โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยทำงาน โดยโรคนี้มักมาพร้อมกับอาการปวดท้องบ่อย หรือมีอาการคลื่นไส้ และท้องอืด มาทำความเข้าใจ และรู้จักโรคกระเพาะอาหารเพื่อช่วยควบคุมและป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคกระเพาะ ผ่านบทความนี้ได้เลย
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ
โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร
โรคกระเพาะอาหาร คือ อาการอักเสบที่บริเวณของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง แดง และบวม เป็นโรคไม่ร้ายแรง
|
โรคกระเพาะเกิดจากอะไร
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ มาจากการที่กระเพาะอาหารมีปริมาณของกรดในกระเพาะอาหารที่มากขึ้น และเยื่อบุกระเพาะอาหารมีความอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคด้วย
-
ภาวะเครียด วิตกกังวล
-
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-
การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา และกาแฟ
-
การสูบบุหรี่
-
การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
-
การกินยาแก้ปวด, ยาชุด, ยาลูกกลอน ชนิดที่มีส่วนผสมของแอสไพริน สเตียรอยด์ และยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
-
การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัด
อาการของโรค
-
มีอาการปวดท้องบ่อย ปวดท้องเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ
-
มีอาการปวดสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่าง เมื่อกินอาหารหรือนม อาการปวดจะทุเลา
-
จุดเสียด แน่นท้อง
-
ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอลม
-
แสบร้อนท้อง
-
รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
อาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์
สังเกตตัวเองหากมีอาการดังต่อไปนี้อย่านิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์
-
อาเจียนเป็นเลือดดำ/แดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากอาจบ่งบอกว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
-
ปวดท้องรุนแรงและมีภาวะช็อค เนื่องจากบ่งบอกว่าอาจมีกระเพาะอาหารทะลุ
-
ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากบ่งบอกว่าอาจมีการอุดตันของกระเพาะอาหาร
ปวดท้องตรงไหนเป็นโรคกระเพาะ
อาการปวดท้องของโรคกระเพาะอาหาร จะมีอาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ เนื่องจากเป็นบริเวณของกระเพาะอาหาร
แพทย์ทำการซักประวัติคนไข้
โดยจะมีใส่ของการซักประวัติอาการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายโรคกระเพาะ เช่น โรคถุงน้ำดี หรือโรคตับ
ตรวจด้วยวิธีการทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ หรือการตรวจลมหายใจ (Urea Breath Test) เพื่อหาระดับเอนไซม์ Urease ประเมินว่า มีการติดเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter pylori, H. Pylori) หรือไม่ โดยเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) เป็นวิธีการตรวจที่ช่วยให้สามารถมองเห็นเยื่อบุกระเพาะอาหาร และสามารถตัดชื้นเนื้อตรวจหาเชื้อเอชไพโลไรได้
การรักษา
-
แนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
-
แพทย์จะมีการใช้ยาในรักษา โดยต้องรับประทานยาอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอ ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์
-
หากผู้ป่วยอาการไม่ทุเลาลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจต้องทำการผ่าตัดโดยการส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัย และรักษา
-
ทานอาหารให้เป็นเวลา ทานน้อยๆ วันละ 4 ถึง 5 มื้อ ไม่กินจุบจิบโดยเฉพาะก่อนนอน และทานอาหารในปริมาณที่ไม่อิ่มมากเกินไป
-
ระวังการใส่เครื่องเทศที่มีรสเผ็ดจัด
-
ทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก, ผลไม้ และธัญพืช โดยเฉพาะใยอาหารประเภทละลายน้ำ เช่น กล้วย, มะละกอ และแอปเปิ้ล ซึ่งมีใยอาหารชนิดเพคตินมาก ช่วยป้องกันโรคกระเพาะและมะเร็งในกระเพาะอาหาร
-
ทานผักใบเขียวจัดให้มากขึ้น เนื่องจากผักใบเขียวจัดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร
-
ทานผักผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีนสูง เช่น แครอท, ฟักทอง, ผักใบเขียวจัด และแคนตาลูป ช่วยป้องกันเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ เร่งให้แผลหายเร็วขึ้น
-
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร ได้แก่ เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีคาเฟอีน กาแฟ น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-
หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารเค็ม
-
หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่ม ที่ร้อนจัด
-
งดการสูบบุหรี่
-
เคี้ยวช้าๆ ในเวลากินไม่เร่งรีบ
-
ควรสังเกตตัวเองว่าอาหารชนิดใด ที่ก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อย และหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น
-
หลีกเลี่ยงความเครียด
-
หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง และกินยาตามแพทย์แนะนำให้ถูกต้อง สม่ำเสมอ
วิธีแก้ปวดท้องโรคกระเพาะเบื้องต้น
-
เริ่มกินอาหารเหลวก่อน เช่น ซุปใส จากนั้นเปลี่ยนเป็นข้าวต้ม และอาหารปกติ ตามลำดับ
-
ดื่มน้ำมากๆ
-
งดอาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และน้ำอัดลมทุกชนิด
-
กินยาตามอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล และยาลดกรด/เคลือบกระเพาะ
-
ประคบอุ่นใต้ลิ้นปี่ ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
-
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ หากไม่ทุเลา ปวดท้องรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แนะนำไปประเมินอาการที่โรงพยาบาล
-
แต่หากเป็นการปวดท้อง เนื่องจากการกินยาพิษหรือสารพิษ แนะนำไปโรงพยาบาลทันที
วิธีป้องกัน
-
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
-
รักษาสุขภาพจิต เพื่อลดการสร้างกรดที่กระเพาะอาหารมากเกินไป
-
ไม่ซื้อยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ หรือยาสเตียรอยด์กินเอง
-
งดสูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์ และจำกัดเครื่องดื่มคาเฟอีน
-
รักษา และควบคุมโรค ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหาร
สรุป
การทำความเข้าใจสาเหตุและอาการของโรคกระเพาะอาหาร เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรักษา โรคนี้อาจต้องการการดูแลและการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เช่น การเปลี่ยนแปลงอาหาร การใช้ยารักษา หรือการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
ส่วนใครที่มีอาการเข้าข่ายว่าเป็น เช่น ปวดท้องใต้ลิ้นปี่, ปวดท้องบ่อย/ปวดถี่ จุกเสียด และแน่นท้อง การพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย จะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างถูกวิธี และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา หากสนใจพบแพทย์สามารถสอบถามเพิ่มเติ่มผ่านทาง Line Offiacial อินทัชเมดิแคร์ หรือติดต่อสายด่วยของเราได้เลย
พญ.สุพรรษา เหนียวบุบผา
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 23/08/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com