ยาเป๊ป (Post-Exposure Prophylaxis) ยาต้านไวรัสเอชไอวีฉุกเฉิน เริ่มยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเสี่ยง ซึ่งมีวิธีกินยา การหยุดยา และประสิทธิภาพการป้องกัน เป็นยาต้าน hiv ฉุกเฉิน ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักกันมากเท่าไรนัก
|
ดังนั้น ก่อนที่จะได้รับยาต้านเชื้อชนิดนี้ ต้องมีการซักประวัติและตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์ พร้อมทั้งคำแนะนำในการกินยาที่ถูกต้อง เราไปดูกันว่ายาเป๊ป ซื้อที่ไหน ยา pep กินยังไง ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่ อินทัชเมดิแคร์มีคำตอบให้คุณค่ะ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยาเป๊ป (ยา PEP)
- ยาเป๊ป (PEP) คืออะไร
- ยา pep ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ดีแค่ไหน
- กลุ่มเสี่ยงที่ควรใช้ยาเป็ป
- การสัมผัสสารคัดหลั่งที่ทำให้ติดเชื้อ
- ผลข้างเคียงยา pep
- ก่อนเริ่มกินยา PEP ต้องทำอย่างไร
- กินยาเป๊ปต้องกินอย่างไร กินนานแค่ไหน
- ระหว่างกินยา PEP ต้องทำอย่างไร
- หลังกินยาเป๊ปครบ 30 วันแล้ว ต้องทำอย่างไร
- คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PEP
- ราคายาเป๊ป
ยาเป๊ป (PEP) คืออะไร
เป๊ป หรือ PEP ชื่อย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis คือ ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) แบบฉุกเฉิน หรือยาต้าน hiv กรณีฉุกเฉินหลังสัมผัสเชื้อ
ที่สำคัญคือต้องกินยาหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV ภายใน 72 ชั่วโมงและกินยาต่อเนื่องนาน 30 วัน
การสัมผัสเชื้อ HIV ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เนื่องจากเชื้อไวรัส HIV สามารถแบ่งตัวได้เร็วมากภายใน 24-36 ชั่วโมง จึงต้องได้รับยาเร็วที่สุดหลังเกิดเหตุการณ์เสี่ยง และช้าสุดไม่เกินภายใน 72 ชั่วโมง
สูตรยาเป๊ป ที่แนะนำ ประกอบด้วยยา 3 ตัวรวมในเม็ดเดียว ได้แก่ KOCITAF (TAF) 25 mg Emtricicabine (FTC) 200 mg และ dolutegravir (DTG) 50 mg นอกจากนี้ยังมีสูตรยาอื่นๆ อีกซึ่งแพทย์จะปรับยาตามเงื่อนไขของผู้รับบริการแต่ละราย
ยา pep ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ดีแค่ไหน
ยาเป๊ปได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถป้องกันการการติดเชื้อได้อย่างน้อย 80% แต่เนื่องจากยา pep เป็นยาป้องกัน hiv ฉุกเฉินหลังจากเสี่ยงได้รับเชื้อมาแล้ว ประสิทธิภาพของยาจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งระยะเวลาเริ่มยายิ่งเริ่มเร็วก็จะป้องกันได้ดีกว่า ลักษณะและระยะเวลาของการได้รับเชื้อ ปริมาณเชื้อในผู้ติดเชื้อหากมีเชื้อมากประสิทธิภาพก็จะน้อยลง เป็นต้น
” ควรกินยาเมื่อฉุกเฉินเท่านั้น ถ้าเสี่ยงบ่อยแนะนำให้กินยาเพร็พ (ป้องกันก่อนเสี่ยง) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงจะดีกว่า “
|
ดูราคา pep คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ
กลุ่มเสี่ยงที่ควรใช้ยาเป๊ป
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
- มีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือออรัลเซ็กส์
- ถุงยางแตก ถุงยางรั่ว
- สัมผัสเลือดหรือโดนเข็มตำ
- มีคู่นอนหลายคน
- ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน
- โดนข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ
- ได้รับเลือดหรือสารคัดหลั่ง
อ่านเพิ่มเติม : ข้อควรรู้! ใครบ้างควรได้รับยา PEP
|
การสัมผัสสารคัดหลั่งที่ทำให้ติดเชื้อ
- เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำคร่ำ และหนอง โดยสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ หรือโดนผิวหนังที่มีแผลเปิด
- ส่วนน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ เสมหะ อาเจียน อุจจาระและปัสสาวะ หากไม่ปนเปื้อนเลือดไม่สามารถทำให้ติดเชื้อได้
ผลข้างเคียงยา pep
pep หรือยาป้องกัน hiv ฉุกเฉินมีความปลอดภัยมากหากผู้รับบริการกินยาอย่างถูกต้องและอยู่ในการดูแลของแพทย์ ผลข้างเคียงของยาเป๊ปรุ่นใหม่ไม่รุนแรงเท่ายาในอดีตแล้ว อาการข้างเคียงที่พบได้ เช่น
- คลื่นไส้
- อ่อนเพลีย
- เวียนศีรษะ
- ถ่ายเหลว
อาการข้างเคียงต่างๆ มักจะเป็นเพียงช่วงแรกของการทานยาและอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง แต่หากอาการรุนแรงมากสามารถแจ้งแพทย์ผู้ดูแลเพื่อให้การรักษาและตรวจเพิ่มเติม
หมายเหตุ : กินยาเพียง 30 วัน จึงไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียงระยะยาว
หลังจากนั้นก็ไม่มีอาการผิดปกติอะไรค่ะ”
ก่อนเริ่มกินยา PEP ต้องทำอย่างไร
ข้อควรรู้ก่อนเริ่มกิน ยา pep ยาป้องกันเอดส์ ฉุกเฉิน ผู้รับบริการต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามประวัติ โรคประจำตัว และข้อมูลอื่นๆ และต้องทำการตรวจเลือด HIV เพื่อหาเชื้อไวรัส HIV , ค่าไตและค่าตับ ก่อนกินยาทุกราย และตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้
แนะนำตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆร่วมด้วยเพื่อรักษา เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตับอักเสบชี ซิฟิลิส หนองใน
กินยาเป๊ปต้องกินอย่างไร กินนานแค่ไหน
เริ่มกิน 1 เม็ดเร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ (1-2 ชั่วโมง) ช้าสุดไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังเสี่ยง และกินต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดใกล้เคียงเวลาเดิมเป็นเวลา 30 วัน หรือ 4 สัปดาห์
กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพียงแต่ต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
ระหว่างกินยา PEP ต้องทำอย่างไร
ในระหว่างกิน pep ผู้รับบริการควรงดบริจาคเลือด และใส่ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง หากเกิดความเสี่ยงขึ้นระหว่างทานยาให้ทานยาต่อเนื่องไปก่อนแล้วแจ้งแพทย์ เพื่อปรับเพิ่มระยะเวลากินให้นานขึ้นในบางราย
แนะนำให้สังเกตอาการของการติดเชื้อระยะแรก เช่น ไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ผื่นขึ้น อ่อนเพลียน้ำหนักลด เป็นต้น การติดเชื้อระยะแรกอาจจะยังตรวจไม่พบเชื้อได้ หากมีอาการต้องแจ้งแพทย์เสมอเพื่อวางแผนการติดตามให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล
หลังกินยา pep ครบ 30 วันแล้ว ต้องทำอย่างไร
แพทย์จะมีการนัดตรวจติดตามหลังกินยาเป๊ป ที่ 1 และ 3 เดือนหลังกินยา เพื่อตรวจ HIV ให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อ และติดตามอาการข้างเคียงที่เกิดได้จากการกินยา
ซึ่งการนัดตรวจหลังกินยามีความสำคัญอย่างมาก ผู้รับบริการควรมาติดตามผลเลือดอย่างสม่ำเสมอ และประเมินความเสี่ยงต่อ หากยังมีแนวโน้มมีพฤติกรรมเสี่ยง แพทย์จะแนะนำให้ผู้รับบริการกินยาเพร็พต่อเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น
คำถามที่พบบ่อย
|
ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรกินยาเป๊ปได้หรือไม่
หญิงตั้งครรภ์สามารถกินเป๊ปได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และตัวยาไม่มีผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง
สัมผัสเชื้อมาเกิน 72 ชั่วโมง กินยา pep ได้หรือไม่
สามารถกินได้ แต่ผู้รับบริการต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนเพื่อวางแผนแนวทางการกินยาร่วมกัน และแพทย์จะพิจารณาการกินเป็นรายๆไป
กินยาเป๊ปบ่อยๆ อันตรายหรือไม่
กินยาเป๊ปบ่อยไม่มีความอันตราย แต่เป็นการแสดงถึงแนวโน้มว่าคนไข้มีความเสี่ยงสูง จึงแนะนำให้ทานยาเพร็พจะป้องกันได้ดีกว่า
หยุดกิน pep ก่อน 30 วันได้หรือไม่
สามารถหยุดได้ กรณีที่มั่นใจว่าคู่นอนตรวจไม่พบการติดเชื้อ HIV และไม่มีความเสี่ยงเพิ่มอีก ทั้งตัวผู้รับบริการและคู่นอน
|
ช่วงอายุที่สามารถรับยาเป๊ปได้
สามารถรับยาได้ทุกช่วงอายุ โดยวัยรุ่นที่มีอายุ 15-18 ปี และน้ำหนักมากกว่า 35 กิโลกรัม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาเป๊ปได้ หากอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรับสูตรยาให้เหมาะสม
สามารถรับยาเป๊ปได้ที่ไหนบ้าง
ยาเป๊ป เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น จึงสามารถติดต่อรับได้ที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาล และคลินิกที่มียาบริการหลังการเสี่ยงติดเชื้อให้เร็วที่สุด
กินยา pep มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม
สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ควรป้องกันอย่างเคร่งครัดโดยใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง กินยาให้ตรงเวลา เพราะการกินยาไม่ครบหรือผิดเวลา อาจทำให้ยาไม่ได้ผล
หากเป็นไปได้ควรงดมีเพศสัมพันธ์ เพราะระหว่างกินยา PEP ยังไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้สำเร็จ
PEP เป็นยาป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV แบบฉุกเฉิน หลังได้รับเชื้อหรือหลังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ต้องรีบกินยาภายใน 72 ชั่วโมง และต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 30 วัน
ป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 80% หากต้องการรับยา pep สามารถติดต่อได้ที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล
แนะนำว่าควรติดต่อรับยาให้เร็วที่สุดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี
เอกสารอ้างอิง
- Centers for Disease C, Prevention.Updated guidelines for antiretroviral postexposure prophylaxis after sexual, injection drug use, or other nonoccupational exposure to HIV—United States, 2016
- กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกัน การติดเชื้อ HIV ประเทศไทย ปี 2564/2565
- กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
บทความที่น่าสนใจ
- ตรวจเลือด HIV ที่คลินิกตรวจ hiv รู้ผลเร็ว
- ยาเพร็พ PrEP ป้องกันเอชไอวี HIV
- ข้อควรรู้! ใครบ้างควรได้รับยา PEP
แพทย์หญิงณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 21/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com