14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เป็นสิ่งที่ทุกบริษัทมักทำก่อนรับพนักงานเริ่มงานใหม่เข้าสู่บริษัทของตัวเอง ซึ่งฝ่ายบุคคลมักจะมีคำถามว่า รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้ มีรายการตรวจอะไรบ้าง ดังนั้นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน และใบรับรองแพทย์ของผู้สมัครงานยืนยันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพพนักงานภายในองค์กรได้

ส่วนตัวผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ก็จะได้ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือมีโรคอะไรบ้าง จะได้รักษาหรือดูแลร่างกายอย่างเหมาะสม และป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ สำหรับใครที่อาจจะยังสงสัยว่ารายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่ให้ตรวจมีอะไรบ้างเรามีคำตอบของเรื่องนี้มาอธิบายให้คุณได้เข้าใจกันมากขึ้นจะได้เตรียมตัวอย่างถูกต้อง สามารถดู เหตุผลที่ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ได้ที่นี่

รายการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้

  1. Physical Examination (ตรวจร่างกายทั่วไป) 
  2. Color Blindness Test (การตรวจตาบอดสี) 
  3. Chest X-ray (ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก) 
  4. Amphetamine (การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ) 
  5. HBsAg (การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี)
  6. Anti-HIV (ตรวจการติดเชื้อ เอช ไอ วี) 
  7. Pregnancy test (การตรวจการตั้งครรภ์) 
  8. ABO Group (การตรวจหมู่เลือด)
  9. CBC (ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด)
  10. Urinalysis (การตรวจปัสสาวะ)
  11. Stool Examination (การตรวจอุจจาระ)
  12. Stool culture (การเพาะเชื้ออุจจาระ)
  13. Creatinine (ระดับการทำงานของไต)
  14. Uric acid (ระดับยูริกในเลือด)

 

รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้

1. Physical Examination (ตรวจร่างกายทั่วไป) 

อับดับ 1 ของรายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้ ได้แก่การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายทั่วไปคือ การซักประวัติคนไข้เช่น “เป็นไข้หวัดบ่อยไหม” “มีอาการผิดปกติอะไรบ้าง” หรือสอบถามความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น

  • สูบบุหรี่กินเหล้า
  • ประวัติครอบครัว
  • กินอาหารหวานหรือเค็ม บ่อยแค่ไหน
  • สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติไหม

หากอธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือการตรวจคัดกรองโดยแพทย์เบื้องต้นนั่นเอง ในช่วงนี้สามารถสอบถามพูดคุยกับแพทย์เบื้องต้นได้ตามต้องการ รายการนี้เป็นอันดับ 1 ของรายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้ 


2. Color Blindness Test (การตรวจตาบอดสี) 

สายตาเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องตรวจก่อนเข้าทำงานเพื่อขอใบรับรองแพทย์ เพราะบางอาชีพหรือสายงานนั้นต้องใช้สายตามากเป็นพิเศษ ซึ่งการตรวจ Color Blindness Test (การตรวจตาบอดสี) นั้นก็เพื่อเป็นการทดสอบความสามารถในการมองเห็นสี มักใช้ในการตรวจคัดกรองตาบอดสีในเด็กและในผู้ที่ต้องประกอบอาชีพที่ต้องมีการมองเห็นสีที่ปกติ


 

รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้

3. Chest X-ray (ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก)

ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน อีกโปรแกรมที่ขาดไม่ได้ก็คือ Chest X-ray (ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก) หรือการตรวจเพื่อค้นหาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอด ตรวจหามะเร็งเริ่มแรกที่ปอด ตรวจหาโรคปอดที่เกิดจากการทำงาน รวมถึงตรวจหาการแพร่กระจายของโรคมาที่ปอด ที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกว่าผู้สมัครงาน แข็งแรงมากน้อยเพียงใด รายการนี้คืออับดับ 2  ของรายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้  


4. Amphetamine (การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ) 

อีกโปรแกรมการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ที่ควรต้องทำก็คือการตรวจ Amphetamine (การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ) เพื่อให้ทราบว่าผู้สมัครงานเป็นผู้เสพสารเสพติดหรือไม่ เพื่อคัดเลือกบุคลากร ไม่ให้เข้าไปสร้างปัญหาให้ภายในองค์กร

สนใจรับบริการทักแชท


5. HBsAg (การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี) 

HBsAg เป็นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี สามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อได้ เช่น การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ การใช้เข็มหรือหลอดฉีดยาร่วมกัน การใช้สิ่งของมีคมร่วมกัน รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่ติดต่อผ่านทางน้ำลาย ยกเว้นแต่ว่า ผู้ที่มีเชื้อมีแผลหรือมีเลือดออกในปาก จะสามารถส่งต่อเชื้อให้แก่ผู้อื่นได้


6. Anti-HIV (ตรวจการติดเชื้อ เอช ไอ วี)

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ที่มีความสำคัญอีกอย่างก็คือ การตรวจ Anti-HIV (ตรวจการติดเชื้อ เอช ไอ วี)  เพื่อให้ทราบว่ามีเชื้อหรือไม่ หากผลเป็นลบ คือยังไม่พบเชื้อ เราก็จะได้รับความรู้ในการป้องกันเอชไอวีรวมทั้งป้องกันโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ ได้ด้วย หากผลเป็นบวกหมายความว่า พบเชื้อเอชไอวี ก็จะยังเจอในปริมาณที่ไม่มาก สามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันที ข้อดีของการตรวจเอชไอวีจึงช่วยลดโอกาสในการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วย รายการนี้คืออับดับ 3 ของรายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้  


รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้

7. Pregnancy test (การตรวจการตั้งครรภ์)

การตรวจการตั้งครรภ์ Pregnancy test ก็คือการตรวจเพื่อให้ทราบว่าตั้งครรภ์หรือไม่ เพื่อวางแผนในการรับบุคคลเข้าทำงาน ซึ่งการตรวจครรภ์นั้นจะแบ่งออกได้สองประเภทคือ ใช้ปัสสาวะกับใช้เลือด ซึ่งทั้งสองวิธีนั้นจะตรวจหาฮอร์ โมนที่อยู่ในร่างกายที่เรียกว่า HCG (human chorionic gonadotropin) ทั้งนี้การตั้งครรภ์ย่อมส่งผลต่อเวลาทำงานเพราะต้องมีการลาคลอดนั่นเอง รายการนี้คืออับดับ 4 ของรายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้  


8. ABO Group (การตรวจหมู่เลือด) 

การตรวจ  ABO Group (การตรวจหมู่เลือด)  เพื่อให้ทราบกรุ๊ปเลือดของผู้สมัครงาน เนื่องจากจะช่วยเวลาเจ็บป่วย ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ในกรณีของการบริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ และในกรณีของผู้ป่วยต้องเข้ารับการเปลี่ยนถ่ายเลือด ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างการผ่าตัดหรือการเข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ

“ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ทราบหรือแจ้งกรุ๊ปเลือดผิด อาจส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วยได้”

นัดหมายบริการทาง facebook


9. CBC (ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด) 

สำหรับการตรวจ CBC นั้นก็เพื่อดูเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ มีภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ หรือภาวะอื่นๆ ที่ดูได้จากความผิดปกติของเม็ดเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น ช่วยให้ผู้สมัครงาน ทราบถึงความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในร่างกาย มีภาวะซีดหรือไม่ มีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด


รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้

10. Urinalysis (การตรวจปัสสาวะ) 

อีกโปรแกรมที่ต้องทำในการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ก็คือการตรวจ Urinalysis ซึ่งเป็นการตรวจปัสสาวะทั้งกายภาพ, เคมี และส่องกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งสามารถตรวจพบภาวะหรือโรคต่างๆ ได้ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ, ทางเดินปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ, โรคไต เป็นต้น โดยการตรวจพบสารต่างๆ ในปัสสาวะสามารถคัดกรองบอกความผิดปกติหรือสภาพร่างกายในเบื้องต้นได้ เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนเริ่มงาน


11. Stool Examination (การตรวจอุจจาระ) 

การตรวจ Stool Examination ก่อนเข้าทำงาน เป็นการตรวจลักษณะทั่วไปของอุจจาระ โปรโตซัว ตรวจหาไข่พยาธิต่างๆ เช่น พยาธิปากขอ, พยาธิใบไม้ในตับ, พยาธิไส้เดือน, พยาธิตัวตืด เป็นต้น รวมถึงเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เป็นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานขั้นพื้นฐานสำหรับผู้สัมผัสอาหารอีกอย่างที่ต้องทำก่อนเริ่มงาน

12. Stool culture (การเพาะเชื้ออุจจาระ)

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ต่อมาก็คือการตรวจ Stool culture หรือ การเพาะเชื้ออุจจาระ เป็นการตรวจสุขภาพ เพื่อหาภาวะที่มีเลือดออกมาปนกับอุจจาระ ซึ่งพบได้ในโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร ริดสีดวงทวาร เป็นต้น


13. Creatinine (ระดับการทำงานของไต) 

ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ผู้สมัครงาน ควรต้องตรวจ Creatinine (ระดับการทำงานของไต) ที่สามารถบ่งชี้การทำงานของไตได้ หากการทำงานของไตเสื่อมสภาพจากภาวะบางอย่าง หรือเป็นนิ่วในไต จะมีส่งผลให้มีอาการ ซีด เพลีย ขาดสมาธิในการทำงาน


14. Uric acid (ระดับยูริกในเลือด) 

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ด้วยโปรแกรม Uric acid เป็นการตรวจสุขภาพ เพื่อให้ทราบถึงภาวะกรดยูริกสูงในร่างกาย ที่อาจก่อให้เกิดโรคเก๊าท์ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลัน

“โดยพบได้บ่อยในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือไขข้ออักเสบ และอาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานได้”

 


ทั้งหมดนี้คือการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ที่สำคัญทั้งกับองค์กรและตัวผู้สมัครเอง เพราะจะช่วยให้ทราบถึงปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานโดยรวม ทั้งนี้แต่ละบริษัทจะขอเอกสารการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันออกไปว่าต้องตรวจอะไรบ้าง จึงควรต้องสอบถามข้อมูลให้ชัดเจน หากคุณคือฝ่ายบุคคลสามารถเข้าดูแนวทางการ 8 แนวทางในการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร ได้ที่นี่

บทความที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (ชุดมาตรฐาน)

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเฉพาะกลุ่ม พนักงานโรงงานทั่วไป, พนักงานห้องอาหาร, พนักงานโรงแรมทั่วไป

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเฉพาะกลุ่ม กลุ่มพนักงานออฟฟิศ, กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ, กลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง, กลุ่มพี่เลี้ยงเด็กและผู้สูงอายุ

แก้ไขล่าสุด : 31/01/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com