เล็บขบ (ingrown toenail) เกิดจากเล็บเจริญแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อที่เท้าเปิดเป็นแผลได้ หากไม่รักษาความสะอาดอาจติดเชื้อได้ พบบ่อยที่สุดบริเวณนิ้วเท้า หากเป็นหนองร่วมด้วยต้องมาพบแพทย์เพื่อรักษาเล็บขบอย่างถูกวิธี
ข้อมูลที่คุณควรรู้
เล็บขบเกิดจากอะไร
-
สวมใส่รองเท้าคับแน่นเกินไป บีบเท้าเกินไป หรือไม่พอดีกับรูปเท้าทำให้เล็บเท้าถูกกด
-
ตัดเล็บเท้าที่ไม่ถูกต้อง ตัดเล็บลึกเกินไป สั้นเข้าเนื้อจนเกินไป และการตัดบริเวณด้านข้างเล็บให้เป็นมุมแหลม
-
รูปร่างเล็บเท้าที่ผิดปกติ นิ้วมาซ้อนเกยหรือเบียดกัน
-
ใช้สารเคมีกับเล็บ เช่น ต่อเล็บ ทาเล็บ อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง บวม อักเสบ
-
มีอุบัติเหตุหรือเกิดการบาดเจ็บบริเวณเล็บนิ้วเท้า เช่น ปลายนิ้วเท้าชนเข้ากับวัถตุบางอย่างบ่อยๆ รวมทั้งนักฟุตบอล นักมวย ที่มักใช้เท้าบ่อยๆ
-
การติดเชื้อบางชนิด เช่น เล็บเป็นเชื้อรา
-
โรคที่ทำให้เกิดอาการเท้าบวมแล้วเกิดเล็บขมเนื้อได้ เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน
-
การไม่ดูแลความสะอาดเล็บ
อ่านเพิ่มเติม : วิธีดูแลเล็บให้มีสุขภาพดีและวิธีตัดเล็บที่ถูกต้อง!
อาการของเล็บขบ
-
เจ็บปวด บวมแดงบริเวณรอบเล็บเท้า
-
กดบริเวณเล็บเท้าแล้วมีเลือดออกหรือน้ำหนองไหล
-
รู้สึกเจ็บเวลาเดิน
อาการแบบไหนต้องมาพบแพทย์
ปกติแล้วหากยังไม่มีอาการรุนแรงสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ที่บ้าน โดยการตัดเล็บที่ขบออกและรักษาความสะอาด
แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น มีหนองไหล ปวดบวมมาก หรือ ลักษณะเล็บฝังลึกเข้าไปในเนื้อมาก ก็ควรรีบไปพบแพทย์
สาเหตุของเล็บขบที่ทำให้เป็นหนอง
-
ปล่อยไว้นาน โดยไม่ดูแลเล็บและไม่ได้รักษา
-
มีภาวะที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณเท้าผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน
เป็นหนองจากอาการเล็กขบ หายเองได้ไหม
เมื่อเป็นเล็บขบจนเป็นหนอง แสดงว่ามีการติดเชื้อแล้ว รอให้หายเองไม่ได้ ควรรีบเข้าพบแพทย์
|
เป็นเล็บขบแล้ว รอกี่วันถึงหาย
ขึ้นอยู่กับอาการและการดูแลรักษา สามารถหายได้ภายในเวลาไม่กี่วัน แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการรุนแรงขึ้นก็อาจกินระยะเวลาไปเป็นเดือนกว่าจะหาย
วิธีบรรเทาเบื้องต้น
-
แช่เท้าในน้ำอุ่น 3-4 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 10-20 นาที เพื่อให้เล็บนิ่มขึ้นเล็บจะได้ไปขบเข้าที่บริเวณที่มีหนังยื่นออกมา
-
ใส่รองเท้าแบบเปิดส่วนนิ้วเท้าจนกว่าอาการจะดีขึ้น
-
เลือกรองเท้าที่ขนาดพอดีกับเท้าของตัวเอง
-
ใช้ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อมีเวลาปวดที่บริเวณเล็บขบ
-
ใช้ผ้าพันแผลพันรอบนิ้วเท้าเพื่อลดการเสียดสี
การรักษาเล็บขบโดยแพทย์
รักษาแบบไม่ผ่าตัด
หากมีอาการของการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฎิชีวนะ หรือใช้ยาต้านเชื้อราหากเกิดจากเชื้อรา ร่วมกับยาแก้ปวด และมีการนัดติดตามอาการ
รักษาแบบผ่าตัด
แพทย์จะพิจารณรักษาโดยการตัดเล็บเท้าออกบางส่วนและการถอดเล็บ
การตัดเล็บเท้าออกบางส่วน : เป็นการผ่าตัดเล็ก โดยแพทย์จะใช้ยาชาเพื่อลดความเจ็บปวด และทำการตัดเล็บขบที่แทงผิวหนังออกบางส่วน ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด โดยเล็บเท้าจะงอกใหม่ในระยะเวลา 2 ถึง 4 เดือน
การถอดเล็บ : ถ้าเล็บขบเป็นหนองที่เดิมซ้ำหลายรอบหรือหนาขึ้น กดลงไปในผิวหนัง ถ้าอาการรุนแรงแพทย์อาจแนะนำการถอดเล็บ โดยใช้ยาชาร่วมด้วยแล้วทำการถอดเล็บและเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกและให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด
“ทั้ง 2 วิธีนี้เมื่อรับการรักษาแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย”
ใครที่มีปัญหาเล็บขบ มีหนอง และอาการรุนแรงมากขึ้น ควรเข้ามาพบแพทย์ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกได้ เพื่อให้แพทย์ประเมินและรักษาให้ถูกวิธี
การปล่อยให้หายเองอาจใช้เวลานาน หรือถ้าหากติดเชื้อแล้วอาการอาจลุกลามทำให้ทรมานและมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันได้ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
พญ.วรางคณา วิวัลย์ศิริกุล
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 03/09/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com