ตรวจคัดกรองเบาหวาน ด้วยการตรวจ FBS เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยตรวจหาความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานที่พบได้บ่อย การตรวจนี้ช่วยให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือด หากตรวจพบแต่เนิ่น ๆ สามารถรักษาและลดความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไตเสื่อม หรือเบาหวานขึ้นจอตาได้
ก่อนการตรวจ FBS ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ตรวจคัดกรองความเสี่ยงเบาหวานกี่บาท สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเบาหวาน
ตรวจคัดกรองเบาหวานสำคัญอย่างไร
การตรวจคัดกรองความเสี่ยงเบาหวานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และยังพบมากในประชากรไทย ซึ่งคัดกรองเบาหวานแต่เนิ่นๆมีประโยชน์คือ
-
หากพบว่าเป็นจะช่วยให้ได้รับการรักษาได้ไว เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานในระยะเริ่มต้นมักไม่ได้มีการแสดงอาการที่ชัดเจน หากรักษาช้าอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้
-
ป้องกันความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน หากผู้ตรวจมีความเสี่ยงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ก็จะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดจากโรคเบาหวานได้
เช็กอาการเสี่ยงเบาหวาน
-
ปัสสาวะบ่อย
-
คอแห้ง หิวบ่อย
-
เป็นแผลง่าย แต่สามารถรักษาให้หายได้ยาก
-
มีอาการคันตามผิวหนัง โดยเฉพาะที่บริเวณอวัยวะเพศ
-
ปลายประสาทอักเสบ ชามือชาเท้า
-
กินมากแต่กลับผอมลง
-
คุณแม่ที่คลอดบุตรที่น้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
-
มีอาการอ่อนเพลีย ซึม
-
ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
-
ตาพร่ามัว มองไม่ชัด
วิธีการตรวจคัดกรองเบาหวาน มีอะไรบ้าง
การตรวจคัดกรองเบาหวานนั้นสามารถทำได้มีหลายวิธี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติและสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงจากประวัติสุขภาพ ประวัติครอบครัว และตรวจร่างกาย จากนั้นอาจจะพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี การเจาะเลือดวัดระดับตาลที่ปลายนิ้ว หรือการเจาะระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำ งดอาหาร ซึ่งการตรวจคัดกรองเบาหวานเพิ่มเติมหลักๆจะมี 3 วิธี ดังต่อไปนี้
การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C)
เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C) ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ค่าน้ำตาลเฉลี่ยนี้จะช่วยให้แพทย์ในการเฝ้าระวังติดตามผู้ป่วยเบาหวาน ว่าสามาถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด
แพทย์จะใช้ดูควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง โดยในผู้ป่วยเบาหวานแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อย ปีละ 2-4 ครั้ง
การทดสอบความทนทานต่อระดับน้ำตาล (Glucose Tolerance Test)
การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลใช้ตรวจเมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์ โดยก่อนตรวจต้องงดรับประทานอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
ในวันที่เข้ารับการตรวจ เจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อตรวจน้ำตาลในเลือด จากนั้นจึงให้ดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส หลังรับประทานสารละลายกลูโคส 75 กรัม และรอตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้งเมื่อครบ 2 ชั่วโมง
ค่าน้ำตาลในเลือดปกติอยู่ที่เท่าไร
-
ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
-
ผู้มีภาวะก่อนเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
-
ผู้เป็นโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ตรวจ FBS เหมาะกับใครบ้าง
การตรวจ FBS เหมาะในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ได้แก่
-
เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
-
อ้วนหรือลงพุง (*อ้วนเป็นภาวะที่ร่างกายหรือไขมันมากกว่าปกติ โดยวัดจากค่าดัชนีมวลกาย)
-
มีพ่อแม่พี่น้อง ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
-
คุณแม่ที่เคยเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวเกิน 4 กิโลกรัม
-
เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือ กำลังรับประทานยาควบคุมความดันโลหิต
-
มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ได้แก่ ผู้ที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ≥250 มก./ดล. หรือเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL) < 35 มก./ดล.
-
มีประวัติของโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) เช่น โรคหลอดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดของแขนและขาตีบตัน
-
เคยได้รับการตรวจพบว่า ความทนทานต่อกลูโคสผิดปกติ (Impaired Glucose Tolerance : IGT) หรือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติในขณะที่มีการงดอาหาร (Impaired Fasting Glucose : IFG)
-
ผู้หญิงที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Poly Cystic Ovarian Syndrome)
-
ผู้ที่มีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น เป็นโรคอ้วนรุนแรง (Morbid obesity) หรือโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans)
-
ผู้ที่ป่วยเป็นเอชไอวีหรือโรคเอดส์
ตรวจคัดกรองเบาหวาน ราคาเท่าไหร่
ราคาตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ด้วยวิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS ราคา 850 บาท
-
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination
-
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด Glucose / FBS
ราคาตรวจคัดกรองเบาหวานตามรายการข้างต้นรวมค่าแพทย์และบริการทางคลินิกแล้ว
หมายเหตุ : ทั้งนี้ราคาตรวจคัดกรองเบาหวานอาจแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละคน ขึ้นกับดุลยพินิจแพทย์
การเตรียมตัวก่อนตรวจเบาหวาน
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
-
งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มก่อนเข้ารับการตรวจ 8-10 ชั่วโมง สามารถดื่มน้ำเปล่าได้
-
แจ้งประวัติทางสุขภาพให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เช่น การใช้ยา หรือโรคประจำตัวอื่นๆ ประวัติพ่อแม่/คนในครอบครัวเป็นเบาหวาน เพื่อให้แพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัย
เกร็ดความรู้ |
พญ.สุพิชชา บึงจันทร์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 23/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com