การพ่นยาขยายหลอดลมเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด หรือโรคปอด โดยการใช้เครื่องพ่นจะช่วยเปลี่ยนยาจากของเหลวให้กลายเป็นละอองขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถสูดดมเข้าไปสู่ปอดได้ง่ายและตรงจุด ทำให้ยาทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการพ่นยา
- พ่นยาแบบละอองฝอยคืออะไร
- ประโยชน์ของการพ่นยาแบบละอองฝอย
- อาการแบบไหนต้องใช้ยาพ่น
- ค่าบริการพ่นยาที่อินทัชเมดิแคร์
- ขั้นตอนและกระบวนการพ่นยา
- ยาพ่นที่ใช้บ่อยในการรักษา
- กลุ่มผู้ป่วยที่เหมาะกับพ่นยา
- อาการข้างเคียงหลังใช้ยาพ่น
- การเตรียมตัวก่อนมาพ่นยา
- การปฏิบัติตัวหลังการพ่นยา
พ่นยาแบบละอองฝอยคืออะไร
การพ่นยาแบบละอองฝอย (Nebulizer) หมายถึง การบำบัดรักษาโดยการใช้วิธีพ่นฝอยละอองน้ำจากยาที่อยู่ในรูปสารละลายให้กลายเป็นหยดน้ำเล็กๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสูดหายใจรับยาเข้าทางหลอดลม จากนั้นยาจะลงไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ตัวยาจะทำการออกฤทธิ์และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา
ประโยชน์ของการพ่นยาแบบละอองฝอย
- ช่วยให้หลอดลมปอดเกิดการขยายตัว โดยยาจะเข้าสู่หลอดลมได้โดยตรง
- ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีการไหลเข้าและออกของอากาศขณะที่พ่นยา
- เพื่อให้ยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์ได้เร็ว
ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจเหนื่อย หายใจเร็วกว่าปกติ หายใจหอบลึก หรือมีการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง หากพ่นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบไปสถานพยาบาลโดยเร็วเพื่อรับการพ่นยาแบบละอองฝอย ส่วนมากจะมีอาการในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด ปอดอุดกลั้นเรื้อรัง เป็นต้น
ค่าบริการพ่นยาที่อินทัชเมดิแคร์
- พ่นยา สำหรับเด็ก ราคาเริ่มต้น 1,440 บาท
- พ่นยา สำหรับผู้ใหญ่ ราคาเริ่มต้น 1,510 บาท
ขั้นตอนและกระบวนการพ่นยาขยายหลอดลม
อุปกรณ์
- เครื่องทำความชื้น (Humidifier)
- Micronebulizer กระเปาะสำหรับใส่ยาพ่น
- สายยางเชื่อมต่อ micronebulizer กับหัวต่อออกซิเจนจาก pipeline หรือถังออกซิเจน
- Mask พร้อมสายรัดใบหน้า
- ยาที่ใช้ตามแผนการรักษา
ระบวนการพ่นยาแบบละอองฝอย
- ตรวจสอบชื่อผู้ป่วย จัดเตรียมอุปกรณ์และยาให้พร้อม
- จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงหรือท่านั่ง
- เจ้าหน้าที่ทำการเสียบหัวต่อออกซิเจนกับ pipeline ให้แน่น พร้อมต่อสายระหว่างหัวออกซิเจนจาก pipeline กับ micronebulizer
- ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกลึกๆเป็นจังหวะช้าๆ
- สวม Mask หรือหน้ากากให้พอดีกับใบหน้าผู้ป่วย
- เจ้าหน้าที่ทำการเปิดก๊าซตามอัตราที่กำหนด จะได้ขนาดละอองฝอยที่เหมาะสม
- ให้ผู้ป่วยรอจนยาในกระบอกพ่นหมด ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที
- แพทย์ประเมินอาการหลังจากการใช้ยาพ่นกับผู้ป่วย
- ยากลุ่ม Beta2 agonist เช่น Salbutamol เหมาะสำหรับผู้ป่วยหอบหืด
- ยากลุ่ม Anticholinergic เช่น Ipratropium, Tiotropium เหมาะสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกลั้นเรื้อรัง
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : โรคหอบหืด รู้เท่าทันอาการ ลดความเสี่ยงให้ชีวิต
กลุ่มผู้ป่วยที่เหมาะกับพ่นยา
- ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ เช่น หอบหืด ปอดอุดกลั้นเรื้อรัง เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังที่ไม่มีอาการกำเริบ แต่แพทย์มีการนัดพ่นยาต่อเนื่อง
อาการข้างเคียงหลังใช้ยาพ่น
ผลข้างเคียงขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้ ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่
ประสบการณ์การรักษาของแพทย์
เคสผู้ชายอายุประมาณ 15 ปี มีประวัติเดิมมารักษาด้วยอาการหอบหลายครั้งในช่วง 1 ปี ทุกครั้งที่มารักษาก็จะได้พ่นยาขยายหลอดลมแบบละอองฝอย พ่นเสร็จเมื่ออาการดีขึ้นก็กลับบ้าน แล้วก็มีอาการหอบอีกและกลับมาพ่นเหมือนเดิมแบบนี้ทุกครั้ง จากนั้นมีครั้งหนึ่งเมื่อซักประวัติพบว่าขณะอยู่บ้าน ผู้ป่วยใช้ยาพ่นด้วยตนเองแบบไม่ถูกวิธีและผู้ป่วยมีเพียงยาพ่นฉุกเฉินสำหรับบรรเทาอาการเพียงตัวเดียว ซื้อยาเองและไม่ได้พบแพทย์ ไม่เคยได้รับยาพ่นเพื่อควบคุมอาการไปใช้ที่บ้านเลย
สรุปคือผู้ป่วยมียาพ่นแค่เพียง 1 ชนิดเท่านั้น หมอได้ปรับการรักษาโดยเพิ่มยาพ่นกลุ่มควบคุมอาการให้พ่นทุกวัน ใช้คู่กับยาพ่นฉุกเฉินเมื่อมีอาการ สอนวิธีพ่นยาที่ถูกต้องและให้ผู้ป่วยลองปฏิบัติให้ดู จากนั้นพบว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้น ในเดือนถัดมาผู้ป่วยมีอาการหอบกำเริบน้อยลง จนในปีต่อมาแทบจะไม่มีอาการกำเริบเลย
จากเคสนี้พบว่าปัญหาหลักๆอยู่ที่ผู้ป่วยคิดว่า โรคหอบหืดสามารถซื้อยาใช้เองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ ซึ่งจริงๆแล้วควรให้แพทย์ประเมินทั้งก่อนและหลังการรักษา
นอกจากการพ่นยาแบบละอองฝอยที่สถานพยาบาลแล้ว การใช้พ่นยาต่อเนื่องด้วยตนเองที่บ้านก็สำคัญเช่นกัน ผู้ป่วยที่ใช้ยาพ่นไม่ถูกวิธีก็จะยังคงมีอาการกำเริบเรื่อยๆ หากแก้ไขได้ก็ทำให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษามากขึ้น
– แพทย์หญิงนลพรรณ พิทักษ์สาลี แพทย์ประจำคลินิกสาขาคลองสาน –
การเตรียมตัวก่อนมาพ่นยา
- ผู้ป่วยสามารถพ่นยาแบบละอองฝอยได้ทันทีเมื่อมีอาการกำเริบ สามารถพ่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
- พยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหาร เมื่อมีอาการหายใจเหนื่อยเพื่อป้องกันการสำลัก
- แจ้งข้อมูลการแพ้ยาและโรคประจำตัวให้แก่คลินิกหรือสถานพยาบาลทราบ หากมีประวัติการรักษาเดิมให้ผู้ป่วยนำข้อมูลมาด้วย
- ก่อนรับการพ่นยาขยายหลอดลม หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือยาสูบ
- ให้ผู้ป่วยรอแพทย์ตรวจประเมินอาการหลังจากการพ่นยาเสร็จสิ้น
- หากมีอาการผิดปกติหลังจากการใช้ยาพ่น ให้แจ้งแพทย์และพยาบาลทันที
หากคุณมีปัญหาทางเดินหายใจและต้องการพ่นยาขยายหลอดลม มาที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกได้เลย!
เรามีอุปกรณ์ที่ทันสมัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมดูแลคุณอย่างใกล้ชิด ให้การรักษามีประสิทธิภาพและช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว
บทความที่น่าสนใจ
เอกสารอ้างอิง
- แนวทางวินิจฉัยและบำบัดโรคหืดในผู้ใหญ่ สำหรับอายุรแพทย์และแพทย์ทั่วไปในประเทศไทย พ.ศ.2566 สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
- เอกสาร Administering inhaler medications สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- เอกสาร Administering medication via aerosol therapy มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พญ.นลพรรณ พิทักษ์สาลี
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 08/10/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com