คำถามฝังยาคุมที่พบบ่อย พร้อมคำตอบฝังยาคุม

คำถามเกี่ยวกับการฝังยาคุมมีหลายคำถามที่ชวนสงสัยและไม่แน่ใจ หรือยังไม่กล้าตัดสินใจว่าจะเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการฝังยาคุมดีหรือไม่ อินทัชเมดิแคร์ได้รวบรวมคำถาม ฝังยาคุมที่พบบ่อยพร้อมคำตอบเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนและหลังฝังยาคุม

คำถาม ฝังยาคุมที่ถามกันบ่อย กดเลือกเพื่อดูคำตอบ

  1. ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง
  2. ฝั่งยาคุมกี่วันถึงปล่อยได้ 
  3. หลังจากฝั่งยาคุม หลั่งในได้ไหม 
  4. ฝังยาคุมแล้วท้องได้ไหม
  5. ยาคุมแบบฝังมีข้อห้ามอะไรไหม
  6. ฝั่งยาคุมแล้วกินยาคุมได้ไหม 
  7. ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา ต้องฝังยาตอนไหน
  8. ประจำเดือนมา รับบริการได้ไหม
  9. ฝังยาแล้วจะอ้วนไหม 
  10. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร
  11. ยาฝังคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ได้กี่เปอร์เซ็นต์
  12. ยาฝังคุมกำเนิดฝังที่ใดของร่างกาย
  13. การใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะทำให้ผอม เป็นฝ้า ใบหน้าหมองคล้ำ มึนศีรษะ จริงหรือไม่
  14. แพทย์นัดดูแผลหลังฝังยาคุม ไม่ไปพบมีอันตรายไหม 
  15. เข็มฝั่งยาคุมไม่เอาออกได้ไหม 
  16. ยาคุมแบบฝังช่วยลดการปวดประจำเดือนได้ไหม


ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการฝังยาคุม

1. ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงฝังยาคุม มักจะมีอาการคล้ายกับการใช้ยาคุมกำเนิดแบบทั่วไป คือ เจ็บคัดเต้านม มีอาการปวดศีรษะ เกิดสิว ฝ้า มีอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า และในช่วงแรกของการฝังยาคุมอาจมีประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย และจะค่อยๆ หายไป ซึ่งแต่ละคนอาจมีประจำเดือนที่แตกต่างกัน เช่น บางคนมีมากขึ้น ถี่ขึ้นกว่าปกติ บางคนมาช้า มาเร็ว หรือบางคนประจำเดือนอาจไม่มาเลยก็ได้

 กลับสู่คำถาม


คำถาม ฝังยาคุมยอดฮิต ฝั่งยาคุมกี่วันถึงปล่อยได้

2. ฝั่งยาคุมกี่วันถึงปล่อยได้

คำถาม ฝังยาคุมข้อนี้ถามกันมาเยอะสุดเลย หลังฝังยาคุมแล้วสามารถปล่อยในได้ โดยไม่ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดชนิดอื่นร่วมด้วย หากฝังยาคุมในวันแรกของรอบเดือน หรือไม่เกินวันที่ 5 ของรอบเดือน (กรณี Implanon NXT) หรือไม่เกินวันที่ 7 ของรอบเดือน (กรณี Jadelle)

 แต่ถ้าฝังยาคุมข้ากว่านั้นจะต้องส่วมถุงยางอนามัยร่วมด้วย เป็นเวลา 7 วันหลังฝัง 


3. หลังจากฝั่งยาคุม หลั่งในได้ไหม

หากฝั่งยาคุมในช่วงที่มีประจำเดือน 5 – 7 วันแรก หลังจากฝังยาคุมแล้ว หลั่งในได้โดยไม่ต้องคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยค่ะ

แต่สาวๆ บางคนอาจมีความกังวลใจและไม่มั่นใจ แพทย์ที่คลินิกก็แนะนำว่า สามารถใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยได้ในระยะ 7 วันแรกค่ะ ไม่ได้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแต่อย่างใด

 กลับสู่คำถาม


ฝังยาคุมและถอดยาคุม line สอบถาม

 อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม การปฏิบัติตัวหลังการฝังยาคุมกำเนิด มีวิธีการอย่างไร?

4. ฝังยาคุมแล้วท้องได้ไหม

ฝังยาคุมแล้วมีโอกาสท้องได้น้อยมากๆ โอกาสพลาดคือน้อยกว่า 1 ใน 100 คน คิดเป็น 0.05 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นับว่าประสิทธิภาพฝังยาคุม สูงมากเมื่อเทียบกับการคุมกำเนิดแบบอื่นๆ


5. ยาคุมแบบฝังมีข้อห้ามอะไรไหม

ผู้ที่สงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ไม่ควรฝังยาคุมกำเนิด หรือผู้ที่มีภาวะเลือดประจำเดือนผิดปกติ ผู้ที่เป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม 

 โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฝังยาคุมว่ามีผลกระทบต่อการรักษาโรค และการคุมกำเนิดหรือไม่ 

 กลับสู่คำถาม


ฝั่งยาคุมแล้วกินยาคุมได้ไหม

6. ฝั่งยาคุมแล้วกินยาคุมได้ไหม

ยาคุมกำเนิดแบบฝังเป็นยาคุมที่มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์สูง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกินยาคุมร่วมด้วย

ในกรณีที่ต้องการกินยาคุมร่วมด้วยเพื่อรักษาสิว แพทย์แนะนำว่าควรปรึกษาและเข้ารับการรักษาโดยตรงจากแพทย์ผิวหนัง เพราะการกินยาคุมร่วมกับการฝั่งยาคุมด้วยอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้


7. ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา ต้องฝังยาตอนไหน

หากประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา หรือไม่ต้องการรอรอบประจำเดือน สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการฝังยาคุมได้เลย โดยต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อน (ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจแพทย์)  หลังจากการฝังยาคุมจะต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นควบคู่กันไปอีก 7 วัน เพื่อให้ยาคุมชนิดฝัง สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเสียก่อน

 กลับสู่คำถาม


สนใจฝังยาคุมและถอดยาคุม

8. ประจำเดือนมา รับบริการได้ไหม

โดยปกติแล้วเพื่อให้ยาคุมสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การฝังยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมจะฝังระหว่างวันที่ 1-5 ของการประจำเดือนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหากประจำเดือนมา และอยู่ในช่วง 1- 5 วัน ของการประจำเดือน ย่อมฝังยาคุมได้อย่างแน่นอน


9. ฝังยาแล้วจะอ้วนไหม

บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย และยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ชัดเจน ว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการฝังยาคุมจริงหรือไม่ เพราะโดยส่วนใหญ่มักจะมีปัจจัยมาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมมากกว่า

 แต่ถ้ารู้สึกว่าน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น โดยไม่เกี่ยวการรับประทานอาหาร ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น อาจเกิดจากภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น 

 กลับสู่คำถาม


คำถาม ฝังยาคุม สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร

10. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร

หากฝังยาคุมในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน สามารถมีเพศสัมพันธ์เลย แต่ถ้าฝังยาคุมในวันอื่นๆ ของการมีรอบเดือน และต้องการมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการคุมกำเนิดวิธีอื่นควบคู่กันไป เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น นี่ถือเป็นอีกหนึ่งคำถาม ฝังยาคุมสุดฮิตที่ถามกันมาเยอะมากๆเลยค่ะ


11. ยาฝังคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ได้กี่เปอร์เซ็นต์ 

หากเทียบกับการคุมกำเนิดแบบอื่นแล้วยาฝังคุมกำเนิดนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดคือมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.05 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ในขณะที่การคุมกำเนิดแบบอื่นมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่าคือ ใส่ห่วงคุมกำเนิด 0.2%, ยาฉีดคุมกำเนิด 0.2%, ยาเม็ดคุมกำเนิด 0.3%, สวมถุงยางอนามัย 2%, ยาคุมฉุกเฉิน 15-20% และ หลั่งภายนอก 27%

 กลับสู่คำถาม

ฝังยาคุมและถอดยาคุม line สอบถาม


12. ยาฝังคุมกำเนิดฝังที่ใดของร่างกาย 

การฝังยากำเนิดจะฝังหลอดยาบริเวณต้นแขนด้านใน กึ่งกลางระหว่างรักแร้และข้อศอก  โดยจะฝังเป็นรูปพัดในกรณีที่ใช้  6 หลอด โดยฉีดยาชาให้ก่อนแล้วใช้สอดหลอดยา เข้าไปใต้ผิวหนัง แผลจะเล็กมากไม่ต้องเย็บแผลเพียงปิดด้วยพลาสเตอร์เล็ก ๆ

 แผลจะหายเป็นปกติภายใน 3-5 วัน หลังจากทำไปแล้วไม่ให้แผลถูกน้ำ 7 วัน เมื่อครบ 7 วัน แพทย์จะนัดมาดูแผลอีกครั้ง 

 กลับสู่คำถาม


13. การใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะทำให้ผอม เป็นฝ้า ใบหน้าหมองคล้ำ มึนศีรษะ จริงหรือไม่

ไม่จริง การฝังยาฝังคุมกำเนิดไม่มีผลทำให้อ้วน หรือ ผอม และไม่ทำให้เกิดฝ้า หรือ หน้าดำ อาการมึนศีรษะที่เกิดขึ้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับยาฝังคุมกำเนิด แต่ควรหาสาเหตุที่แน่นอนเสียก่อน


14.แพทย์นัดดูแผลหลังฝังยาคุม ไม่ไปพบมีอันตรายไหม

เนื่องจากแพทย์ต้องการดูแผลหลังฝังยาคุมเสร็จและตรวจดูตำแหน่งยาคุมว่าอยู่บริเวณที่เหมาะสม รวมถึงสามารถคลำแท่งยาคุมเจอเพื่อสะดวกและง่ายต่อการถอดเข็มยาคุมออกเมื่อครบกำหนด ดังนั้นผู้รับบริการควรไปพบแพทย์ตามนัด

 กลับสู่คำถาม


สนใจ ถอดยาคุม

15. เข็มฝั่งยาคุมไม่เอาออกได้ไหม

เมื่อครบกำหนดเอาเข็มยาคุมออกแล้ว แต่ยังไม่ได้เอาออกไม่ได้มีอันตรายใดๆ แต่ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดจะลดลงควรใส่ถุงยางอนามัยร่วมด้วย

ไม่ควรปล่อยไว้นานเกิน 1 เดือน ในบางกรณีปล่อยไว้นานส่งผลต่อการหาเข็มยาคุมกำเนิด (หาเข็มไม่เจอ) เมื่อไปเอาออก (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)

16. ยาคุมแบบฝังช่วยลดการปวดประจำเดือนได้ไหม

ฝังยาคุมแล้วช่วยลดการปวดประจำเดือนได้ค่ะ โดยปกติแล้วการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดฉีดหรือฝัง นอกจากมีการคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็ยังสามารถมีประโยชน์ด้านการรักษาอื่นๆ ของความปกติของการมีประจำเดือนได้ค่ะ เช่น อาการปวดประจำเดือน อาการมีประจำเดือนมามาก เป็นต้นค่ะ

 กลับสู่คำถาม


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฝังยาคุมนั้น ผู้รับบริการควรประเมินว่าตนเองเหมาะกับการฝังยาคุมหรือไม่ หรือควรเลือกวิธีการคุมกำเนิดด้วยวิธีการอื่น หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมกับตนเองสามารถติดต่อฝังยาคุมกับอินทัชเมดิแคร์ โดยค้นหา คลินิกฝังยาคุม หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม แนะนำพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาเพิ่มได้นะคะ

ฝังยาคุมและถอดยาคุมกำเนิด

บทความที่น่าสนใจ

แก้ไขล่าสุด : 23/04/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com