึก แผลฉีกขาดมาก หรือถูกกัดมาหลายแผล ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงและมักมีระยะเวลาฟักตัวของโรคสั้น แพทย์จึงจำเป็นต้องฉีดอิมมูนโกลบูลินโดยเร็วที่สุด (แต่ถ้าฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเข็มแรกไปแล้ว 7 วัน ก็ไม่ต้องฉีดอิมมูนโกลบูลิน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแล้ว) และต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ เนื่องจากผู้ที่ถูกกัดและได้รับการรักษาแต่เสียชีวิตจะเป็นผู้ที่ถูกกัดที่ใบหน้า ศีรษะ คอ แทบทั้งสิ้น

*** พิจารณาความเสี่ยงมากน้อยตามลักษณะเป็นราย ๆ ไป

ข้อมูลหัวข้อ : การพิจารณาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากลักษณะการสัมผัสกับสัตว์ จาก medthai.com


 

ข้อควรรรู้ในการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

ควรฉีดวัคซีนภายในกี่วันหลังสัมผัสเชื้อ

ควรฉีดตั้งแต่ในวันที่ถูกสัตว์กัด หรือได้รับเชื้อ ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ควรนานเกิน 48 ชั่วโมง (2 วัน)

สนใจฉีดวัคซีนทักแชท

ผลข้างเคียงที่พบในวัคซีน

  • โดยปกติมักไม่พบผลข้างเคียง แต่อาจมีโอกาสพบอาการข้างเคียงหลังฉีด

  • โดยทั่วไปมักเกิดบริเวณที่ฉีด เช่น อาการปวด แดง บวม หรือตุ่มแข็งเกิดขึ้นได้เล็กน้อย

  • อาการแพ้ ซึ่งสามารถพบได้น้อยมาก และพบแค่ในบางรายเท่านั้นที่ต้องการรักษา

หมายเหตุ: หรือหากพบอาการอื่นๆนอกเหนือจากนี้ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ


 

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าฉีดกี่เข็ม

สำหรับผู้ที่ต้องการทราบว่าแนวทางการให้บริการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าในคน กี่เข็ม ที่อินทัชเมดิแคร์จะมีแนวทางการการรับวัคซีนดังต่อไปนี้

  • การฉีดก่อนรับเชื้อ จะฉีดจำนวน 3 เข็ม โดยฉีดห่างกัน 0, 7 และ 21 หรือ 28 วัน

  • การฉีดหลังได้รับเชื้อ ในผู้เคยรับวัคซีนแล้ว จะฉีดกระตุ้นจำนวน 2 เข็ม โดยมีระยะเวลาห่างกันดังนี้คือ 0 และ 3 วัน

  • การฉีดหลังได้รับเชื้อ ในผู้ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือฉีดไม่ครบ จะฉีดจำนวน 5 เข็ม โดยฉีดห่างกัน 0, 3 ,7, 14 และ 28 วัน ซึ่งทั้งนี้หากสัตว์ที่กัดไม่มีอาการผิดปกติในช่วง 10 วัน สามารถหยุดฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 และ 5 ได้เลย และต้องได้รับการฉีดอิมมูโนโกลบูลินด้วย (แต่ทั้งนี้ควรฉีดให้ได้ถึงเข็มที่ 3 เพื่อเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันล่วงหน้า) 

  • การฉีดในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะฉีด 6 เข็ม ห่างกัน 0, 3, 7, 14 และ 28 วัน โดยในวันที่ 0 ควรได้รับวัคซีน 2 เข็ม

  • ในกรณีที่ฉีดวัคซีนยังไม่ครบ แล้วถูกสัตว์กัดให้ฉีดวัคซีนต่อตามแพลนจนครบไม่จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่

สนใจฉีดวัคซีนทักแชท

 

มีประสิทธิภาพการป้องกันกี่ปี

วัคซีนพิษสุนัขบ้านั้น ไม่มีระยะเวลาการป้องกันที่แน่ชัดว่าสามารถป้องกันได้กี่ปี


 

อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งฉีดก่อนสัมผัสและฉีดป้องกันโรคหลังสัมผัสหรือถูกสัตว์กัด มองหาคลินิกฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ใกล้ฉัน สามารถรับบริการได้ที่อินทัชเมดิแคร์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ เช็กเลย!  อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม สาขาใกล้คุณ

เอกสารอ้างอิง

  • แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย, กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า, สภากาชาดไทย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

แก้ไขล่าสุด : 22/10/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com