ขั้นตอนถอดเข็มยาคุมนั้นมีไม่มากและไม่ซับซ้อนเพราะเป็นหัตถการขนาดเล็ก
ใช้เวลาประมาณ ไม่เกิน 20 นาที ไม่เป็นอันตรายต่อตัวผู้เข้ารับบริการและไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ
คุณผู้หญิงที่ต้องการถอดเข็มยาคุมสามารถติดต่อเข้ารับบริการได้ที่สถานพยาบาลหรือคลินิกใกล้ฉันบ้าน ที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีเวชหรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่มีประสบการณ์ในการฝังยาคุมและถอดเข็มยาคุม หลังถอดเข็มยาคุมผู้เข้ารับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
เมื่อถึงกำหนดนัดถอดเข็มยาคุม แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติเบื้องต้นและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเข็มยาคุมเดิมที่เคยฝังไว้ จากนั้นจะทำการแจ้งยืนยันค่าใช้จ่ายของการให้บริการและเริ่มขั้นตอนการถอดเข็มยาคุม ดังนี้
คลำหาเข็มยาคุมบริเวณท้องแขน
แพทย์จะคลำหาตำแหน่งของเข็มยาคุมที่ฝังเอาไว้ที่บริเวณใต้ท้องแขนของผู้เข้ารับบริการ ในกรณีที่คลำไม่เจอเข็มยาคุมกำเนิดเพราะฝังเข็มไว้ลึกเกินไป หรือฝังยาคุมผิดตำแหน่งจนทำให้เข็มยาคุมเคลื่อนที่และไม่อยู่บริเวณท้องแขน
แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้การอัลตร้าซาวน์หรือเอกซเรย์เพื่อตรวจหาตำแหน่งที่ชัดเจนจากนั้นจึงทำการผ่าตัดเล็กเพื่อถอดเข็มยาคุมออก
ส่วนใหญ่จะเอกซเรย์ดูตำแหน่งเข็มยาคุม เพราะจะเห็นได้ชัดเจนกว่า ขั้นตอนจะเหมือนกันเอกซเรย์ทั่วไป แต่ทำช่วงแขนที่ฝังยาคุม
อีกหนึ่งวิธีคือการอัลตร้าซาวด์ จะทำในกรณีคนไข้ที่มีข้อบ่งชี้ห้ามโดนรังสี ก็อาจอัลตร้าซาวด์ดูบริเวณแขนฝั่งที่ฝังยาคุม อัลตร้าซาวด์ไม่โดนรังสี ไม่เสี่ยง แต่จะหาเข็มยาคุมได้ยาก ทั้ง 2 วิธีนี้คนไข้ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเหมือนกัน
กรีดเปิดแผลเล็กน้อยเพื่อนำเข็มยาคุมออก
หลังจากยาชาที่ฉีดไว้ออกฤทธิ์และผู้เข้ารับบริการรู้สึกชาเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการกรีดเปิดแผลขนาดเล็กที่บริเวณปลายเข็มยาคุมเพื่อใช้เป็นช่องสำหรับดึงเข็มยาคุมออกมา ซึ่งแผลมีขนาดเล็กมากประมาณ 5-8 มิลลิเมตร
ดึงเข็มยาคุมออกจากบริเวณที่ฝัง
แพทย์จะค่อยๆ ใช้นิ้วมือกดลงที่บริเวณท้องแขนเพื่อดันเข็มยาคุมให้โผล่ออกมาในบริเวณปากแผลที่กรีดเอาไว้ เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์ดึงเข็มยาคุมออกมาได้
ในกรณีที่มาถอดเกินกำหนดอาจทำให้การเอาเข็มยาคุมออกยากมากขึ้น ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวถอดเข็มยาคุมที่สาวๆหลายคนกังวลและสอบถามเข้ามาค่ะ
หนีบเข็มยาคุมออกจนครบ
แพทย์ใช้คีมหรืออุปกรณ์ทำการคีบนำเข็มยาคุมที่อยู่บริเวณใต้ท้องแขนออกมาทีละแท่งจนครบ โดยแพทย์จะทำการตรวจเช็คความยาวของแท่งยาคุมที่ดึงออกมาเพื่อให้มั่นใจว่านำเข็มยาคุมออกมาครบหมดทุกส่วน (ยาคุมกำเนิดชนิดฝังยี่ห้อ Implanon จะต้องมีความยาว 4 เซนติเมตร จำนวน 1 แท่ง และยาคุมกำเนิดชนิดฝังยี่ห้อ Jadella มีขนาดความยาว 4.3 เซนติเมตร จำนวน 2 แท่ง )
ปิดแผลบริเวณที่ถอดเข็มยาคุม
เมื่อนำเข็มยาคุมออกจากท้องแขนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะเช็ดทำความสะอาดที่บริเวณแผลอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงปิดแผลด้วยผ้าก๊อซสเตอร์ไรด์ (Sterile Gauze) และอาจปิดแผลอีกชั้นด้วยพลาสเตอร์กันน้ำเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าสู่แผล รวมไปจนถึงช่วยป้องกันแผลไม่ให้อักเสบหรือติดเชื้อจากการสัมผัสโดนเหงื่อหรือน้ำ
ให้คำแนะนำการดูแลแผลถอดยาคุม
หลังจากทำขั้นตอนถอดเข็มยาคุมเสร็จ แพทย์จะอธิบายแนวทางการดูแลแผลหลังถอดเข็มยาคุม พร้อมทั้งให้คำแนะนำการวางแผนครอบครัว (Family Planning) เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการสามารถวางแผนการมีบุตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
หากถอดเข็มยาคุมออกเพราะครบกำหนดและต้องการฝังยาคุมต่อเนื่อง ผู้เข้ารับบริการสามารถแจ้งให้แพทย์ทราบได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มการรักษาเพื่อให้แพทย์เตรียมการฝังเข็มยาคุมใหม่อีกครั้งหลังจากที่ถอดเข็มยาคุมเดิมออก
ส่วนในกรณีที่ถอดเข็มยาคุมออกก่อนกำหนดเพราะมีอาการข้างเคียงหลังการฝังยาคุม แพทย์จะแนะนำวิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นที่อาจเหมาะสมมากกว่า เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด ยาคุมกำเนิดแบบฉีดหรือการใช้ห่วงอนามัย เพื่อช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์เป็นการต่อไป
บทความที่น่าสนใจ
- ถอดเข็มยาคุม ราคาสบายกระเป๋า
- คำถามถอดเข็มยาคุมที่พบบ่อย พร้อมคำตอบที่ต้องอ่าน!!
- หลังถอดเข็มยาคุม ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? สาวๆไม่ควรพลาด
- รวมข้อมูล! ก่อนถอดเข็มยาคุม ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 26/07/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com