ตรวจวิตามินดีในเลือด มีความจำเป็นและสำคัญ เพราะวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับแคลเซียม ฟอสเฟส และเมตะบอลิซึมของกระดูกในร่างกาย การขาดวิตามินดีมีผลทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน กระดูกโค้งงอ โรคกระดูกพรุนได้
หากมีความสงสัยว่าจะขาดวิตามินดี ควรมาตรวจหาระดับวิตามินดีในเลือด เพื่อให้แพทย์ประเมินและวินิจฉัยโรคสำหรับทำการรักษาต่อไป
เรื่องควรรู้ก่อนตรวจวิตามิน ดี
ทำไมต้องตรวจวิตามินดี
เพราะการใช้ชีวิตของคนเราในปัจจุบันเปลี่ยนไป มักหลีกเลี่ยงที่จะเจอและสัมผัสแสงแดด เช่น การใช้ครีมกันแดด การใส่เสื้อแขนยาวปกปิดผิวกาย ทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้น้อยลง หรือขาดวิตามิน รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่มีอาการที่แสดงออกว่าขาดวิตามิน
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการตรวจระดับวิตามินดีซึ่งตรวจจากเลือด
ซึ่งการแสดงผลตรวจ มี 4 ระดับ คือภาวะขาดวิตามินดี ภาวะพร่องวิตามินดี วิตามินดีระดับปกติ และวิตามินดีเป็นพิษ
ตรวจวิตามินดีในเลือดเพื่ออะไร
ตรวจวิตามินดีในเลือด เพื่อเป็นแนวทางการตรวจติดตามและการรักษาในกลุ่มโรคที่สงสัย ดังนี้
-
เพื่อดูว่าเรามีภาวะขาดวิตามินดีหรือไม่ และเพื่อประเมินว่าวิตามินดีที่เรารับประทานอยู่มีขนาดที่เหมาะสมกับร่างกายที่ควรได้รับหรือไม่
-
เพื่อประเมินระดับของแร่ธาตุในร่างกาย ว่าที่ผิดปกติเกิดจากการขาดวิตามินดีหรือมีวิตามินดีสูงเกินไปหรือไม่ มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกหรือไม่
-
เพื่อดูความเสี่ยงของภาวะขาดวิตามินดีของคนที่มีความเสี่ยงสูง
-
เพื่อวินิจฉัยหรือติดตามอาการของต่อมพาราไทรอยด์ เนื่องจากฮอร์โมนพาราไทรอยด์และวิตามิดีต้องทำงานร่วมกัน
-
เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร หรือผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมัน
ราคาโปรแกรมตรวจ Vitamin D
-
ตรวจระดับวิตามินดีในเลือด ราคา เริ่มต้น 4,450 บาท
-
ตรวจที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
-
รู้ผลตรวจเลือด 1-2 วัน
ระดับวิตามิน D ในเลือดควรอยู่ที่เท่าไร
เกณฑ์การประเมินระดับวิตามินดีในเลือด (จาก Endocrine Society) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
-
Vitamin D 25 (OH) D น้อยกว่า 20 ng/mL ระดับภาวะขาดวิตามินดี
-
Vitamin D 25 (OH) D 20 – 30 ng/mL ระดับวิตามินดีในเลือดไม่เพียงพอ
-
Vitamin D 25 (OH) D มากกว่า 30-100 ng/mL ระดับวิตามินดีในเลือดเพียงพอ
-
Vitamin D 25 (OH) D มากกว่า 100 ng/mL ระดับวิตามินดีเป็นพิษ
กลุ่มที่ควรตรวจดูวิตามินดีในเลือด
-
กลุ่มคนทั่วไปที่ต้องการวางแผนการรับประทานวิตามินดี
-
กลุ่มคนไข้ที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย
-
กลุ่มคนไข้ที่รับประทานยารักษาโรคประจำตัวเป็นเวลานาน
-
ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าขาดวิตามินดี
-
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคกระดูก
-
ผู้ที่กำลังรับประทานวิตามินดีในปริมาณมาก
-
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4
-
ผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิ
-
ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ที่เกิดจากกลุ่มโรคแกรนูโลมา
วิธีการตรวจ Vitamin D
ในการประเมินสภาวะวิตามินดีในร่างกาย ในปัจจุบัน มีหลายวิธี ได้แก่
วิธี Immunoassay
• Radioimmunoassay (RIA) เป็นการตรวจวิเคราะห์ 25(OH)D (25) วิธีนี้เป็นการตรวจวิเคราะห์ 25(OH) D2 และ25(OH) D3 รวมกันการตรวจวิเคราะห์ต้องอาศัยการติดฉลากสารกัมมันตรังสี
แต่อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษาที่ทำการเทียบผลการตรวจ ด้วยวิธี RIA กับ LC-MS/MS พบว่าที่ความเข้มข้นของระดับ วิตามินดีที่ต่ำ ซึ่งวิธีการตรวจด้วย RIA จะให้ผลที่ต่ำกว่าและที่ความเข้มข้นของระดับวิตามินดีสูงกว่า วิธี LC-MS/MS ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ประมาณ 13 %
• Enzyme-linked immunosorbent assay วิธีนี้มีการใช้กันน้อย ข้อมูลจากองค์กรที่ทำการ ประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์ วิตามินดีพบว่าวิธีนี้มีค่าความเข้มข้นของระดับวิตามินดีที่ต่ำกว่า วิธี RIA ประมาณ 5.2 – 6 ng/mL และต่ำกว่าวิธี LC-MS/MS ประมาณ 21 %
• Chemiluminescent immunoassay ปี ค.ศ. 2004 ได้มีการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ วิธีนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ สามารถทำการตรวจวิเคราะห์บนเครื่องอัตโนมัติทำให้ ประหยัดเวลาในการตรวจ ส่งผลให้การตรวจวิเคราะห์นี้มี ความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เหมาะสำหรับห้องปฏิบัติการทั่วไป แค่จะมีข้อจำกัดบางอย่างซึ่งอาจทำให้การวัดด้วยวิธีนี้มีค่าสูงกว่าปกติได้
วิธี Chemistry-based assay
วิธีนี้อาศัยหลักการแยกตามคุณสมบัติทางเคมีของสาร สามารถแยกวิเคราะห์ระดับของ 25(OH) D2 และ 25(OH) D3 ได้อย่างแม่นยำ โดยวิธี LC-MS/MS มีความไวมากกว่า HPLC ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า วิธี LC-MS/MS ใช้ในการประเมินระดับของวิตามินดี
แต่ข้อจำกัดของทั้ง 2 วิธีนี้คือ เครื่องมือที่ใช้ตรวจมีราคาแพง และการวิเคราะห์ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจด้วย
ภาวะขาดวิตามินดีหรือต้องการตรวจ |
แม้ว่าเราจะมีภาวะขาดวิตามินดีหรือระดับวิตามินดีในร่างกายสูงเกินไป ก็ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน ทั้งผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้ชีวิตประจำวันและโดยเฉพาะกับผู้ที่กำลังทำการรักษาโรคประจำตัวอยู่ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ควรนิ่งนอนใจ
หากมีอาการสงสัยควรเข้ารับการตรวจโดยเร็ว เพื่อให้แพทย์หาแนวทางในการรักษาได้ทันค่ะ
สนใจตรวจระดับวิตามิน D ในเลือดที่อินทัชเมดิแคร์ สามารถ waik in หรือนัดหมายได้ทุกช่องทางออนไลน์ค่ะ ค้นหา “ตรวจวิตามินดีในเลือด ที่คลินิกใกล้ฉัน” ก็เจอแล้วค่ะ เดินทางสะดวก ขั้นตอนง่ายๆ
เอกสารอ้างอิง
-
ข้อแนะนำเกี่ยวกับภาวะขาดวิตามินดีในคนไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย
-
ข้อแนะนำการป้องกันและรักษาภาวะพร่องวิตามินดีในทารก เด็ก และวัยรุ่น 2566
-
ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำ หรับคนไทย พ.ศ. 2563
พญ.สุพิชชา บึงจันทร์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 08/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com