อัลตร้าซาวด์คืออะไร ตรวจส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง?

อัลตร้าซาวด์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อรักษาคนไข้ได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายส่วนของร่างกาย ที่เราได้ยินบ่อยๆ ก็จะเป็นการซาวด์ดูครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์นั่นเอง 

แต่หลายคนก็อาจจะไม่ทราบว่าการใช้เทคนิคเครื่องมือชนิดนี้ แตกต่างจากการตรวจร่างกายด้วยเครื่องมือชนิดอื่นๆ อย่างไร เราจำเป็นต้องเลือกวิธีการนี้หรือไม่ และมันจะดีกว่าหรือส่งผลเสียต่อร่างกายไหม เราไปเริ่มทำความเข้าใจกันเลยดีกว่าค่ะ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการอัลตร้าซาวด์

อัลตร้าซาวด์ คืออะไร

อัลตร้าซาวด์ คืออะไร

อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือการตรวจด้วยคลื่นเสียง คือ เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพหรือวิดีโอแบบเรียลไทม์ของอวัยวะภายในหรือเนื้อเยื่ออ่อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดโดยสามารถเห็นโครงสร้างภายในร่างกาย

การใช้คลื่นเสียงที่มีความเข้มสูง ถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการดูพัฒนาการตั้งครรภ์ และการดูการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ การดูก้อนเนื้อ เนื้องอก เป็นต้น

อัลตร้าซาวด์จะไม่สร้างบาดแผลและไม่ใช้รังสีเอ็กซ์  คนส่วนใหญ่จะคิดถึงตรวจตั้งครรภ์แต่แท้จริงแล้ว เราสามารถใช้เพื่อดูส่วนต่างๆ ภายในร่างกายได้หลายจุดมาก 

อัลตร้าซาวด์มีกี่แบบ

อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ

แบบ 2 มิติ 

จะแสดงภาพตัดขวางทีละภาพตามแนวของคลื่นเสียงในแนวระนาบ ที่มีความกว้าง และความยาว จึงทำให้เห็นภาพแบบเป็นเงาขาว ดำ

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ

แบบ 3 มิติ

จะแสดงภาพให้เห็นทั้งความกว้าง ความสูง และความลึก โดยการรับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนออกมา ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงได้ภาพที่มีรายละเอียดชัดเจน เสมือนจริงกว่าแบบ 2 มิติ

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

แบบ 4 มิติ

จะคล้ายกับแบบ 3 มิติ แต่จะมีการประมวลผลที่ซับซ้อนขึ้น โดยการนำภาพแบบ 3 มิติมาแสดงผลเรียงต่อกันจนเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวเสมือนจริงแบบ Real- time เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน นิยมนำมาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น

อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ และ 4 มิติ


การทำงานของเครื่องอัลตร้าซาวด์

เป็นการส่งอุปกรณ์ที่เรียกว่าตัวแปลงสัญญาณหรือโพรบผ่านบริเวณร่างกายของคุณหรือภายในช่องทางเปิดของร่างกาย เช่น ผ่านช่องคลอด ผ่านทางทวาร เป็นต้น

การทำงานของเครื่องอัลตร้าซาวด์

โดยจะทาเจลบางๆ ลงบนผิวของคุณ เพื่อให้คลื่นอัลตร้าซาวด์ถูกส่งผ่านจากทรานสดิวเซอร์ผ่านเจลและเข้าสู่ร่างกายของคุณ หัววัดจะแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นเสียงความถี่สูงและส่งคลื่นไปยังเนื้อเยื่อของร่างกายคุณ

คลื่นเสียงจะตรวจผ่านโครงสร้างภายในร่างกายของคุณและนำกลับไปที่โพรบ ซึ่งจะแปลงคลื่นเป็นสัญญาณไฟฟ้า 


จากนั้นคอมพิวเตอร์จะแปลง
รูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าเป็นภาพ
หรือวิดีโอแบบเรียลไทม์

ซึ่งจะแสดงให้เห็นผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

อัลตร้าซาวด์ มีความจำเป็นในทางการแพทย์อย่างไร

การ Ultrasound ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะใช้ ไม่ต้องเผชิญกับรังสี ไม่ต้องฉีดยา ไม่ต้องมีการผ่าตัดร่วม ผู้ที่ได้รับการตรวจจึงมีความปลอดภัย และยังสามารถจับภาพเนื้อเยื่ออ่อนได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญค่าใช้จ่ายราคาสบายกระเป๋ากว่าที่คิดอีกด้วย โดยมักจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ ดังนี้

อัลตร้าซาวด์ดวงตา

ใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค

เป็นการตรวจอวัยวะต่างๆ เพื่อหาความผิดปกติของโรค เช่น ดวงตา, หลอดเลือด, ตับ, ถุงน้ำดี, ต่อมธัยรอยด์, มดลูก, รังไข่รวมทั้งเนื้อเยื่อและเซลล์อื่นๆ

ซึ่งการตรวจด้วยวิธีการนี้จะให้ผลการตรวจที่ละเอียด สามารถนำผลไปวิเคราะห์สุขภาพในเชิงลึกได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะการหาความผิดปกติของพื้นผิว สำหรับใช้ตรวจหาภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ในหญิงตั้งครรภ์ ในบางกรณีอาจต้องวางโพรบเข้าไปในร่างกายของคุณ เช่น ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก

อัลตร้าซาวด์ในกระบวนการทางการแพทย์

ใช้ในกระบวนการทางการแพทย์

นอกจากการใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคแล้ว การอัลตร้าซาวด์ยังถูกนำมาใช้ในกระบวนการทางการแพทย์ต่างๆ

เช่น การแสดงภาพเนื้อเยื่อในกระบวนการผ่าตัด เพื่อให้สามารถมองเห็นอวัยวะได้ชัดเจนมากขึ้น และในบางครั้งยังใช้เพื่อตรวจรักษาเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มที่ได้รับบาดเจ็บอีกด้วย

อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ และ 4 มิติ


อัลตร้าซาวด์ใช้ตรวจส่วนไหนได้บ้าง

  1. อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
  2. อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
  3. อัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์ (Obstretics) 
  4. ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Ultrasound KUB system)
  5. ตรวจเต้านม (Ultrasound Breasts) 
  6. อัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์ (Ultrasound of thyroid)
  7. การตรวจอัลตร้าซาวด์อื่นๆ

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน หรือ Ultrasound Upper Abdomen ใช้สำหรับตรวจคัดกรองโรคที่เกี่ยวกับตับ ตับอ่อน ม้าม ไต ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี รวมทั้งตรวจหาว่ามีก้อนหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะใดหรือไม่

โดยต้องเตรียมตัวก่อนการ Ultrasound ด้วยการงดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิด ประมาณ 4-6 ชั่วโมงก่อนการตรวจ ดื่มได้เฉพาะน้ำเปล่าเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงน้ำดีหดตัว ซึ่งอาจส่งผลให้เห็นถุงน้ำดีไม่ชัดเจน

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง

การตรวจในช่วงท้องส่วนล่าง หรือ Ultrasound Lower Abdomen  เป็นการตรวจดูมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ ไส้ติ่ง ถุงน้ำรังไข่ ก้อนเนื้อในมดลูก ไส้ติ่งอักเสบ และอวัยวะอื่นที่อยู่บริเวณนี้ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่

สามารถตรวจได้ 2 แบบคือ ใช้หัวอัลตร้าซาวด์ ตรวจบริเวณผิวหน้าท้อง และช่องคลอดโดยการใส่หัวตรวจทางช่องคลอด ซึ่งจะให้ภาพที่ชัดเจนมากกว่า

 อินทัชเมดิแคร์ให้บริการอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ และ 4 มิติ  

อัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์

อัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์

อัลตร้าซาวด์ท้องหรือการตรวจครรภ์ (Obstretics) ตรวจเพื่อคำนวณวันคลอด ภาวะการตั้งครรภ์แฝด การตั้งครรภ์นอกมดลูก ตรวจความแข็งแรง ตรวจหาความพิการแต่กำเนิดของทารก ในสมอง ไขสันหลังหัวใจหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ของทารกในครรภ์ ตรวจปริมาณน้ำคร่ำ ตำแหน่งของรก รวมทั้งสามารถดูเพศและประเมินน้ำหนักของเด็กได้อีกด้วย

บอกอายุครรภ์ได้ รู้การเคลื่อนไหวและอัตราการเต้นของหัวใจของทารก การตรวจแบบ 4 มิติ จะช่วยตอบโจทย์มากกว่า ซึ่งสถานพยาบาลเอกชนจะมีบริการแบบ 4 มิติ ราคาสบายกระเป๋าให้คุณแม่เลือกใช้บริการตามที่ต้องการได้

ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ

ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ

การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ หรือ Ultrasound KUB system เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะแรก

และมักจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย ตรวจดูนิ่วที่ไต หรือผู้ที่ปัสสาวะเป็นเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โดยจะทำการตรวจในขณะที่กำลังปวดปัสสาวะจัด เพื่อจะได้เห็นกระเพาะปัสสาวะชัดเจนมากขึ้นนั่นเอง

ตรวจเต้านม

อัลตร้าซาวด์เต้านม หรือ Ultrasound Breasts นิยมตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม เพื่อจะได้ทำการรักษาให้ทันท่วงทีนั่นเอง โดยทั่วไปตามคลินิกต่างๆ มักจะมีการจัดโปรแกรมตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในราคาไม่แพงมาก

เพื่อให้สุภาพสตรีสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างราคาสบายกระเป๋า สะดวกสบายโดยไม่ต้องไปต่อคิวรับการตรวจในโรงพยาบาลของรัฐให้เสียเวลา

อัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์

อัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์

เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีความสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ช่วยควบคุมระบบการเผาผลาญ การทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ความแข็งแรงของผิวหนัง ผม และเล็บ

หากมีอาการบ่งชี้ เช่น เหนื่อยง่าย เพลียง่าย น้ำหนักขึ้นง่าย น้ำหนักลดลง ตัวบวม หน้าบวม เป็นตะคริวบ่อย มือสั่น ใจสั่น คอโตขึ้น ขับถ่ายบ่อยขึ้น เหงื่อออกมาก อาจจะต้องอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

การตรวจอัลตร้าซาวด์อื่นๆ

นอกจากการตรวจในข้างต้นแล้ว ยังสามารถใช้ตรวจส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อีกด้วย เช่น การตรวจศีรษะเด็กแรกเกิด ถึง 1 ขวบ, การตรวจก้อนที่ผิดปกติ, การตรวจเส้นเลือด (Ultrasound Doppler) และเพื่อเป็น Guide Aspiration Procedure เป็นต้น

อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ และ 4 มิติ

การทำอัลตร้าซาวด์ปลอดภัยหรือไม่

การวิจัยจนถึงปัจจุบันพบว่าเทคโนโลยีอัลตร้าซาวด์ ส่วนใหญ่ปลอดภัยโดยไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ใช้รังสี ซึ่งแตกต่างจากการทดสอบภาพทางการแพทย์อื่นๆ เช่น  X-rays และ CT scan

เพราะฉะนั้นจึงเป็นแนวทางสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดควรทำโดยผู้ให้บริการที่เป็นมืออาชีพได้รับการฝึกอบรมในการใช้เทคโนโลยีเฉพาะทางนี้อย่างปลอดภัย

อัลตร้าซาวด์ปลอดภัยหรือไม่

จะเห็นได้ว่าการอัลตร้าซาวด์นั้น มีความจำเป็นในทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ทั้งกับการตรวจเพื่อคัดกรองโรคต่างๆ รวมทั้งช่วยให้คุณแม่ได้เห็นใบหน้าและการเคลื่อนไหวของเจ้าตัวเล็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์


อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
ให้บริการอัลตร้าซาวด์ครรภ์ 2 มิติ และ 4 มิติ
มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ในด้านต่างๆ คอยให้คำแนะนำ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเลือกใช้บริการได้จากทุกสาขาใกล้บ้านเพียงค้นหาเราจากคลินิกใกล้ฉัน ใน Google หรือสอบถามจากช่องทางการติดต่อบนหน้าเว็บไซต์ของเราได้เลยค่ะ

บทความที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

แก้ไขล่าสุด : 08/05/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com