การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ มีส่วนสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรค ร่วมกับการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) เป็นหนึ่งในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เพื่อสนับสนุนการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและเป็นการตรวจเลือดที่จัดอยู่ในการตรวจสุขภาพประจำปี
“ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติ ก็สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาต่อไป”
ข้อมูลที่ควรรู้
- ตรวจ cbc คือการตรวจอะไร
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ประกอบไปด้วยอะไรบาง
- ทำไมถึงต้องตรวจ cbc
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดบอกอะไรได้บ้าง
- วิธีการเก็บตัวอย่างเลือด
- ค่าผลการตรวจที่ปกติ
- ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ที่ผิดปกติ
- การเตรียมตัวสำหรับการตรวจเลือด cbc
- ตรวจ cbc ต้องงดอาหารหรือไม่
- ตรวจ cbc รอผลตรวจนานไหม
ตรวจ cbc คือการตรวจอะไร
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood cell count หรือ CBC) คือ การตรวจหาปริมาณและลักษณะของเม็ดเลือดทั้งสามชนิด ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด |
หรือ วางแผนในการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ต่อไปเพื่อหาสาเหตุของโรค วินิจฉัย และติดตามการรักษาต่อไป
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood cell count หรือ CBC) นั้น โดยส่วนประกอบหลักของเม็ดเลือด คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งแบ่งย่อยรายละเอียดได้ ดังนี้
เม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
- ระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นการตรวจหาความเข้มข้นของระดับฮีโมโกลบินในเลือด
- ปริมาตรเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) เป็นการตรวจปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือด
- ปริมาณเม็ดเลือดแดง (Red blood cell) เป็นปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือด
- ดัชนีเม็ดเลือดแดง (Red blood cell indices) เป็นการตรวจขนาดและปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ได้แก่
- ปริมาตรของเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular volume) เป็นปริมาตรหรือขนาดของเม็ดเลือดแดง
- ปริมาณฮีโมโกลิบินในเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin) เป็นปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์
- ความเข้นข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin concentration) เป็นความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์
เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาวจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นและลง จะมีความสัมพันธ์กับภาวะการอักเสบติดเชื้อของร่างกาย หรือได้รับเชื้อบางอย่างเข้าสู่ร่างกาย มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยจะใช้วิธีจับกินเชื้อโรคโดยตรง
เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน หากมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นหรือผลเปลี่ยนแปลงไปจากค่าปกติ เป็นผลมาจากการตอบสนองของร่างกายต่อปัจจัยการกระตุ้นที่แตกต่างกัน แบ่งออกได้ดังนี้
- นิวโตรฟิล (Neutrophil)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณมากที่สุดของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ทำหน้าที่เพื่อตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและติดเชื้อเฉียบพลัน โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งร่างกายสามารถตอบสนองโดยการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและจับกินเชื้อโรคโดยตรงได้
- ลิมไฟไซท์ (Lymphocyte)
เป็นเม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานต่อทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หากมีปริมาณสูงขึ้นจะอยู่ในภาวะการติดเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด
- โมโนไซท์ (Monocyte)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับกินเชื้อโรคได้สูงกว่านิวโทรฟิลด์ มักมีปริมาณเพิ่มขึ้นตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อไวรัส วัณโรค หรือเชื้อรา รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด
- อิโอซิโนฟิลด์ (eosinophil)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยในกระแสเลือด ทำหน้าที่ในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม ปริมาณสูงขึ้นพบได้ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืด แพ้ยา หรือมีพยาธิในร่างกาย
- เบโซฟิลด์ (basophil)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยมากในเลือด ทำหน้าที่สร้างสารป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว และรวมทั้งหลั่งสารที่ช่วยในการขยายของหลอดเลือด
- เกล็ดเลือด (platelet)
เกล็ดมีหน้าที่ป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือด ช่วยในการหยุดไหลของเลือดเมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดบอกอะไรได้บ้าง
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยและเพื่อให้ทราบปัญหาสุขภาพ เช่น
- ตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อของร่างกาย ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยรายนั้นได้รับเชื้อบางอย่างเข้าสู่ร่างกาย
- ตรวจเพื่อบ่งชี้การอักเสบของร่างกายได้ และเพื่อสังเกตและติดตามถึงผลการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคโลหิตจาง, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, สภาวะเลือดหยุดไหลยากเมื่อเกิดบาดแผล หรือโรคอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนเม็ดเลือดได้
วิธีการเก็บตัวอย่างเลือด
การเก็บตัวอย่างเลือด ทำได้โดยการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณข้อพับแขน ปริมาณประมาณ 2.5 – 3 มิลลิลิตร และเก็บเลือดใส่หลอดที่บรรจุสารกันเลือดแข็งที่เรียกว่า อีดีทีเอ (EDTA) เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดที่จะนำไปแปลผล
ค่าผลการตรวจที่ปกติ
ตารางแสดงค่าปกติ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ที่ผิดปกติ บ่งบอกถึงอะไร
ค่าความผิดปกติของการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด สามารถบ่งบอกถึงสภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ได้ดังนี้
ค่าเม็ดเลือดแดงที่ต่ำกว่าค่าปกติ
ภาวะที่มีการเสียเลือดมาก เช่น เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร มีประจําเดือนมากผิดปกติ, โรคไตวายเรื้อรัง, เม็ดเลือดแดงแตกง่าย, มะเร็งเม็ดเลือด, ภาวะขาดสารอาหารต่างๆ เชน ขาดธาตุเหล็ก, ขาดวิตามินบี 6 และขาดวิตามิน บี12 เป็นต้น
ค่าเม็ดเลือดแดงสูงกว่าค่าปกติ
โรคหัวใจวายเนื่องจากการเกิดพยาธิสภาพทางโรคปอด พังผืดในปอด, โรคหัวใจแต่กําเนิด เป็นต้น
ค่าเม็ดเลือดขาวที่ต่ำกว่าค่าปกติ
โรคตับและม้ามโต, โรคโรคแพ้ภูมิตัวเอง, มีประวัติเคยได้รับการฉายแสงมาก่อน เป็นต้น
ค่าเม็ดเลือดขาวที่สูงกว่าค่าปกติ
ภาวะการโรคติดเชื้อโดยเฉพาะแบตทีเรีย, มะเร็งเม็ดเลือดขาด เป็นต้น
ค่าระดับฮีโมโกลบินที่ต่ำกว่าค่าปกติ
ภาวะโรคโลหิตจาง, โรคไตวายเรื้อรัง, สูญเสียเลือดรุนแรงม,พบสารตะกั่วเป็นพิษในร่างกาย เป็นต้น
ค่าระดับฮีโมโกลบินที่สูงกว่าค่าปกติ
ภาวะที่มีออกซิเจนต่ำในเลือด, โรคหัวใจแต่กําเนิด, โรคพังผืดในปอด เป็นต้น
ค่าระดับฮีมาโตคริตที่ต่ำกว่าค่าปกติ
ภาวะโรคโลหิตจาง, ภาวะที่มีการสูญเสียเลือดรุนแรง, ขาดสารอาหาร เป็นต้น
ค่าระดับฮีมาโตคริตที่สูงกว่าค่าปกติ
เกิดภาวะการสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ เช่น ไข้เลือดออก, ภาวะที่มีออกซิเจนในเลือดตํ่า เชน มีประวัติการสูบบุหรี่เรื้องรัง, โรคหัวใจพิการแต่กําเนิด, อยู่อาศัยในพื้นที่ราบสูง เป็นต้น
ค่าระดับเกล็ดเลือดที่ต่ำกว่าค่าปกติ
สามารถเกิดได้จากภูมิต้านทานตนเองทำลายเกล็ดเลือด ไวรัส และม้ามที่โตผิดปกติ, ไขกระดูกทำงานผิดปกติหรือไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งแทรกซึมในไขกระดูก เป็นต้น
และหากระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่าสองหมื่น จะสามารถทำให้เกิดภาวะเลือดออกเองโดยที่ไม่ต้องมีบาดแผลหรือได้รับการการกระทบกระแทกมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดในบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ภาวะเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกในอวัยวะสำคัญ ได้แก่ ทางเดินอาหาร หรือสมองได้ เป็นต้น
ค่าภาวะเกล็ดเลือดที่สูงกว่าค่าปกติ
พบได้จากการสูญเสียเลือดหรือเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน, ภาวะที่มีปัจจัยการกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดให้มากขึ้น ได้แก่ การอักเสบหรือติดเชื้อเรื้อรัง เป็นต้น
การเตรียมตัวสำหรับการตรวจเลือด cbc
ผู้รับการตรวจสุขภาพควรเตรียมข้อมูลสุขภาพที่จำเป็นที่ต้องแจ้งแพทย์ โดยแพทย์จะสอบถามข้อมูลดังต่อไปนี้คือ
- ประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว
- ประวัติยาที่ทานอยู่เป็นประจำ
- ประวัติการรักษาหรือเคยได้รับการฉายแสงมาก่อน
- ประวัติทางอาหารและโภชนาการ
- ประวัติการสูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น การมีประจำเดือนมามากผิดปกติ, ประวัติถ่ายเป็นเลือดหรือสีดำ, อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น
ตรวจ cbc ต้องงดอาหารหรือไม่
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ- งดอาหาร ผู้รับบริการสามารถเข้าเจาะเลือดตรวจได้เลยค่ะ
ตรวจ cbc รอผลตรวจนานไหม
การตรวจ cbc รอผลเลือดไม่นาน อยู่ที่ประมาณ 1-2 วัน ทำการ
พญ.สุพิชชา บึงจันทร์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 18/06/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com