ระยะวัณโรคที่คุณควรรู้เพื่อสังเกตอาการของตัวเอง ผู้ป่วยที่สงสัยว่าตนเองเป็นวัณโรคหรือไม่ มีอาการอยู่ในระยะไหน บทความนี้มีคำตอบเพื่อให้คุณตัดสินใจไปหาหมอได้เร็วขึ้น ระยะวัณโรคแบ่งตามพยาธิสภาพการก่อโรคเพื่อหาภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเพิ่มเติม สามารถแบ่งไดัเป็น 3 ระยะ ได้แก่
โอกาสการติดเชื้อหลังสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค
-
ประมาณ 70% จะไม่ติดเชื้อวัณโรค
- 30% มีการติดเชื้อวัณโรค (Primary TB Infection) ซึ่ง 95% ของผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นวัณโรคระยะแฝง (Latent TB Infection) อีก 5% จะป่วยเป็นวัณโรค (Active Disease)
วัณโรคระยะแรก
การติดเชื้อวัณโรคระยะแรก (Primary TB Infection) เป็นระยะแรกที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนมากมักไม่แสดงอาการแต่บางคนอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น ไอ มีไข้ต่ำ และอ่อนเพลีย
ในช่วงนี้ผู้ป่วยมักจะยังไม่ค่อยมาพบแพทย์ เพราะไม่ได้นึกว่าตนเองนั้นจะเป็นวัณโรค หรือไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อมา เพียงแค่สังเกตอาการเบื้องต้น
วัณโรคระยะแฝง
ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะแฝง (Latent TB Infection) จะยังมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายแต่เชื้อจะไม่ทำปฎิกิริยาอะไรกับร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อในระยะนี้จึงไม่มีอาการใดๆ ภาพรังสีทรวงอกปกติ ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้
การติดเชื้อในวัณโรคระยะแฝงนี้ผู้ป่วยมักมาหาหมอและได้รับคำแนะนำให้มาตรวจเพราะมีคนใกล้ชิดตรวจเจอว่าเป็นวัณโรคแล้ว
ระยะแสดงอาการหรือวัณโรคระยะแพร่แชื้อ
ระยะแสดงอาการหรือวัณโรคระยะแพร่เชื้อ (Active Disease) ในระยะนี้สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ เป็นระยะวัณโรคที่เกิดอาการต่างๆ ชัดเจน อาจมีอาการดังนี้
-
ไอเรื้อรัง และไอเป็นเลือดมากกว่า 2 สัปดาห์ติดต่อกัน
-
เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ
-
มีไข้ต่ำๆ เหงื่อออกในเวลากลางคืน
-
น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
-
ในระยะนี้มักจะตรวจเจอเชื้อวัณโรคในเสมหะ เอกซเรย์ปอดพบความผิดปกติได้
คนส่วนใหญ่มักจะมาหาหมอในระยะนี้เนื่องจากอาการของวัณโรคแสดงอาการอย่างชัดเจน เมื่อแพทย์ตรวจพบเชื้อวัณโรค ก็จะเข้าสู่การรักษาและให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นวัณโรคให้กับผู้ป่วยและญาติ
วัณโรคเป็นโรคที่รักษาได้ ไม่ว่าจะตรวจเจอในระยะไหน แต่ผลการรักษาก็ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น โรคประจำตัว ความสม่ำเสมอในการกินยาของผู้ป่วย
แต่เมื่อทราบเกี่ยวกับอาการของระยะวัณโรคทั้ง 3 ระยะแล้ว สามารถทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจไปพบแพทย์ก่อนที่จะเป็นระยะที่รุนแรงเพื่อให้แพทย์รักษาได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
พญ.วรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 06/09/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com