ถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ที่มักมากับโรคอ้วน สิวเยอะ ฮอร์โมนเพศชายสูง ประจำเดือนผิดปกติ

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า PCOS กับอาการที่พบบ่อย เช่น ขนดก ผมร่วง สิวขึ้น หน้ามัน อ้วนหรือน้ำหนักจนผิดปกติ เป็นเรื่องที่สามารถเกิดได้หากคุณมี ‘ภาวะฮอร์โมนแอนโดรเจน’ หรือก็คือ ‘ฮอร์โมนเพศชายเยอะเกินไป’ แล้วโรคนี้มีผลต่อร่างกายของสาวๆอย่างไร หากใครอยากรู้ ก็สามารถไปทำความเข้าใจกันได้ในบทความนี้เลยนะคะ

หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ความผิดปกติ ที่สามารถพบได้ในPCOS

ถุงน้ำในรังไข่หลายใบคืออะไร

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) คือ โรคที่มีความผิดปกติของระบบฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย ที่เกิดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ พบได้ประมาณ 10-13% และส่งผลทำให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานผิดปกติไป เช่น

  • ภาวะไม่ตกไข่

  • ภาวะฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายเยอะมากเกินไป จึงมีอาการ หน้ามัน สิวขึ้น ขนดก ผมร่วง เป็นต้น

  • ส่งผลถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด

  • มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

  • เป็นภาวะเสี่ยงหากมีการตั้งครรภ์และไม่ได้รักษา

ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เกิดจากอะไร

กลไกการเกิดโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่เกิดจากวงจรฮอร์โมนหลายๆตัว มีความผิดปกติเกี่ยวเนื่องกัน และมีปัจจัยเสี่ยงที่พบโรคนี้ได้บ่อย ได้แก่ หญิงที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน

อาการของถุงน้ำรังไข่หลายใบ

อาการของถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  • ประจำเดือนมาผิดปกติ ที่บ่งบอกถึงการตกไข่ที่ผิดปกติไป สามารถเกิดความผิดปกติได้ในทุกรูปแบบ แต่ที่พบบ่อยคือ รอบประจำเดือนนานกว่า 35 วัน หรือ ประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 3 เดือน ขึ้นไป หรือ ประจำเดือนมาน้อยกว่า 8 รอบใน 1 ปี 

  • อาการของฮอร์โมนเพศชายเยอะผิดปกติ หรือ ฮอร์โมนเพศชายเยอะ (ฮอร์โมนเอนโดรเจน : Androgenได้แก่อาการ หน้ามัน สิวขึ้นเยอะ ขนดก ผมร่วงผมบาง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไม่ชัดเจนได้

  • ภาวะมีบุตรยาก (พยายามมีบุตรมาอย่างน้อย 1 ปีแต่ไม่สำเร็จ)

  • น้ำหนักตัวเยอะผิดปกติ โดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร

  • ตรวจพบความผิดปกติของน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด หรือ ความดันโลหิตสูง

  • ตรวจพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์


อ่านเพิ่มเติม : PCOS กับการตั้งครรภ์ เรื่องที่คนวางแผนมีบุตรต้องรู้

การตรวจวินิจฉัย PCOS

การวินิจฉัยโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS แพทย์จะใช้วิธีการตรวจหลายๆอย่างร่วมกัน ได้แก่

1. ซักประวัติเกี่ยวกับประจำเดือนที่ผิดปกติ

ซึ่งหมายถึงภาวะตกไข่ที่ผิดปกติ โดยลักษณะของประจำเดือนผิดปกตินั้น คือ รอบประจำเดือนนานกว่า 35 วัน หรือน้อยกว่า 21 วัน , ประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 3 เดือน ขึ้นไป หรือ ประจำเดือนมาน้อยกว่า 8 รอบใน 1 ปี

2. ตรวจร่างกายพบลักษณะของฮอร์โมนเพศชายที่มากเกินไป 

โดยการตรวจเบื้องต้น เช่น 

  • ขนดกผิดปกติ บริเวณหนวด เครา หน้าอก หัวหน่าว แขนและขา เป็นต้น

  • หน้ามัน รูขุมขนกว้าง

  • สิวขึ้นเยอะผิดปกติ 

  • ผมร่วงเยอะ

  • โดยในวัยรุ่นจะพบอาการสิวขึ้นเยอะกับขนดก มากกว่าวัยผู้ใหญ่

3. หากประวัติและการตรวจร่างกายไม่ชัดเจน หรือต้องการยืนยันการวินิจฉัย

หากผู้รับบริการตรวจมีประวัติหรือการตรวจร่างกายที่ไม่ชัดเจน แพทย์อาจมีการตรวจเลือด หรือตรวจอัลตราซาวน์เพิ่มเติม

การตรวจเลือด

 

  • ตรวจเลือด เป็นการตรวจเพื่อดูว่าปริมาณฮอร์โมนเพศชายในร่างกายว่าสูงผิดปกติหรือไม่ เพื่อหาสาเหตุโรคอื่นที่ไม่ใช่ PCOS เช่น ไทรอยด์ โรคฮอร์โมนผิดปกติแบบอื่นๆ โรคของต่อมหมวกไต ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร เป็นต้น

การอัลตร้าซาวด์รังไข่

 

  • อัลตราซาวน์มดลูกและรังไข่ ในผู้ป่วยที่เป็น PCOS จะอัลตราซาวน์พบถุงน้ำเล็กๆในรังไข่เยอะกว่าปกติ ประมาณ 10 ถุงขึ้นไป หรือมีปริมาตรรังไข่ที่เยอะกว่าปกติ

ตรวจ pcos ราคาเท่าไหร่

การตรวจถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ราคาแพ็กเกจ 5,490 บาท

หมายเหตุ: การตรวจอัลตร้าชาวด์มดลูกและรังไข่ เป็นการตรวจเฉพาะกับแพทย์เฉพาะทางเท่านั้นเพื่อความสะดวกควรสอบถามและนัดหมาย ก่อนเข้ารับบริการ

ราคา ตรวจถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS

การรักษาโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

การรักษา PCOS นั้น เพื่อต้องการให้ผู้ป่วยมีภาวะตกไข่ที่ปกติและสม่ำเสมอ ปรับรอบประจำเดือน ลดอาการของฮอร์โมนเพศชายเกิน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงในอนาคต

การรักษาหลักประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยา ขึ้นอยู่กับ อาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจแพทย์ และตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ

“หากเป็นกรณีเคสที่ตัวของหมอเองที่เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปตรวจพบอาการของคนไข้ ที่มีอาการของประจำเดือนผิดปกติ หรือเข้าข่ายอาการของ PCOS ก็จะทำการส่งต่อเคสนี้ให้ผู้รับบริการเข้ารับการตรวจนรีเวช โดยมีสูตินรีแพทย์เป็นผู้รับดูแลเคสต่อค่ะ”

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ควรควบคุมน้ำหนัก โดยขอแนะนำในผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนที่ทำให้โรค PCOS ดีขึ้น การศึกษาพบว่าการลดน้ำหนักลง 5% จากน้ำหนักตัวเดิม มีประโยชน์ในหลายๆระบบ

  • ควบคุมการรับประทานอาหาร แนะนำให้มีการควบคุมอาหาร เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้มากยิ่งขึ้น

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

ตรวจ PCOS สอบถามเพิ่มเติมทักแชท

การรักษาโดยการใช้ยา

  • เพื่อช่วยปรับรอบประจำเดือน ลดอาการของฮอร์โมนเพศชายเยอะเกิน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

  • กลุ่มยาที่สามารถนำมาใช้รักษา PCOS นั้นมีหลายชนิด ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม, ยาลดภาวะดื้ออินซูลิน และยาลดฮอร์โมนเพศชาย เป็นต้น 

“ทั้งนี้การใช้ยาแต่ละตัว ขึ้นกับอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายและดุลยพินิจแพทย์ แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยา”

ตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PCOS ควรจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ เนื่องจาก PCOS ส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ เช่น ภาวะก่อนเป็นเบาหวานหรือเบาหวาน, ไขมันในโลหิตสูง, ความดันโลหิตสูง และภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติเพิ่มเติม ซึ่งอาการนี้จะสัมพันธ์กับ PCOS เช่นกัน โดยการตรวจจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์ด้วยค่ะ

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นถุงน้ำรังไข่หลายใบ

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  1. สังเกตอาการผิดปกติของรอบเดือน อาการสิวขึ้นเยอะผิดปกติ หน้ามัน ขนดก ผมร่วง หากสงสัยว่าจะมีภาวะ PCOS ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม 

  2. ควบคุมน้ำหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  3. หากมีการรักษาด้วยยาร่วมด้วย ให้ทานยาอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง

  4. พบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผลการรักษา 

  5. หากมีอาการผิดปกติเพิ่มขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆเพิ่มเติมระหว่างรักษา แนะนำพบแพทย์ก่อนนัด

  6. หากวางแผนจะตั้งครรภ์ แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์เสมอ เนื่องจากตัวโรคอาจมีผลต่อทารกได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม


อ่านเพิ่มเติม: PCOS กับการตั้งครรภ์ เรื่องที่คนวางแผนมีบุตรต้องรู้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PCOS

PCOS สามารถหายเองได้ไหม?

  • ตอบ: PCOS เป็นโรคที่เป็นภาวะเรื้อรัง ไม่สามารถหายขาดได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลายอย่าง แต่สามารถทำให้ตัวโรคดีขึ้นได้ และป้องกันไม่ให้ไม่เกิดโรคอื่นๆตามมา ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่เยอะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวอาจช่วยให้ตัวโรคดีขึ้นได้ 

แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินตัวโรคและวางแผนการรักษาอีกครั้ง เนื่องจากการดูจากอาการเพียงอย่างเดียวว่าตัวโรคดีขึ้นแล้วหรือไม่อาจทำได้ยาก อาจต้องให้แพทย์ช่วยประเมินหรือตรวจเพิ่มเติม

โรค PCOS เป็นแล้วอันตรายไหม?

  • ตอบ: มีความอันตรายในระยะยาว โดยในระยะสั้นอาจมีเพียงแค่อาการประจำเดือนผิดปกติ และภาวะฮอร์โมนเพศชายเยอะเกินที่อาจส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ในระยะยาว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โรค PCOS ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก โรคเบาหวาน โรคไขมันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจในอนาคต และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอีกด้วย

“ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนสังเกตอาการ และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเสี่ยงอื่นๆที่เป็นอันตรายในอนาคต”

ตรวจ PCOS ต้องตรวจภายในไหม?

  • ตอบ: การวินิจฉัย PCOS ไม่จำเป็นต้องตรวจภายใน 

ยกเว้น กรณีที่มีอาการหรืออาการแสดงที่สงสัยโรคอื่น และมีความจำเป็นต้องตรวจภายในเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการตรวจภายในเป็นการตรวจที่ละเอียดอ่อน โดยปกติแพทย์จะต้องขอความยินยอมจากผู้ป่วยทุกครั้ง หากผู้ป่วยไม่ต้องการตรวจภายใน แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจเพื่อวางแผนการรักษาร่วมกัน

 

จำเป็นต้องตรวจ PCOS ทุกปีหรือไม่?

  • ตอบ: ปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดชัดเจนว่าจำเป็นต้องตรวจ PCOS ทุกปี แต่แนะนำให้มาตรวจเมื่อมีประจำเดือนและอาการผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม มีการแนะนำให้หญิงไทยทุกคนมีการตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ซึ่งหากมาพบแพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติเพื่อคัดกรอง PCOS เบื้องต้นร่วมด้วย

เอกสารอ้างอิง

  • Recommendations from the 2023 international evidence-based guideline for the assessment and management of polycystic ovary syndrome, European Journal of Endocrinology

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

 แก้ไขล่าสุด : 19/04/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com