ใบรับรองแพทย์ กพ สมัครราชการ หลักฐานทางการแพทย์ที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่มีความประสงค์สมัครงานในหน่วยงานราชการในประเทศไทย เช่น กรมวิชาการเกษตร สำนักงานศาลปกครอง กรมสรรพากร เป็นต้น
ซึ่งผู้ที่ยื่นคำร้องขอใบรับรองแพทย์ กพ จะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบสุขภาพและตรวจโรคต้องห้ามตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2553 โดยแพทย์ผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งทางสภาพร่างกาย สภาพอารมณ์และจิตใจ และไม่ได้ป่วยเป็นโรคต้องห้ามอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเป็นเหตุให้ต้องออกจากราชการ
สาระน่ารู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์ ก.พ.
ใบรับรองแพทย์ กพ คืออะไร?
ใบรับรองแพทย์ กพ คือ เอกสารสำคัญทางการแพทย์ที่ใช้เพื่อการรับรองสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ยื่นขอใบรับรองแพทย์ที่มีความประสงค์สมัครงานในหน่วยข้าราชการภายในประเทศไทยว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ไม่ป่วยเป็นโรคต้องห้ามตามกฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ.2566 ซึ่งมีประกาศใช้ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2566
โดยแพทย์ผู้ทำการตรวจประเมินสุขภาพร่างกายและลงสรุปข้อความคิดเห็นพร้อมลงลายมือชื่อกำกับในใบรับรองแพทย์ กพ ใบรับรองแพทย์ สมัครราชการ จะต้องเป็นแพทย์ที่ได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
โรคต้องห้ามที่ กพ. ระบุในใบรับรองแพทย์มีอะไรบ้าง?
ใบรับรองแพทย์ กพ ใบรับรองแพทย์ สมัครราชการ จะต้องมีการประเมินสุขภาพและตรวจโรคต้องห้ามตามกฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ.2566 ไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งมีกลุ่มของโรคต้องห้าม ดังนี้
1. วัณโรคในระยะอันตราย
โรคทางเดินระบบหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) สามารถแบ่งความรุนแรงของโรคออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ วัณโรคระยะแฝง และระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบที่สามารถแพร่กระจายไปสู่บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดได้
2. โรคเท้าช้าง
โรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรียภายในระบบน้ำเหลือง กลุ่มผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่มีอาการชัดเจนมักส่งผลให้อวัยวะส่วนต่างๆ มีความผิดปกติ เช่น แขนบวม ขาบวม เต้านมบวมใหญ่ เนื่องจากเกิดการอุดตันของท่อน้ำเหลืองใต้ชั้นผิวหนัง
3. โรคติดยาเสพติดให้โทษ
เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่มีประวัติการใช้สารเสพติด เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาม้า มอร์ฟีนหรือสารระเหยต่างๆ จนทำให้สุขภาพร่างกายเริ่มทรุดโทรม มีอาการกระวนกระวาย ประสาทหลอน ควบคุมสติตัวเองไม่ได้และต้องการใช้ยาเสพติดตลอดเวลา
4. โรคพิษสุราเรื้อรัง
เป็นภาวะอาการของผู้ที่มีประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้มีความกระหายและต้องการดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมตนเองได้และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
5. โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง
โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง เช่น ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ กาฬโรค โรคพิษสุนัขบ้า โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์) โรคไตวายเรื้อรัง โรคสมองเสื่อม โรคจิตเวช ฯลฯ
เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรงเหล่านี้อาจแพร่กระจายเชื้อโรคสู่บุคคลที่อยู่ใกล้ชิด หรือมีสภาวะของโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่และเป็นเหตุให้ออกจากราชการ
ราคาใบรับรองแพทย์ กพ.
ใบรับรองแพทย์ กพ ใบรับรองแพทย์ สมัครงานราชการ อาจมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละสถานพยาบาลหรือคลินิก โดยจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเอกสารใบรับรองแพทย์และค่าบริการทางการแพทย์ (แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ ก.พ.)
ตรวจร่างกายขอใบรับรองแพทย์ กพ.ต้องตรวจที่ไหน
การตรวจร่างกายขอใบรับรองแพทย์ กพ ใบรับรองแพทย์ สมัครราชการ ส่วนใหญ่แล้วนั้นสามารถเข้าตรวจร่างกายและขอรับใบรับรองแพทย์ได้จากหลายแห่ง โดยสามารถขอใบรับรองแพทย์ กพ. ได้ที่คลินิก ใกล้ฉัน ที่สามารถเดินทางได้สะดวกและให้บริการได้อย่างรวดเร็วทันใจ หรือสามารถขอรับใบรับรองแพทย์ กพ ได้ที่โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนที่รัฐบาลรับรอง
ทั้งนี้ต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ระบุไว้ในประกาศของแต่ละหน่วยงานว่าต้องใช้ใบรับรองแพทย์ กพ จากที่ไหน เช่น หากประกาศแจ้งว่าต้องใช้ใบรับรองแพทย์ กพ ที่ออกให้โดยโรงพยาบาลของภาครัฐก็จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ที่โรงพยาบาลของรัฐเป็นผู้ออกให้เท่านั้น
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม คือคลินิกใกล้ฉัน ที่พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพ ตรวจ 5 โรคต้องห้ามตามกฎ กพ โดยทีมเจ้าหน้าที่ พยาบาลและแพทย์ผู้ชำนาญการ และออกใบรับรองแพทย์ กพ. ที่สามารถใช้งานทางการได้ตามกฎหมายแพทยสภาได้อย่างถูกหลัก เอกสารครบถ้วนถูกต้อง แม่นยำ
ต้องการขอใบรับรองแพทย์ กพ ที่คลินิกใกล้ฉัน เลือกอินทัชเมดิแคร์ สาขาใกล้ท่านได้ทุกสาขา เรายินดีให้บริการทุกท่านด้วยการบริการที่มีมาตรฐาน สามารถค้นหา คลินิกใกล้ฉัน อินทัชเมดิแคร์ สาขาใกล้ฉัน ใน google ได้เลย
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 22/09/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com