หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มักเป็นในร่มผ้า อยู่ในจุดที่บอบบางซึ่งอาจสร้างความระคายเคืองได้ และลุกลามไปบริเวณอื่นเป็นรอยโรคที่ใหญ่ขึ้น สตรีที่ตั้งครรภ์แล้วเป็นหูดหงอนไก่สามารถส่งผลกับทารกที่เกิดมาได้โรคนี้เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่นเนื่องจากวัยรุ่นในปัจจุบันนิยมมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง
เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่เกิดอาการ บางคนจึงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วโดยไม่รู้ตัว และถ้าหากเป็นแล้วไม่รีบรักษาจะลุกลามทำให้ยากต่อการรักษา
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหูดหงอนไก่
- หูดหงอนไก่คืออะไร
- สาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่
- อาการของหูดหงอนไก่
- ผลข้างเคียงที่เกิดจากหูดหงอนไก่
- แพทย์วินิจฉัยโรคหูดหงอนไก่ได้อย่างไร
- ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นหูดหงอนไก่
- วิธีการรักษาหูดหงอนไก่
- การป้องกันให้ปลอดภัยจากหูดหงอนไก่
1. เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus)
2. เชื้อไวรัสติดต่อผ่านทางการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังหรือเยื่อบุที่ติดเชื้อ
3. เชื้อไวรัสจะเข้าผ่านทางรอยถลอกขนาดเล็ก (microabrasion) จึงมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยที่ถุงยางไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ทั้งหมด
4. ผู้แพร่เชื้อไม่จำเป็นต้องมีรอยโรค (แต่ในคนที่มีรอยโรคจะมีโอกาสแพร่เชื้อได้มากกว่าเนื่องจากมีปริมาณไวรัสสูงกว่า)
5. ระยะฟักตัวของเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 8 เดือน (เฉลี่ย 2.9 เดือน)
อาการของหูดหงอนไก่
- หูดหงอนไก่เป็นตุ่มหรือแผ่นนูน นิ่มๆ คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพูหรือสีเดียวกับผิวหนัง ยื่นออกมาบริเวณอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียง
- ตำแหน่งที่พบบ่อย (อาจพบได้หลายตำแหน่งพร้อมๆกัน) รอบปากช่องคลอด, ใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ ,บริเวณลำองคชาติที่ขลิบแล้ว ,ปากมดลูก ,ช่องคลอด ,ท่อปัสสาวะ ,ฝีเย็บ ,รอบทวารหนัก ,รูทวารหนัก ,อัณฑะ
- ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการร่วมอื่นๆ * ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของรอยโรค หากมีขนาดใหญ่มากอาจทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง อุดกลั้นท่อปัสสาวะ หรือช่องคลอดได้ รวมไปถึงอาจทำให้เกิดการแผลและติดเชื้อบริเวณเนื้อเยื่อหูดได้
ผลข้างเคียงที่เกิดจากหูดหงอนไก่
แพทย์วินิจฉัยโรคหูดหงอนไก่ได้อย่างไร
- หูดหงอนไก่สามารถวินิจฉัยได้ทันทีจากลักษณะรอยโรค
- การตรวจยืนยันโดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาจะพิจารณาทำในรายที่รอยโรคมีลักษณะที่ไม่จำเพาะต่อหูด เช่น มีสีเข้มผิดปกติ, แข็ง, ติดแน่นกับเนื้อเยื่อด้านล่าง, ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามมาตรฐาน ต้องการแยกจากแผลมะเร็งอื่นๆ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นหูดหงอนไก่
- แจ้งให้คู่นอนทราบเพื่อตรวจสังเกตอาการจากการได้รับเชื้อ HPV *ทั้งนี้คู่นอนอาจไม่มีรอยโรค หรืออาการใดๆก็ได้
- ผู้ป่วยและคู่นอน ควรตรวจคัดกรองการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย
- พบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาหูดหงอนไก่ ตามความเหมาะสม
- ดูแลตนเองเมื่อเป็นหูดหงอนไก่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคให้กับผู้อื่น
วิธีการรักษาหูดหงอนไก่
- ในรายที่มีรอยโรคขนาดเล็กหรือไม่มีอาการ อาจพิจารณาตรวจติดตาม หากยังไม่หายภายใน 1 ปี จึงเริ่มการรักษา
- การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยการผ่าตัด
- อัตราการหายของหูด 35-100% ภายใน 3-15 สัปดาห์
- ผู้ป่วยประมาณ 20-30% จะกลับเป็นซ้ำ (ในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่) ภายใน 2-3 สัปดาห์
- การรักษาหูดอวัยวะเพศไม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในอนาคต ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการรักษา ตรวจติดตามและเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ อาจจะต้องใช้เวลานาน
- การเลือกวิธีการรักษา ขึ้นกับขนาด จำนวน ตำแหน่งของรอยโรค และผลข้างเคียงของการรักษา
- การมีคู่นอนคนเดียว หรือให้น้อยที่สุด
- ถุงยางอนามัยไม่สามารถยับยั้งการแพร่เชื้อ HPV ได้ทั้งหมด เพราะเชื้อสามารถกระจายอยู่ได้ทั่วไป บริเวณฝีเย็บ หัวหน่าว รอบทวารหนักเป็นต้น (ทั้งนี้การสวมใส่ถุงยางอนามัยช่วยลดโอกาสการติดต่อได้มากกว่าการไม่สวมใส่ นอกจากนั้นยังช่วยลดการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้แก่ เชื้อ HIV หนองในแท้ หนองในเทียม และโรคเริม ได้อีกด้วย)
- การขลิบอวัยวะเพศชาย (Male circumcision) ช่วยลดโอกาสการสะสมของเชื้อ HPV ได้
- การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (HPV vaccine)
1. การฉีดวัคซีนจะต้องฉีด 3 เข็ม และควรฉีดก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-26 ปี
2. ฉีดได้ทั้งเพศชาย และหญิง
3. ห้ามฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์
เอกสารอ้างอิง
- หูดอวัยวะเพศ (Anogenital wart), พญ. ปวีณา พังสุวรรณ, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- หูดหงอนไก่…ไม่ถึงตายแต่ทำลายความมั่นใจ, อ.พญ.เจนจิต ฉายะจินดา, ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
บทความที่น่าสนใจ
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีโรคอะไรบ้าง?
- การดูแลตนเองเมื่อเป็นหูดหงอนไก่
- รูปภาพหูดหงอนไก่ ผู้หญิงและผู้ชาย
นายแพทย์จิตรทิวัส อำนวยผล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 04/02/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com