อาการติดเชื้อ HIV 3 ระยะ อาการเริ่มต้นจนถึงระยะสุดท้าย

เชื้อ HIV เป็นเชื้อเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเป็นโรคเอดส์อย่างเต็มตัว การติดเชื้อ HIV เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และการใช้ของร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เนื่องจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของเราเกิดความบกพร่อง หรืออ่อนแอลง เพราะเม็ดเลือดเซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย อาการติดเชื้อ HIV จะมีอาการแบ่งออกเป็นระยะอาการเริ่มต้นด้วยกันทั้งหมด 3 ระยะ


เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจเกี่ยวกับอาการติดเชื้อ HIV

อาการติดเชื้อ hiv ระยะที่ 1 ระยะเฉียบพลัน

อาการติดเชื้อ HIV ระยะที่ 1 ระยะเฉียบพลัน

จะเกิดขึ้นได้ในช่วง 2-4 สัปดาห์แรก จะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหัว บางรายอาจจะมีผื่นหรือต่อมน้ำเหลืองขึ้นตามตัว ในระยะนี้เชื้ออื่นเริ่มเข้าสู่ร่างกาย มีการเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่า CD4 ทำให้ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายตกลงอย่างรวดเร็ว 

อาการติดเชื้อ HIV โดยรวมหลังรับเชื้อมาแล้ว ระยะแรก จะเหมือนการเจ็บป่วยทั่วไป ทำให้ผู้ที่ติดเชื้ออาจจะไม่รู้ตัวว่าตนเองได้รับเชื้อมาแล้ว เมื่อผ่านมาได้สักระยะร่างกายก็จะค่อยๆ สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ขึ้นมาใหม่ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่จะทำงานได้ไม่ดีเท่าก่อนการได้รับเชื้อ

อาการติดเชื้อ hiv ระยะที่ 2 ระยะแฝง

อาการติดเชื้อ HIV ระยะที่ 2 ระยะแฝง

เป็นระยะที่ร่างกายจะไม่แสดงอาการมากนัก เพราะการเพิ่มปริมาณของเชื้อในร่างกายจะต่ำมาก และอาจต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าไวรัสจะสามารถทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายเราได้

และทำให้เราเข้าสู่ระยะที่ 3 กลับกันถ้าดูแลสุขภาพร่างกายไม่ดีพอ ก็อาจทำให้เข้าสู่ระยะที่ 3 เร็วขึ้นเช่นกัน 

อาการติดเชื้อ hiv ระยะที่ 3 ระยะโรคเอดส์

อาการติดเชื้อ HIV ระยะที่ 3 ระยะโรคเอดส์

เป็นอาการติดเชื้อ HIV ระยะสุดท้าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ถูกเชื้อทำลายไปจนเหลือน้อยมาก และไม่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้อีกต่อไป อยู่ในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอมากที่สุด เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน (เกิดโรคฉวยโอกาส) ได้

เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสต่างๆที่เข้ามาได้อีกแล้ว ที่สำคัญยังสามารถติดเชื้อตัวเดิมซ้ำ และรักษาหายยากกว่าปกติหลายเท่า

ก่อนที่อะไรจะสายเกินไป..เราจึงควรป้องกันตัวเอง ทานยา prep ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย แต่ถ้าเราได้รับการสัมผัสเชื้อกับ HIV แล้ว ภายใน 72 ชม. ให้ทานยา pep เพื่อป้องกันเชื้อ HIV เบื้องต้น

พบแพทย์ดีกว่าซื้อยากินเอง

เพราะฉะนั้น หากเรารู้ตัวว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อควรเข้ารับการ ตรวจเลือด ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อหาคำตอบว่าเราติดเชื้อรึยัง? ถ้าติดก็จะได้รับการรักษา จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเสียสุขภาพร่างกาย และควรใช้ถุงยางป้องกันทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ จะได้ปลอดภัย 

บทความที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

แก้ไขล่าสุด : 27/04/2023

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com