“สาวประเภทสอง ฝังยาคุมกำเนิดได้ไหม” สาวสองหลายคนมีข้อสงสัยแล้วติดต่อเข้ามาเพื่อที่จะทำการฝังยาคุม เพื่อที่จะเทคฮอร์โมนให้ใกล้เคียงผู้หญิง ซึ่งปกติแล้วฮอร์โมนที่จะช่วยเรื่องพวกผิวพรรณ รูปร่างให้ใกล้เคียงผู้หญิง จะเป็นตัวเอสโตรเจน
“แต่ยาฝังมีแค่โปรเจสเตอโรนตัวเดียว จึงไม่ตอบโจทย์ แพทย์จึงไม่แนะนำค่ะ”
อ่านเรื่องน่ารู้เพิ่มเติม
- ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด
- ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดแบบฝัง
- สาวประเภทสอง ฝังยาคุมกำเนิดได้ไหม
- ข้อควรระวังในการฝังยาคุมของสาวประเภทสอง
ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิดนั้นประกอบด้วยฮอร์โมนหลักๆ 2 ประเภทคือ
- เอสโตรเจน (estrogen) กลไกลในการคุมกำเนิดคือยับยั้งการตกไข่
- โปรเจสติน (progestin) กลไกลในการคุมกำเนิดคือยับยั้งการตกไข่ ทำให้มูกปากมดลูกข้นเหนียว ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางตัว ทำให้ไข่เคลื่อนผ่านท่อนำไข่ได้ยาก
1.2. ฮอร์โมนรวม : ประกอบด้วย เอสโตรเจน (estrogen) และ โปรเจสติน (progestin)
1.3. ฮอร์โมนเดี่ยว : ประกอบด้วยโปรเจสติน (progestin) ชนิดเดียว เหมาะสำหรับคนที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือไม่สามารถทนอาการข้างเคียงของการใช้เอสโตรเจนได้
ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดแบบฝัง
ยาฝังคุมกำเนิดประกอบด้วยฮอร์โมนชนิดเดียว คือ โปรเจสติน (Progestin) ที่บรรจุเอาไว้ในหลอดหรือแท่งพลาสติกเล็กๆ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับชนิดของยาคุมกำเนิดแบบฝัง : ยาฝังคุมกำเนิด 2 ชนิด ประกอบด้วยตัวยาอะไรบ้าง
สาวประเภทสอง ฝังยาคุมกำเนิดได้ไหม
ตามหลักการแล้วการให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ทำให้ร่างกายเติบโตไปในลักษณะเพศหญิงมากขึ้น ร่วมกับให้ยาฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน (Anti-androgen) เพื่อลดระดับฮอร์โมนเพศชายลง ซึ่งในยาฝังคุมกำเนิดประกอบด้วยฮอร์โมนชนิดเดียว คือ โปรเจสติน (Progestin)
“จึงไม่แนะนำให้สาวประเภทสอง ใช้การฝังยาคุมเพื่อการแปลงเพศ ชายเป็นหญิง“ |
ข้อควรระวังในการฝังยาคุมของสาวประเภทสอง
โดยปกติแล้วยังไม่มีคำแนะนำหรือประโยชน์ที่ได้จากการฝังยาคุมในสาวประเภทสอง
การฝังยาคุมเป็นฮอร์โมนตัวเดียวคือโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งในกลุ่มผู้ชายหรือสาวประเภทสองที่ต้องการปรับให้สรีระให้เข้าใกล้ผู้หญิงจะเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน
“ดังนั้นการฝังยาคุมกำเนิด
อาจจะไม่เหมาะและแพทย์ ไม่แนะนำสำหรับสาวประเภทสอง” |
บทความที่น่าสนใจ
- เรื่องน่ารู้ของการฝังยาคุมมีอะไรบ้าง มาเฉลยกัน!
- การปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุมกำเนิด มีวิธีการอย่างไร?
- ผลข้างเคียงฝังยาคุม! มีอะไรบ้าง อ่านเลยๆ
- รวมคำถาม-คำตอบยอดฮิต! เรื่องฝังยาคุมที่ถามบ่อย
พญ.วรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 15/01/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com