ไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากอะไร? รักษาหายไหม ระยะของโรค

ไวรัสตับอักเสบบี  โรคร้ายที่หลายคนมองข้ามและชะล่าใจในการป้องกัน เนื่องจากโรคชนิดนี้แฝงอยู่ไม่ปรากฏอาการ เมื่อติดเชื้อแล้วการรักษาให้หายได้ยาก จนในผู้ป่วยบางรายเป็นโรคเรื้อรังลุกลามเกิดเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้

รู้จักไวรัสตับอักเสบบีให้มากขึ้น ไวรัสนี้คืออะไร เกิดและติดต่อผ่านทางไหน ใครเสี่ยงรับเชื้อ การตรวจและรักษา และวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ได้รับเชื้อ

เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร?

โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ โรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อตับ โดยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งเป็นหลัก (Blood Borne) เมื่อเป็นโรคอาจมีอาการป่วยไม่รุนแรงอยู่สองสามสัปดาห์ หรืออาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยที่รุนแรงตลอดชีวิตได้


ไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุของการเกิดโรคนี้มาจากการที่ร่างกายรับเชื้อไวรัสตับอักเสบีเข้าสู่ร่างกายผ่านทาง เลือด น้ำเหลือง และสารคัดหลั่ง

ติดต่อทางไหน

ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อทางเชื้อผ่านเลือด และสารคัดหลังของผู้มีเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดได้หลายกรณี ได้แก่

  • ติดต่อจากครรภ์มารดาที่เป็นพาหะของโรค
  • ติดต่อผ่านการรับเลือดจากผู้มีเชื้อ
  • ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งไม่ป้องกันยิ่งเสี่ยงสูง
  • การใช้ของส่วนตัวร่วมกัน อาจมีเชื้อปนเปื้อน
  • การสัมผัสโดนเลือด/สารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อ

ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี คลิก

ระยะอาการของโรค

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็ก มักจะเป็นการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ (Subclinical Infection) ซึ่งอาจนำไปสู่ระยะเรื้อรัง ส่วนในผู้ใหญ่จะเริ่มต้นที่อาการของระยะเฉียบพลัน

ระยะเฉียบพลัน (Acute Hepatitis B)

ทำให้เจ็บป่วยในระยะสั้นซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 6 เดือนแรกหลังจากที่ติดเชื้อ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน ระยะก่อนเหลือง

ระยะก่อนเหลือง

เป็นช่วงที่โรคมีการฟักตัว ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้ 2-14 วัน โดยอาการได้แก่

  • วิงเวียนศีรษะ
  • บางคนอาจมีอาการของไข้ต่ำๆ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการปวดตามข้อ
  • เจ็บที่บริเวณชายโครงขวาอยู่บ่อยๆ (จุดของตับ)
  • มีผื่นขึ้นเหมือนกับลมพิษ

ตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน ระยะเหลือง

ระยะเหลือง

เป็นระยะที่เกิดขึ้นต่อจากระยะก่อนเหลือง โดยร่างกายมีการแสดงถึงความผิดปกติของตับอักเสบผู้ป่วยอาจมีอาการตัวและตาเหลือง หรือที่เรียกกันว่า ‘ดีซ่าน’ เนื่องจากร่างกายมี สารบิลิรูบินในเลือดเป็นจำนวนมากทำให้เกิดอาการดังนี้ คือ

  • สีปัสสาวะเข้มขึ้น
  • อุจจาระอาจมีสีซีดล
  • อาจมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
  • ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆด้วย

ทางทีดี่หากพบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อป้องกันอันตราย

ตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน ระยะฟื้นตัว

ระยะหายฟื้นตัว

เป็นช่วงระยะเวลาหลายสัปดาห์หลังจากระยะเหลือง จะเป็นระยะที่เชื้อไวรัสตับอักเสบมีอาการลดลง เป็นช่วงร่างกายเริ่มสามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น

  • สีของอุจจาระและปัสสาวะกลับมามีสีปกติ
  • อาการดีซ่านเริ่มหายไป
  • อาการอื่นๆในระยะเหลืองค่อยๆหายไป

พบแพทย์ใกล้ฉันคลิก

ระยะเรื้อรัง (Chronic Hepatitis B)

เป็นระยะที่ทำให้มีเจ็บการป่วยในระยะที่ยาวนาน ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่อยู่ในร่างกาย ผู้ที่ได้รับเชื้อและเข้าสู่ภาวะของระยะเรื้อรังมักจะไม่แสดงอาการเป็นเวลานาน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการในกรณีที่มีอาการแทรกซ้อน โดยอาการของระยะเรื้อรัง สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 Immune Tolerant Phase

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เป็นเวลานาน 
  • ร่างกายไม่มีการแสดงอาการผิดปกติใดๆ
  • ตรวจพบเชื้อในเลือดและในตับสูง
  • ไม่มีอาการของพังผืดที่ตับและตับอักเสบ เนื่องจากร่างกายยังไม่มีการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อทำลายเชื้อ

ระยะที่ 2 Immune clearance phase (Immune active phase)

  • ร่างกายของผู้ป่วย เริ่มมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดเชื้อ ส่งผลให้เกิดตับอักเสบ
  • เชื้อในเลือดยังอยู่ในปริมาณสูงอยู่
  • อาจมีอาการแสดงหรือไม่มี ต้องหาความผิดปกติผ่านการตรวจเลือด
  • ผู้ป่วยในระยะนี้ที่มีอาการตับอักเสบเป็นเวลานาน อาจมีพังผืดที่ตับ และพัฒนากลายเป็นตับแข็งได้

ระยะที่ 3 Inactive phasee (Non/Low Replicative Phase)

  • ผู้ป่วยที่เข้าสู่ระยะนี้ไว จะมีพังผืดหรือตับอักเสบน้อยมาก
  • ร่างกายไม่มีการแสดงอาการผิดปกติใดๆ
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 2 นาน แม้ตรวจค่าเอนไซม์ตับ (ALT) แล้วปกติ ก็อาจพบพังผืด หรือตับแข็งได้

ระยะที่ 4  Reactive phase

  • ผู้ป่วยระยะนี้ พบได้เพียงร้อยละ 15-30 เท่านั้น
  • อาจมีอาการแสดงหรือไม่มี ต้องหาความผิดปกติผ่านการตรวจเลือด
  • ผู้ป่วยระยะนี้เสี่ยงเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับ 

รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก

ในระยะที่ 2 และ 4 อาจมีอาการแสดงหรือไม่มี อาการที่พบได้ เช่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร เพลีย และผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง อาจเกิดดีซ่านได้เช่นเดียวกับในระยะเฉียบพลัน หากเกิดอาการตามนี้จะมีความลำบากในการแยกอาการ แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่น่าจะได้รับเชื้อ ประวัติการป่วยในครอบครัว การตรวจร่างกายอย่างละเอียด

ผู้ป่วยระยะเรื้อรังส่วนมากมักได้รับเชื้อจากแม่สู่ลูก หากมีอาการดีซ่านและค่าเอนไซม์ตับ (ALT) สูงเหมือนภาวะตับอักเสบบีเฉียบพลันในผู้ใหญ่แล้ว ส่วนใหญ่มักเป็นจาก Flare ของไวรัส ตับอักเสบบีเรื้อรังมากกว่า

ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีใกล้ฉัน คลิก

 

ความอันตรายของระยะนี้คือ การติดเชื้อเป็นเวลานาน
ทำให้เกิดการสะสมของพังผืดที่บริเวณตับ (Liver Fibrosis)

ซึ่งการมีพังผืดจะเพิ่มความเสี่ยง คือ ทำให้ตับได้รับ
ความเสียหาย (ตับแข็ง) เป็นมะเร็งตับ หรือเสียชีวิต 

หากทารกที่มีการรับเชื้อในระหว่างคลอด ทารกนั้นจะมีความเสี่ยงเป็นพาหะเชื้อสูง และค่อยๆลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น และในผู้ได้รับยาที่มีผลข้างเคียงต่อเซลล์ร่างกาย (Cytotoxic Drugs) หรือเป็นโรคเอดส์ ก็มีโอกาสเป็นไวรับตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังได้สูงมากยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยสามารถเป็นโรคในระยะเรื้อรังและยืดเยื้อ คือ ผล HBsAg เป็นบวก แต่ตรวจไม่พบไวรัสในเลือด หรือในกรณีของผู้ป่วย ที่เป็นโรคในชนิดที่เรื้อรังและรุนแรง เชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีการเพิ่มจำนวน และตรวจพบเชื้อในเลือด หากเซลล์ตับนั้นมีการถูกทำลายเป็นจำนวนที่มากขึ้น สามารถทำให้ผู้ป่วยเป็น ตับแข็ง และมะเร็งตับได้

อ้างอิงข้อมูล: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ความรู้เกี่ยวกับโรคตับอักเสบ (Hepatitis)

กลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบบี

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ป้องกัน
  • ผู้มีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนบ่อย
  • ผู้ที่มีการใช้สารเสพติด หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
  • ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกัน 
  • เจ้าหน้าที่ทำงานทางด้านการแพทย์
  • เด็กทารกจากครรภ์มารดาที่เป็นพาหะของโรค
  • ผู้ที่อยู่ร่วมกับคนที่ติดเชื้อ หรือมีการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน
  • นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูง

ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี คลิก

โรคไวรัสตับอักเสบบี รักษาหายไหม

การรักษาให้หายได้ขึ้นอยู่กับกรณีด้วย โดยต้องแยกผู้ป่วยเป็น 3 กรณี คือ

  • กรณีผู้ป่วยเป็นคนร่างกายแข็งแรง ส่งผลให้ร่างกายสามารถต้านเชื้อ และส่งผลให้เชื้อในร่างกายหมดไป จากนั้นเชื้อจะพัฒนากลายเป็นภูมิคุ้มกัน 
  • กรณีผู้ป่วยร่างกายฟื้นตัวไม่ได้ เป็นๆหายๆ มีโอกาสที่จะเข้าสู่ระยะเรื้อรัง กลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับต่อไป 
  • กรณีผู้ป่วยที่อาการหายไป แต่เชื้อยังอยู่ซึ่งกลายเป็น ‘พาหะ’ ของโรค หรือก็คือเป็นโรคนี้ตลอดชีวิต ซึ่งสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนทารกที่เกิดจากครรภ์พาหะตั้งแต่อายุ 1 เดือน

อ่านเพิ่มเติม: วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ฉีด 3 เข็ม ลดความเสี่ยงโรค ราคา

พบแพทย์ใกล้ฉันคลิก

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี

หากอยากทราบว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ สามารถเช็กอาการของตัวเราเองเบื้องต้น เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้มขึ้น หรืออุจจาระสีซีด และเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อหาว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเลือดหรือไม่ ซึ่งจะมีการตรวจหลายวิธี ทั้งนี้วิธีการตรวจจะขึ้นอยู่กับประวัติ อาการ แล้วก็วัตถุประสงค์ของตรวจ การตรวจจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและประเมินสถานะของการติดเชื้อได้อย่างแม่นยำ 

วิธีที่ใช้ในการตรวจหลักๆจะมีด้วยกัน 6 วิธี คือ ตรวจ HBsAg ,Anti-HBs, HBcAb, HBeAg, Anti-HBe และ HBV DNA เป็นต้น นอกจากการนี้แพทย์อาจพิจารณาตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อวางแผนการรักษา, ติดตามในผู้ที่ติดเชื้อด้วย รวมถึงประเมินความเสียหายของตับและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  เช่น การตรวจเอนไซม์ตับ (ALT และ AST), ตรวจค่าบิลิรูบิน และอัลตราซาวด์ เป็นต้น


ตรวจสุขภาพใกล้ฉันคลิกเลย

วิธีการรักษา

การรักษาผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับระยะของอาการป่วย

การรักษาในระยะเฉียบพลัน

จะทำการรักษาโดยการช่วยเพื่อให้อาการของคนไข้ค่อยๆดีขึ้นพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เนื่องจากเป็นกลุ่มร่างกายสามารถต่อสู้กับไวรัสได้เอง โดยสิ่งที่คนไข้ควรปฏิบัติขณะรักษามีดังนี้

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี ระยะเฉียบพลัน

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ตับทำงานหนักขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นตัว และสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้เกิดการขาดน้ำ และการดื่มน้ำยังช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการทานยาที่มีผลต่อตับ หากมีไข้หลีกเลี่ยงการใช้ยา ที่อาจทำให้ตับทำงานหนักขึ้น เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด อย่างยาพาราเซตามอล แนะนำให้เช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลดด้วยน้ำอุ่น หรืออุณหภูมิธรรมดา และควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา

การรักษาในระยะเรื้อรัง

การรักษาในระยะติดเชื้อแบบเรื้อรัง แพทย์จะทำการรักษาไปพร้อมๆกับการให้รับประทายาเพื่อควบคุมเชื้อไวรัสภายในร่างกาย และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

รับประทานยาต้านไวรัส

1. ใช้ยาต้านไวรัส

สำหรับรับประทานเพื่อช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกายและลดการอักเสบของตับ ได้แก่

  • ทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดระดับไวรัส และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • เอนเทคคาเวียร์ (Entecavir) ยาต้านไวรัสที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการลดระดับไวรัสในร่างกาย
  • อินเตอร์เฟอรอน (Interferon) เป็นยาชนิดฉีด เพื่อช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อมาต่อสู้กับไวรัส แต่ยานี้จะมีผลข้างเคียงสูงกว่าชนิดอื่น
การให้ยาต้านไวรัสจะเพื่อช่วยลดความเสี่ยง
ของการเกิดภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับในอนาคต
การพิจารณารักษา ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
ความรุนแรงของการเกิดภาวะตับแข็ง และ
การอักเสบของตับจากการตรวจเลือด 

2. พบแพทย์เพื่อตรวจและติดตามอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อประเมินระดับของไวรัสและการทำงานของตับเป็นประจำ ตามคำแนะนำของแพทย์

3. รักษาสุขภาพให้ดี

โดยเฉพาะรักษาสุขภาพของตับ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อตับ

การรักษาเพิ่มเติม: กรณีที่ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่น ตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับ อาจจำเป็นต้องรักษาและดูแลเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เป็นต้น

การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

การป้องกัน

  1. เพื่อป้องกันการติดเชื้อแนะนำให้ ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  ตั้งแต่วัยทารก เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่นไม่ว่าเป็น ของใช้ส่วนตัว อาหาร หรือเข็มฉีดยา เพราะอาจมีเชื้อปนเปื้อนอยู่ได้
  3. หากคนรัก หรือสามี-ภรรยา คนใดคนหนึ่งเป็น อีกฝ่ายควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน
  4. หลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายสัมผัสถูกสารคัดหลั่ง หรือเลือดของผู้ที่มีเชื้อ เพื่อป้องกันการรับเชื้อ
  5. ตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ 

เอกสารอ้างอิง

  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ความรู้เกี่ยวกับโรคตับอักเสบ (Hepatitis)
  • พญ.ส่องหล้า จิตแสง, การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

บทความที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

แก้ไขล่าสุด : 01/07/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com