การตรวจคัดกรองอัลไซเมอร์มีเป้าหมายเพื่อประเมินความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมในระยะแรก เริ่มต้นด้วยแบบทดสอบประเมินความจำและการทำงานของสมอง อาจมีการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ หรือการสแกนสมอง เช่น MRI หรือ PET scan เพื่อช่วยประเมินสุขภาพสมอง
การตรวจอัลไซเมอร์เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์ การตรวจเร็วช่วยให้สามารถวางแผนป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องน่ารู้ก่อนตรวจอัลไซเมอร์
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s demetia) ถือเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งพบได้มากถึง 70% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด
|
การตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม ประกอบด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจร่างกายทางระบบประสาท และการตรวจ Cognitive screening
|
และความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัว ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์จะสูญเสียด้านการเรียนรู้และความจำค่อนข้างเด่นเมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ และแพทย์อาจนัดหมายติดตามเพื่อตรวจดูพัฒนาการของโรคและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
อาการที่ควรตรวจคัดกรองอัลไซเมอร์
หากคุณหรือคนใกล้ชิดเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพิจารณาเข้ารับการตรวจคัดกรองอัลไซเมอร์โดยเร็ว
-
ความจำเริ่มแย่ลง เช่น ลืมเรื่องที่เพิ่งพูด ลืมนัดหมาย หรือถามคำถามซ้ำบ่อย ถามซ้ำๆ ลืมสิ่งของ ลืมเหตุการณ์สำคัญ
-
สับสนในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ลืมรับประทานอาหาร ลืมวิธีทำอาหาร ใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ไม่ได้ หรือสับสนเส้นทางที่คุ้นเคย
-
มีปัญหาในการสื่อสาร การใช้ภาษา เช่น หาคำพูดไม่ออก ใช้คำผิด หรือตามบทสนทนาไม่ทัน เรียกสิ่งของไม่ถูก ทำตามสั่งไม่ได้
-
การตัดสินใจลดลง บกพร่องในการตัดสินใจ วางแผน การจัดลำดับขั้นตอนความคิดเชิงนามธรรม เช่น ใช้เงินผิดปกติ หรือละเลยการดูแลตัวเอง
-
พฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า หรือสงสัยคนรอบข้างผิดปกติ ไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น การยับยั้งชั่งใจลดลง
-
กล้ามเนื้อไม่สามาถทำได้ตามสั่ง ทั้งที่ไม่มีอาการอ่อนแรง
-
ไม่รู้จักชื่อและชนิดสิ่งของโดยที่เคยรู้จักมาก่อน
|
เพื่อประเมินและรับคำแนะนำ การตรวจพบเร็วจะช่วยให้สามารถดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสมและชะลอการเสื่อมของสมองได้มากขึ้น
ตรวจอัลไซเมอร์ ราคาเท่าไหร่
ข้อดีการตรวจอัลไซเมอร์ก่อนเป็นโรค
การตรวจอัลไซเมอร์ล่วงหน้าช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวพร้อมรับมือทั้งในด้านการดูแลและการใช้ชีวิตได้
-
ตรวจพบเร็ว ชะลออาการได้ แพทย์สามารถแนะนำวิธีดูแลและรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของสมอง
-
วางแผนชีวิตล่วงหน้า ช่วยให้ผู้ป่วยจัดการเรื่องสำคัญ เช่น ทรัพย์สิน เอกสารกฎหมาย
-
ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยง เช่น ออกกำลังกาย และฝึกสมองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดโอกาสเกิดโรค
-
เตรียมครอบครัวให้พร้อม เพื่อเรียนรู้วิธีดูแลและวางแผนการดูแลอย่างเหมาะสม ลดความตื่นตระหนกเมื่ออาการรุนแรงขึ้น
-
เพิ่มโอกาสเข้ารับการรักษาใหม่ ช่วยให้เข้าถึงวิธีการรักษาหรือการทดลองยาใหม่ๆ ที่อาจช่วยควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น
ตรวจอัลไซเมอร์ที่อินทัชเมดิแคร์
อินทัชเมดิแคร์ให้บริการตรวจอัลไซเมอร์ เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับผู้ที่สงสัยหรือเริ่มมีอาการแล้ว โดยการตรวจเลือด ซึ่งการมาตรวจเร็วเท่าไรยิ่งดี เพราะจะช่วยให้แพทย์ทำวางแผนป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
walk in หรือนัดหมายเพื่อเข้ามาตรวจคัดกรองอัลไซเมอร์ ที่อินทัชเมดิแคร์ คลินิกใกล้บ้านได้เลยนะคะ เราเปิดให้บริการหลายสาขาในกรุงเทพและปริมณฑลค่ะ ขั้นตอนง่ายๆ ราคาสบายกระเป๋าค่ะ
เอกสารอ้างอิง
-
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorder. 5th ed. Washington DC: American Psychiatric Association; 2018
-
Clinical Practice Guidelines : Dementia. Bangkok : Prasat Neurological Institute; Department of Medical Science; 2020
-
ภาวะสมองเสื่อม กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ
บทความที่น่าสนใจ
พญ.นลพรรณ พิทักษ์สาลี
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 27/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com