ยาเพร็พ (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นยาป้องกันเชื้อเอซไอวี HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงได้มีแนวทางในการป้องกันตนเองมากยิ่งขึ้น
ใครมีข้อสงสัยเรื่องยา prep วันนี้อินทัชเมดิแคร์รวมข้อควรรู้ วิธีกินยา การหยุดยาและประสิทธิภาพการป้องกัน เพื่อไขข้อสงสัยกัน
ยาเพร็พ (Pre-exposure prophylaxis) คืออะไร
HIV PrEP (Pre-exposure prophylaxis) เรียกว่า ยาเพร็พ เป็นการให้ยาป้องกันเอชไอวี แก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV ก่อนการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากผู้ที่เป็นโรค
ยาที่มีใช้ในไทย ในหนึ่งเม็ดประกอบด้วยยา 2 ตัว คือ Tenofovir (TDF) 300 มิลลิกรัม และ Emtricitabine (FTC) 200 มิลลิกรัม
-
ทั่วโลกมีผู้ใช้เพร็พอยู่ประมาณ 650,000 คน และเป็นที่นิยมอย่างมากในหลายประเทศ เพราะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ดี
-
แต่ในประเทศไทยยังมีผู้ใช้ค่อนข้างน้อยเพียงประมาณ 12,000 คน
PrEP ป้องกัน HIV ได้อย่างไร
เพร็พ มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV จากเพศสัมพันธ์ได้ดี สูงถึง 99% เมื่อทานยาอย่างถูกต้อง
มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติดได้ประมาณ 74%
ดูราคายาเพร็พคลิกที่นี่ได้เลยค่ะ
ใครควรกินยาเพร็พบ้าง
-
ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้ถุงยางอนามัยมากกว่า
-
ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่กำลังฉีดหรือฉีดครั้งสุดท้ายใน 3 เดือน
-
ผู้ที่มาขอทานยาเป็ป (ป้องกันหลังเสี่ยง) บ่อย โดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงได้
-
มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือไม่ทราบว่าคู่ติดเชื้อ HIVหรือไม่ และมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงนี้อีกใน 3 เดือนข้างหน้า
-
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 6 เดือนที่ผ่านมา
-
ไม่มีความเสี่ยงข้างต้นแต่อยากกินยา PrEP สามารถทำได้ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกินยา
ปัจจุบันยังคงมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่จำนวนมากและการติดเชื้อเอชไอวียังไม่สามารถรักษาให้หายขาด การป้องกันตนไม่ให้ติดเชื้อย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการรักษาตัว
เมื่อติดเชื้อหรือเป็นโรค การทานยา prep สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ 100% หากผู้มารับบริการรับประทานทุกวัน และมีวินัยในการรับประทาน
ดังนั้นหากคิดว่าตนเองผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง ก็ควรเข้ารับกเพร็พ เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวี
– แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล (แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ประจำคลินิก) –
ยาเพร็พอันตรายไหม อาการข้างเคียงของ PrEP มีอะไรบ้าง
ก่อนเริ่มกินยาเพร็พต้องทำอย่างไรบ้าง
ก่อนเริ่มกินยาเบื้องต้นผู้รับบริการต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เช่น โรคประจำตัว และต้องตรวจเลือด HIV เพื่อหาเชื้อไวรัส HIV ก่อนเริ่มยาทุกราย , ตรวจค่าไต ก่อนเริ่มยาในบางราย รวมถึงตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้
|
วิธีกินยา PrEP กินยังไง
PrEP สามารถกินได้ 2 รูปแบบ คือ การกินเพร็พแบบทุกวันและการกินเพร็พเฉพาะช่วง โดยจะแนะนำให้กินเพร็พแบบทุกวัน มากกว่าเนื่องจากทำได้ง่ายกว่า
1. การกินเพร็พแบบทุกวัน (Daily PrEP)
-
กินยาเพร็พ วันละ 1 เม็ด ทุกวันในช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
-
ใช้ได้ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และทรานเจนเดอร์
-
เมื่อเริ่มยา ให้ป้องกันการติดเชื้อขณะมีเพศสัมพันธ์ด้วยถุงยางอนามัยใน 7 วันแรกร่วมด้วยเพราะระดับยาจะสามารถป้องกันโรคได้ดีที่สุดเมื่อทานไปแล้ว 7 วัน
2. การกินเพร็พแบบเฉพาะช่วง (On demand PrEP)
-
กินยา 2 เม็ดใน 2-24 ชั่วโมงแรกก่อนมีเพศสัมพันธ์ และกินต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดจนถึง 2 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย
-
แนะนำใช้วิธีนี้แค่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องประสิทธิภาพในผู้ใช้กลุ่มอื่น
ยา prep ซื้อที่ไหน
PrEP ไม่สามารถหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปได้ ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น
ซึ่งก่อนกินยาจะต้องได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ก่อน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรับคำแนะนำในการกินยา เนื่องจากเป็นยาที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ สามารถรับบริการได้ที่คลินิกเอกชนใกล้บ้าน และโรงพยาบาล
ดูราคายา PrEP คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ
|
ต้องกินยา prep นานแค่ไหน หยุดยาได้เมื่อไร
-
สามารถหยุดยาได้เมื่อไม่มีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงแล้วหรือมีผลข้างเคียงมาก และไม่ต้องการทานยาต่อ
-
แนะนำกินยาจนถึง 7 วัน หลังความเสี่ยงครั้งสุดท้ายจึงหยุด และสามารถกลับมาปรึกษาเพื่อกินยาใหม่ได้หากเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงอีกและก่อนหยุดกินทุกครั้งต้องตรวจเลือดเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อทุกครั้ง
ระหว่างกินยาเพร็พต้องทำอย่างไรบ้าง
-
แพทย์จะมีการนัดตรวจติดตามในระหว่างกินยาเพร็พ ทุก 1-3 เดือน เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อไวรัส HIV ให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อ และอาจมีติดตามค่าไต ทุก 3-6 เดือนในบางราย รวมถึงติดตามอาการข้างเคียงที่เกิดได้จากการกินยา
ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ สามารถกินยา PrEP ได้หรือไม่
-
ถ้าหากผู้รับบริการมีคู่เป็นผู้ติดเชื้อ HIV และวางแผนที่จะตั้งครรภ์ การกิน PrEP สามารถป้องกันการติดเชื้อสู่แม่และลูกได้ โดยการกินยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง
ช่วงอายุที่สามารถรับยาเพร็พได้
-
สามารถรับยาได้ทุกช่วงอายุ โดยวัยรุ่นที่มีอายุ 15-18 ปี และน้ำหนักมากกว่า 35 กิโลกรัม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับยา Prep ได้
-
หากอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรับสูตรยาให้เหมาะสม
สามารถกินยาเพร็พ ร่วมกับการใช้ยาคุมกำเนิดได้หรือไม่
-
สามารถใช้เพร็พร่วมกับการคุมกำเนิดได้ ไม่ว่าจะเป็น ยากินคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิด โดยไม่เกิดอันตราย
ถ้ากินยา PrEP สามารถไม่ใส่ถุงยางอนามัยได้หรือไม่
-
การกินยา PrEP ป้องกันเพียงการติดเชื้อไวรัส HIV แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคอื่นๆ และไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้
สามารถรับยาเพร็พได้ที่ไหนบ้าง
-
ยาเพร็พ เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น จึงสามารถติดต่อรับยาได้ที่โรงพยาบาลและคลินิกใกล้บ้านที่มีบริการ
ถึงแม้ว่าการทานยา PrEP หรือยาป้องกันเอชไอวี จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ ควรใช้วิธีทานยาควบคู่กับถุงยางร่วมกัน
เพื่อป้องกันโอกาสในการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และควรมีวินัยทานยา PrEP ให้ตรงเวลาเสมอ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ
เอกสารอ้างอิง
-
Centers for Disease C, Prevention.PREEXPOSURE PROPHYLAXIS FOR THE PREVENTION OF HIV INFECTION IN THE UNITED STATES – 2021 UPDATE,Clinical practice guideline
-
Centers for Disease C, Prevention. Interim guidance for clinicians considering the use of preexposure prophylaxis for the prevention of HIV infection in heterosexually active adults. MMWR Morbidity and mortality weekly report. 2012;61(31):586-9.
-
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกัน การติดเชื้อ HIV ประเทศไทย ปี 2564/2565
-
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการจัดการบริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564
-
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
บทความที่น่าสนใจ
พญ.ณัฐวดี ศรีบริสุทธิ์
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 26/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com