ข้อเสียของการฝังยาคุมที่ผู้เข้ารับบริการควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเข้ารับบริการ เพื่อให้การคุมกำเนิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหาไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการฝังยาคุม เราได้รวบรวมข้อเสียฝังยาคุมมาให้ประกอบพิจารณก่อนตัดสินใจฝังยาคุม
เลือกอ่านหัวข้อที่น่าสนใจ
- ต้องจ่ายเงินเป็นก้อนครั้งเดียว
- ยาคุมกำเนิดชนิดฝังมียี่ห้อให้เลือกน้อยกว่า
- สถานพยาบาลให้บริการน้อย
- แพทย์ที่รับฝังยาคุมมีน้อย
- ผลข้างเคียงหลังการฝังยาคุมกำเนิดเฉพาะรายบุคคล
- แพทย์ที่ฝังยาคุมกำเนิดขาดความเชี่ยวชาญ
- ลืมกำหนดถอดเข็มยาคุม
- การฝังยาคุมกำเนิดอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน
ข้อเสียของการฝังยาคุมมีดังนี้
1. ต้องจ่ายเงินเป็นก้อนครั้งเดียว
ปัจจุบันผู้หญิงชาวไทยที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี มีสิทธิ์เข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดได้ฟรีและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ตามสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ในกรณีที่อายุมากกว่า 20 ปี สามารถรับสิทธิ์ฝังยาคุมกำเนิดได้ฟรีเฉพาะกรณีหลังยุติการตั้งครรภ์เท่านั้น)
อ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติม : วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คุมกำเนิดแบบไหนได้บ้าง?
สำหรับกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 20 ปีที่มีความประสงค์จะฝังยาคุมกำเนิดจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นก้อนในครั้งเดียว โดยมีระดับราคาที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ทางอินทัชเมดิแคร์ไม่ได้ให้บริการฝังยาคุมฟรีนะจ๊ะ
- บริการฝังยาคุมกำเนิดในคลินิก หรือ โรงพยาบาลเอกชน มีราคาประมาณ 5,000-8,000 บาท/ครั้ง
- บริการฝังยาคุมกำเนิดในโรงพยาบาลรัฐบาล มีราคาประมาณ 2,500-4,000 บาท/ครั้ง
2. ยาคุมกำเนิดชนิดฝังมียี่ห้อให้เลือกน้อยกว่า
ปัจจุบันในประเทศไทยมียาคุมกำเนิดชนิดฝังให้เลือกใช้ค่อนข้างน้อย โดยมียาฝังคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมอยู่ด้วยกัน 2 ยี่ห้อ ได้แก่
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ยาฝังคุมกำเนิดมีกี่ชนิด พร้อมข้อมูลที่ควรอ่าน!
3. สถานพยาบาลให้บริการน้อย
อีกหนึ่งข้อจำกัดที่เป็นข้อเสียฝังยาคุมคือเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ไม่สามารถเริ่มหรือยุติการใช้ได้ด้วยตนเอง แต่จะต้องทำการรักษาโดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งในหลายพื้นที่มีสถานพยาบาลที่ให้บริการฝังยาคุมค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้เข้ารับบริการไม่สามารถคุมกำเนิดด้วยการฝังยาคุมได้
4. แพทย์ที่รับฝังยาคุมมีน้อย
การฝังยาคุมและนำแท่งยาคุมออกจำเป็นต้องดำเนินการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีเวช (หรือในกรณีที่เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปจะต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น) แต่เนื่องจากการฝังยาคุมถือเป็นหัตถการขนาดเล็กจึงทำให้แพทย์ฝึกหัดส่วนใหญ่มองข้ามหัตถการนี้ไปและไม่เคยฝึกฝนการผ่าตัดเพื่อฝังยาคุมที่บริเวณใต้ท้องแขนมาก่อน
“แพทย์บางคนอาจมีประสบการณ์ในการผ่าตัดเพื่อฝังยาคุมเพียงไม่กี่ครั้งหรืออาจไม่เคยทำเลย
จึงส่งผลทำให้มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการฝังยาคุมมีจำนวนค่อนข้างน้อย“
5. ผลข้างเคียงหลังการฝังยาคุมกำเนิดเฉพาะรายบุคคล
เนื่องจากการฝังยาคุมกำเนิด หรือการฝังยาคุมเป็นการใช้กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เพื่อยับยั้งการตกไข่และลดโอกาสการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้การออกฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรเจสตินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ (ประจำเดือนมาบ่อยมาก มาแบบกะปริบกะปรอยหรือในบางรายอาจมีปัญหาประจำเดือนขาดช่วงติดต่อกันหลายเดือน)
“ในบางรายอาจมีอาการปวดคัดเต้านม รู้สึกวิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวนได้ง่ายหรืออาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีปัญหาสิว ฝ้า กระ ฯลฯ”
6. แพทย์ที่ฝังยาคุมกำเนิดขาดความเชี่ยวชาญ
หากแพทย์ผู้ฝังยาคุมขาดประสบการณ์หรือไม่เชี่ยวชาญมากพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาหลังการฝังยาคุมและส่งผลให้ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดลดลง เช่น การฝังยาคุมผิดตำแหน่ง , ฝังแท่งยาคุมตื้นเกินไปจนทำให้รู้สึกเจ็บ มีอาการปวดบวม ทำให้แผลฝังยาคุมเกิดอาการอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย
การฝังแท่งยาคุมลึกเกินไปจนทำให้ตัวยาที่บรรจุอยู่ในหลอดถูกปล่อยเข้ากระแสเลือดมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ยาคุมที่ฝังไว้มีอายุการทำงานที่น้อยลงและยังเสี่ยงทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ
“การฝังยาคุมที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เส้นเลือดและเส้นประสาทได้รับความเสียหาย”
7. ลืมกำหนดถอดเข็มยาคุม
เนื่องจากคุมกำเนิดแบบฝังใช้ระยะเวลานาน 3 ปี หรือ 5 ปี ผู้รับบริการบางท่านลืมกำหนดของถอดเข็มยาคุม หรือทำให้เข็มยาคุมติดกับเนื้อเยื่อของใต้ท้องแขน ส่งผลให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดแทน และค่าใช้จ่ายในการถอดเข็มยาคุมสูงขึ้นเป็น 2 หรือ 3 เท่าตัว
บทความที่แนะนำสำหรับคุณ
8. การฝังยาคุมกำเนิดอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน
จริงอยู่ว่าการฝังยาคุมเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่อย่างไรก็ตามการฝังยาคุมอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคนเสมอไป โดยเฉพาะหากผู้ที่เข้ารับบริการมีภาวะปัญหาด้านสุขภาพเหล่านี้
- ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะมีลิ่มเลือดในหลอดเลือด รวมไปจนถึงผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants)
- ผู้ที่มีประวัติของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
- มีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดหรืออวัยวะอื่นๆ ในร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ที่มีโรคตับ มีภาวะตับทำงานบกพร่อง ตับอักเสบ มีเนื้องอกหรือมะเร็งตับ
- ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรักษาโรคประจำตัวและต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งตัวยาที่ใช้อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง เช่น ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ ยารักษาโรคลมชัก ยาปฏิชีวนะบางประเภท ฯลฯ
- อาจมีผู้เข้ารับบริการบางกลุ่มที่เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาภายหลังจากการฝังยาคุม เช่น ภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง อาการปวดศีรษะหรือโรคไมเกรน ภาวะโรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ แพทย์จะแนะนำให้ถอดยาฝังคุมกำเนิดออกก่อนกำหนด
การฝังเข็มยาคุมเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์เพราะเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ขั้นตอนการรักษาที่ไม่ซับซ้อนและช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงสุดถึง 5 ปี
“ทั้งนี้การฝังยาคุมยังก็มีข้อเสียและข้อจำกัดบางประการที่ผู้เข้ารับบริการควรศึกษารายละเอียดด้วยตนเองหรือเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด”
บทความที่น่าสนใจ
- ข้อควรระวังก่อนฝังยาคุม! ที่ควรรู้ก่อนฝัง
- ยาคุมแบบฝัง vs ยาคุมแต่ละชนิดต่างกันยังไง!!
- รวมคำถาม-คำตอบยอดฮิต! เรื่องฝังยาคุมที่ถามบ่อย
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 14/07/2023
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com