ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือกามโรค ในช่วงแรกอาจมีแผลที่อวัยวะเพศหรือไม่มีอาการใดๆ ก็ได้และถ้าไม่ได้รักษาแผลดังกล่าวอาจหายเองได้ แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลแทรกซ้อนตามมา
โรคซิฟิลิส เมื่อเป็นแล้วควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
เรื่องเกี่ยวกับซิฟิลิสที่คุณควรรู้
- โรคซิฟิลิสเกิดจากอะไร
- อาการของซิฟิลิส
- อาการซิฟิลิสในผู้หญิง
- อาการซิฟิลิสในผู้ชาย
- ซิฟิลิสติดต่อทางไหน
- จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคซิฟิลิส
- การรักษาโรคซิฟิลิส
- ตรวจและรักษาซิฟิลิสที่ไหนดี
- การป้องกันซิฟิลิส
ซิฟิลิส สามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 4 ระยะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ซึ่งอาจแสดงอาการแบบเรียงตามระยะ หรือไม่เรียงตามระยะก็ได้ หรืออาจมีอาการของ 2 ระยะร่วมกัน ในบางราย เชื้ออาจแฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่แสดงอาการเป็นเวลานานหลายปี
ระยะที่ 1 ระยะปฐมภูมิ
ระยะปฐมภูมิ หรือระยะเป็นแผล (Primary syphilis) จะปรากฎเป็นตุ่มแผลเล็ก ๆ สีแดงขอบนูนแข็งที่เรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) ขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ปาก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ เยื่อบุตา หรือเยื่อบุช่องคลอด ลักษณะกดไม่เจ็บ อาจมีแผลเดียวหรือหลายแผล และสามารถหายได้เองภายใน 3 – 8 สัปดาห์
แต่เชื้อจะยังคงแฝงในร่างกายและสามารถพัฒนาไปสู่ระยะที่ 2 ได้หากไม่ได้รับการรักษา
ระยะที่ 2 ระยะทุติยภูมิ
ระยะทุติยภูมิ หรือระยะออกดอก (Secondary syphilis) เป็นระยะที่เชื้อแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดตามไปอวัยวะต่าง ๆทำให้เกิดรอยโรคที่มีลักษณะเป็นผื่นหรือแผลกดไม่เจ็บและไม่คัน กระจายตัวทั่วร่างกาย อวัยวะเพศ ฝ่ามือฝ่าเท้า นอกจากนี้ยังอาจมีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย ผมร่วง และปวดเมื่อยตามตัว
ในระยะนี้หากตรวจเลือดมักมีผลเลือดเป็นบวก จากนั้นอาการจะค่อยๆ หายไปหรือเป็นๆ หายๆ แม้ไม่ได้รักษา โดยเชื้อจะยังแฝงเร้นในร่างกาย แพร่กระจายได้ง่ายและจะพัฒนาเข้าสู่ระยะแฝง
ระยะที่ 3 ระยะแฝง
ระยะที่ 3 ระยะแฝง (Latent syphilis) ผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการอะไรเลย โดยเชื้อสามารถแฝงเร้นในร่างกายได้หลายปีก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 4 โดยที่ระยะนี้จะยังสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ระยะที่ 4 ระยะสุดท้าย
ซิฟิลิสระยะสุดท้าย (Tertiary syphilis) ผู้ติดเชื้อราว 15-30% ที่ไม่ได้รับการรักษา อย่างเหมาะสมจะมีการดำเนินโรค เข้าสู่ระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้าย
|
เนื่องจากเชื้อได้แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และค่อยๆ ทำลายอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
เช่น ระบบประสาทและสมอง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ตับ ดวงตา กระดูกและข้อต่อที่ทำให้เกิดโรคและความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติในการเคลื่อนไหว ลิ้นหัวใจรั่ว หลอดเลือดแดงใหญ่อักเสบ ภาวะสมองเสื่อม ตาบอด หูหนวก อัมพาต ชัก และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
โดยทั่วไปอาการทั้งหญิงและชายจะคล้ายกันตามระยะ อาการในผู้หญิง เช่น แผลที่อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ปากมดลูก หรือผนังช่องคลอด
อาการซิฟิลิสในผู้ชาย
อาการในเพศชาย จะคล้ายคลึงกับอาการในเพศหญิง บริเวณที่เกิดขึ้นได้ เช่น รอยแผลที่องคชาติ บริเวณรอบถุงอัณฑะ ทวารหนัก ขาหนีบ รวมถึงภายในท่อปัสสาวะ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ :
อาการซิฟิลิส สังเกตอย่างไร
ถือเป็นคำถามซิฟิลิสที่พบบ่อยมากๆ ซึ่งสามารถแพร่จากคนไปสู่คนผ่านการสัมผัสแผลที่เกิดจากโรคโดยตรงบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือภายในช่องปาก
ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก การออรัลเซ็กส์จึงทำให้ติดเชื้อได้
นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดต่อได้ทางสารคัดหลั่งโดยการจูบ หรือสัมผัสแผล ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้ก็สามารถแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ ทำให้เด็กเกิดโรคตั้งแต่กำเนิดได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคซิฟิลิส
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติหากมีความเสี่ยงร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการเบื้องต้นและทำการเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างจากแผลหรือผื่น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่คลินิกรักษาซิฟิลิสใกล้บ้านหรือสถานพยาบาลที่มีมารตรฐานที่รับบริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมยินดีให้บริการผู้ป่วยทุกท่าน ทุกเพศทุกวัย คุณหมอใจดี สามารถนัดหมายก่อนเข้ารับบริการ หรือ walk in ได้เลยค่ะ บริการรวดเร็ว สะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิวนาน ข้อมูลคนไข้เป็นความลับ และพร้อมดูแลด้วยความใส่ใจค่ะ
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- งดมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยง ไม่เปลี่ยนคู่นอน
- งดการจูบปาก หรือการทำออรัลเซ็กส์ให้กับคู่เพศสัมพันธ์ชั่วคราว
- งดการใช้เซ็กส์ทอย / เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ไม่สัมผัสบาดแผลของผู้อื่น
- หากติดเชื้อต้องแจ้งให้คู่รักทราบ เพื่อจะได้ป้องกันได้ทัน
- หญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ และเจาะเลือดตามโปรแกรมฝากครรภ์เพื่อตรวจหาเชื้อ
- ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
บทความที่น่าสนใจ
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีโรคอะไรบ้าง?
- คำถามโรคซิฟิลิสที่พบบ่อย
- อาการซิฟิลิส สังเกตอย่างไร
- รูปภาพโรคซิฟิลิส เป็นแบบไหน ดูเลย!
พญ.วรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 29/03/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com