การเดินป่าและปีนเขาเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่หลายๆคนชอบ เพรราะนอกจากจะสนุก ท้าทาย แล้วยังถือว่าเป็นการพักผ่อนและดื่มด่ำกับธรรมชาติ แต่ความสนุกอาจหมดไปหากร่างกายของเราไม่พร้อม ตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขา และแพ็กกระเป๋าพร้อมออกผจญภัย ส่วนใครที่ร่างกายไม่พร้อมก็ควรงดไปก่อนเพื่อความปลอดภัย
หัวข้อที่เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขา และเดินป่า
- ทำไมต้องตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขาและเดินป่า
- รายการตรวจสุขภาพก่อนเดินป่าและปีนเขา
- ราคาตรวจสุขภาพเพื่อปีนเขาและเดินป่า
- กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเรื่องการเดินป่าและปีนเขา
- 8 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินป่า
ทำไมต้องตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขาและเดินป่า
การเดินป่าและปีนเขาเป็นกิจกรรมแอดเวนเจอร์ที่มีความท้าทายสูง และสามารถก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทุกเมื่อ การตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขาจะเป็นตัวช่วยเพื่อให้คุณสามารถประเมินตนเองได้ว่าสามารถเดินป่า หรือปีนเขาได้หรือไม่ หากตรวจพบว่ามีโรคประจำตัว ก่อนทำกิจกรรมจะได้ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกิจกรรมได้ เช่น โรคปอด หัวใจ เป็นต้น
นอกจากการตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขายังช่วยป้องกันปัญหาในเรื่องการหายใจลำบาก หรืออาการหัวใจวาย ที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งศัตรูตัวฉกาจที่นักเดินป่าต้องเจอ หากเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นมาระหว่างเดินป่าอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะการเข้าไปช่วยเหลือและรักษาอาจเป็นไปอย่างลำบากและล่าช้านั่นเอง
“การตรวจร่างกายก่อนเดินป่านั้นถือว่ามีความจำเป็นตามเคสตัวอย่างคือ ชายอายุ 62 ปี ที่ไปเที่ยวเพื่อพิชิตภูกระดึง แล้วเกิดเป็นลมหมดสติ ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ได้เสียชีวิตระหว่างที่กำลังนำตัวส่งโรงพยาบาล จากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าสลดใจมาก”
เพราะฉะนั้นหากใครที่อยากเดินป่าหรือปีนเขา ควรตรวจสุขภาพก่อนเดินป่าเพื่อลดความเสี่ยงให้กับตนเอง เพราะหากมองด้วยตาเปล่าแล้ว เราจะไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่าร่างกายของเรากำลังป่วยอยู่ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ที่ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการแสดง
รายการตรวจสุขภาพก่อนเดินป่าและปีนเขา
รายการตรวจสุขภาพก่อนเดินป่า ปีนเขา มีดังนี้
- ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination
- เอกซเรย์ปอด / Chest X-ray
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ / EKG
- ตรวจระดับคลอเรสเตอรอล / Cholesterol
ราคาตรวจสุขภาพเพื่อปีนเขาและเดินป่า
ราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขา เดินป่า ราคา 1,390 บาท
หมายเหตุ: หากมีรายการตรวจเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายการตรวจในแพ็กเกจตรวจสุขภาพนี้ จะมีการคิดค่าบริการเพิ่ม ก่อนเข้ารับการตรวจสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับบริการได้
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเรื่องการเดินป่าและปีนเขา
สำหรับใครที่ตรวจร่างกายหรือตรวจสุขภาพก่อนเดินป่าแล้วแพทย์วินิจฉัยว่า มีความเสี่ยงที่อาจเกิดอัตรายในการเดินป่าหรือปีนเขา ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม รวมไปถึงกลุ่มคนดังต่อไปนี้ด้วย ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น โรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย
- ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่ชอบสูบบุหรี่จัด
- ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ที่ยังมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนและขา
-
- ผู้สูงอายุ เพราะร่างกายไม่แข็งแรง มีความเสี่ยงต่อการลื่นล้ม อาจเกิดอันตรายได้
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากการเจ็บป่วย หรือการผ่าตัด
- ผู้ที่มีความวิตกกังวล หรือมีโรคทางจิตเวช
- ผู้ที่มีปัญหาในด้านการเคลื่อนไหว ทรงตัว
8 ขั้นตอนการเตรียมตัวเดินป่า
-
-
- ควรศึกษาข้อมูลเส้นทางในการเดินป่า โดยสามารถค้นหาข้อมูลของสถานที่ได้ในหนังสือ เว็บไซต์ รีวิว กลุ่ม Facebook ที่พูดคุยเกี่ยวกับการเดินป่า หรือสอบถามจากผู้ที่เคยไปมาแล้ว
- เช็คสภาพอากาศว่าเหมาะแก่การเดินป่าหรือไม่ และเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ
- จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อการเดินป่า ได้แก่ เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีและกันน้ำ, รองเท้า, กระเป๋าเป้สะพายหลัง, เสื้อกันฝน และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น แผนที่, เข็มทิศ, GPS, ไฟฉาย, มีดพก, เชือก, ถุงขยะ และกล่องปฐมพยาบาล เป็นต้น
- เตรียมเสบียงและยารักษาโรคให้พร้อม โดยควรเตรียมให้เพียงพอต่อจำนวนวันที่ใช้ในการเดิน
- ตรวจสุขภาพเพื่อการปีนเขา ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีโรคประจำตัว
- บอกคนรู้จักหรือคนในครอบครัวว่าจะไปเดินป่าที่ไหน เพื่อป้องกันกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉิน
- ศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับเดินป่า ไม่ว่าจะเป็น วิธีการใช้เข็มทิศ, การกางเต๊นท์, การใช้แผ่นที่ เป็นต้น
- เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม เพราะการเดินป่าเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างลำบาก และสามารถเจออุปสรรคได้ตลอดเวลา
- ควรศึกษาข้อมูลเส้นทางในการเดินป่า โดยสามารถค้นหาข้อมูลของสถานที่ได้ในหนังสือ เว็บไซต์ รีวิว กลุ่ม Facebook ที่พูดคุยเกี่ยวกับการเดินป่า หรือสอบถามจากผู้ที่เคยไปมาแล้ว
-
เอกสารอ้างอิง
-
-
- นักท่องเที่ยวหัวใจวายเสียชีวิตขณะพิชิต “ภูกระดึง” , ไทยพีบีเอส
-
บทความที่น่าสนใจ
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 23/05/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com