ตุ่มที่น้องสาว ไม่ว่าจะเป็นตุ่มธรรมดาๆ ที่ไม่มีอาการเจ็บ หรือคัน ก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาในร่างกายได้ ความเสี่ยงของโรคต่างๆ เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของตุ่มเหล่านี้ เพื่อวางแผนดูแลและรักษาได้อย่างถูกต้องต่อไป
หัวข้อเกี่ยวกับอาการของตุ่มที่น้องสาว
ตุ่มที่น้องสาว แต่ละแบบเกิดจากอะไรได้บ้าง
ตุ่มที่น้องสาว หรือ ตุ่มขึ้นอวัยวะเพศหญิง มีหน้าตาหลายแบบ ซึ่งแต่ตุ่มแต่ละแบบก็สามารถแสดงถึงอาการที่แตกต่างกันออกไป
ไม่มีหัว ไม่คัน
ตุ่มในลักษณะที่ไม่มีอาการคัน และไม่มีหัว อาจเป็นได้จากซีสต์ (cyst) เช่น
-
ต่อมบาร์โธลินมีการอักเสบ
-
ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous cyst)
หากมีขนาดเล็ก มักไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากซีสต์โตขึ้นอาจจำเป็นต้องผ่าตัด/กรีดระบาย
คันอวัยวะเพศหญิง
สามารถเกิดจากการหลายสาเหตุ
-
การติดเชื้อราหรือยีสต์ เช่น การติดเชื้อราแคนดิดา
-
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น โรคเริม
-
เกิดจากการแพ้ หรือระคายเคือง จากสารเคมี หรือเสื้อผ้า ชุดชั้นใน
ตุ่มไม่มีหัว
มีตุ่มขึ้นที่อวัยเพศหญิง ไม่มีหัว เช่น
-
เนื้องอกธรรมดา (Benign tumor)
-
ซีสต์ มักเกิดจากการที่รูขุมขนอุดตัน
-
หูดหงอนไก่ (genital warts) เกิดได้จากการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งมักไม่มีหัว และบางครั้งอาจไม่รู้สึกเจ็บ
ลักษณะคล้ายฝี
หากมีตุ่มลักษณะคล้ายฝีที่อวัยวะเพศ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีหนองข้างใน
- ต่อมบาร์โธลินอักเสบ เป็นเคสที่พบบ่อยที่อวัยวะเพศหญิง ซึ่งจะทำให้ทำให้เกิดตุ่มบวมแดง และรู้สึกเจ็บได้ หากโตมากจำเป็นต้องกรีดหนอง หรือผ่าออก
ตุ่มที่มีอาการเจ็บ
เกิดได้จากหลากหลากสาเหตุ คือ
-
ฝี
-
ซีสต์ที่มีการอักเสบ
-
การติดเชื้อของโรคเริม (herpes)
-
การระคายเคืองที่ผิวหนัง
ความเจ็บปวดมักบ่งบอกถึง การอักเสบหรือการติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ตุ่มแบบไม่เจ็บ ไม่คัน
ตุ่มที่มักไม่มีอาการเจ็บหรือคัน สามารถเกิดได้จาก
-
ซีสต์ไขมัน
-
เนื้องอกธรรมดา
-
หูดข้าวสุก เป็นตุ่มนูนเล็กๆ ผิวเรียบมันวาว
หากมีอาการเปลี่ยนแปลง และแย่ลง ควรไปพบแพทย์
ตุ่มคล้ายสิว
เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยสาเหตุที่เกิดตุ่มประเภทนี้ ได้แก่
-
การอุดตันของรูขุมขน (ingrown hairs)
-
สิว (acne) ขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ (เป็นสิวที่น้องสาว)
ซึ่งบางครั้งอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับสิว ที่เกิดที่บริเวณใบหน้า และทำให้ระคายระคายเคือง หรือติดเชื้อเล็กน้อย
หมายเหตุ: อาการที่กล่าวมานี้เป็นเพียงสาเหตุที่สามารถเกิดได้ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้มีตุ่มขึ้นอวัยวะเพศหญิง ควรมาพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง แพทย์อาจมีการแนะนำให้ตรวจด้วยวิธีการทางห้องปฏิบัติการ หรือตรวจนรีเวชเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของอาการ และช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น
ตุ่มขึ้นอวัยวะเพศหญิง เป็นโรคอะไรได้บ้าง
เริม
อาการเบื้องต้นของโรคเริม คือจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสๆ เมื่อตุ่มแตก จะเกิดกลายเป็นแผลกระจายรอบๆ และรู้สึกเจ็บ สามารถเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกอวัยวะเพศหญิง หากมีการติดเชื้อในช่องคลอดด้วยก็จะมีอาการอื่นๆร่วม เช่น ตกขาวเยอะกว่าปกติ รู้สึกคัน และมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
หูดหงอนไก่
จะมีทั้งแบบตุ่มนูน หรือแผ่นราบ ตุ่มของหูดหงอนไก่ จะมีลักษณะการขึ้นคล้ายกับ หงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ อาจขึ้นเป็นตุ่มเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ โดยเชื้อ HPV จะไปกระตุ้นให้สร้างเคราติน ทำให้กลายเป็นหูดหงอนไก่ แต่จะไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ
การติดเชื้อรา
การติดเชื้อราในช่องคลอดมักมีพร้อมอาการคัน และการระคายเคือง ตกขาวมากจนผิดปกติ และอาจกลิ่นเหม็น โดยตกขาวจะมีลักษณะเป็นก้อนๆ เหมือนกับโยเกิร์ต หรือเป็นน้ำๆแบบนมบูด หากมีอาการรุนแรงขึ้น มีอาการแสบตอนปัสสาวะ และช่องคลอดบวมแดง
ติดเชื้อแบคทีเรีย
อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดมักมาพร้อมอาการปวดท้องน้อย ตกขาวผิดปกติ แผล ก้อน มีกลิ่นผิดปกติเมื่อมีการหลั่งภายใน หรือตุ่มขึ้นอวัยวะเพศหญิง เช่น มีตุ่มแดง, ตุ่มหนอง, ผื่นแดง อาจมีแผลเปิด รอยขีดข่วน หรือรอยแตก อาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
อาการของต่อมบาร์โธลินอักเสบ จะมีลักษณะตุ่มคล้ายสิว ฝี ซึ่งจะมีหนอง ตุ่มจะมีลักษณะบวมคล้ายๆกับถุงน้ำ อาจให้ความรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย
โลน
โลนเป็นแมลงตัวเล็กๆ บางครั้งก็เรียก แครบส์ (crabs) มักชอบอาศัยอยู่ตามขน และดูดเลือดเป็นอาหาร จึงทำให้เกิดอาการคันรุนแรง และเกิดตุ่มเล็ก ๆ หรือผื่นแดงที่บริเวณนั้นๆ หากไปการเกาบริเวณที่คัน อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองและอักเสบ ทำให้เกิดตุ่มหรือแผลเปิดได้ด้วย
แนวทางการรักษาเมื่อพบตุ่มที่น้องสาว
-
ไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิฉัยให้แน่ชัด และรับการตรวจนรีเวช
-
หลีกเลี่ยงการบีบ แคะ แกะ เกา บริเวณที่มีตุ่ม เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ ระคายเคือง และเกิดการติดเชื้อได้
-
หากมีการอักเสบหรือเจ็บปวด ให้ประคบอุ่น โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นประคบเบาๆ เพื่อช่วยลดอาการ
-
ล้างอวัยวะเพศด้วยน้ำสะอาด งดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่บริเวณช่องคลอด ที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
-
ควรใช้ยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น
-
ดูแลและรักษาสุขอนามัยของตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
-
หากมีอาการอักเสบ รู้สึกเจ็บ หรือมีแผล ควรงดการมีเพศสัมพันธ์
-
ใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ รวมถึงการติดเชื้ออื่นๆเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
-
Dr.Jen Guter, MD ,The Vagina Bible
-
พญ.ชัญวลี ศรัสุโข, สุขภาพผู้หญิง ล้วงลึกภัยที่สตรีควรรู้
บทความที่น่าสนใจ
นายอัชวินทร์ ธรรมสุนธร
ผู้จัดการทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 24/08/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com