การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในปัจจุบันมีหลายวิธีและมีความแม่นยำแตกต่างกันไป การตรวจ quad test ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม โดยเป็นการตรวจสารชีวเคมีในเลือดของคุณแม่ มีขั้นตอนการตรวจที่ไม่ยุ่งยาก ทันสมัย และมีความแม่นยำถึงร้อยละ 86
“คุณแม่ที่กำลังมองหาคลินิกตรวจคัดกรองดาวน์ซิมโดรมอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนตรวจกับอินทัชเมดิแคร์ได้เลยค่ะ”
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจ Quad Test
Quad test คืออะไร
Quad test คือ วิธีการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์วิธีหนึ่ง Quadrupletest หรือ quad test จะตรวจในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (Second-trimester screening)
ซึ่งจะทำในช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมที่สุดคือช่วง 14-18 สัปดาห์ โดยเป็นการตรวจสารชีวเคมีในเลือด 4 ชนิด
อ่านการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีอื่น : รวมวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้
Quad test ตรวจอะไรบ้าง
ตรวจ Quad test เป็นการตรวจสารชีวเคมีในเลือด 4 ชนิด ได้แก่ Alpha fetoprotein (AFP) , Unconjugated estriol (uE3) , Beta-human chrorionic gonadotropin (free β-hCG) , Dimeric Inhibin- A
|
เพื่อแจ้งความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ว่าทารกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์หรือไม่
ตรวจ Quad Test ช่วงกี่สัปดาห์
การตรวจคัดกรองด้วยวิธี Quadruple test หรือ quad test เป็นการตรวจในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (Second-trimester screening) ทำในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ (เหมาะสมที่สุดคือช่วง 14-18 สัปดาห์)
ราคาตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม Quad Test
ตรวจ quad Test ราคา 2,890 บาท
หมายเหตุ : รวมค่าแพทย์และค่าบริการคลินิกแล้ว
“ตรวจโดยใช้เลือดคุณแม่ ไม่ต้องงดน้ำ-อาหาร สามารถทานได้ตามปกติ สามารถและรู้ผลตรวจภายใน 7 วันค่ะ”
ความแม่นยำของการตรวจ quad test
วิธีตรวจ quad test นี้มีอัตราการตรวจพบ (Detection rate) ร้อยละ 86
ขั้นตอนและวิธีการตรวจ quad test
-
แพทย์จะให้คำปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 18 สัปดาห์ เรื่องการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
-
หากยอมรับการตรวจคัดกรอง จะมีการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) เพื่อยืนยันอายุครรภ์
-
ทำการเจาะเลือดหญิงตั้งครรภ์จากหลอดเลือดดำประมาณ 3 – 5 มิลลิลิตร และนำส่งตรวจกับห้องปฏิบัติการ
การแจ้งผลการตรวจ quad test
โดยทั่วไปแล้วผลการตรวจจะแบ่งออกมาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ตั้งแต่ 1:200 ขึ้นไป และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ น้อยกว่า 1:200
หมายเหตุ : 1:250 เป็นเกณฑ์ที่ใช้เทียบเคียง “ความเสี่ยงสูง” หรือ “ความเสี่ยงต่ำ”
อ้างอิงจาก : กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
ความเสี่ยงต่ํา (Low risk)
-
ถ้าผลการตรวจเลือดแสดงความเสี่ยงน้อยกว่า 1:250 เช่น 1:300, 1:500 แสดงว่าอยู่ใน “กลุ่มความเลี่ยงต่ำ” มีโอกาสน้อยที่ทารกในครรภ์จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์
-
มีความจำเป็นน้อยที่ต้องตรวจยืนยันต่อด้วยการ วินิจฉัยก่อนคลอด (Prenatal diagnosis : PND)
-
การพบความเสี่ยงต่ำไม่ได้หมายถึงทารกในครรภ์จะปกติ เพราะยังสามารถพบกลุ่มอาการดาวน์ได้ในหญิงตั้งครรภ์บางราย
ความเสี่ยงสูง (High risk)
-
ถ้าผลการตรวจเลือดแสดงความเสี่ยงเท่ากับหรือมากกว่า 1:250 เช่น 1:200, 1:100 แสดงว่าอยู่ใน “กลุ่มความเสี่ยงสูง” มีโอกาสสูงที่ทารกในครรภ์จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์
-
หญิงตั้งครรภ์จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจยืนยัน ต่อด้วยการวินิจฉัยก่อนคลอด (Prenatal diagnosis PND) เช่น การเจาะน้ําคร่ํา(Amniocentesis)
- การพบความเสี่ยงสูงไม่จำเป็นเสมอไปที่ทารกในครรภ์จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจ quad test
quad test รู้เพศไหม
-
การตรวจ quad test จะไม่ทราบเพศ เนื่องจากเป็นเพียงการตรวจสารชีวเคมีในเลือด
NIPT กับ Quad test ตรวจคัดกรองแบบไหนดีกว่า
-
การตรวจ NIPT (Non invasive prenatal test) หรือ Nifty ดีกว่า เนื่องจากเป็นการตรวจเลือดสตรีตั้งครรภ์เพื่อตรวจชิ้นส่วนพันธุกรรมของรก ที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดแม่ นำไปตรวจพิเศษ ทางห้องปฏิบัติการแล้วเทียบเคียงเป็นจำนวนโครโมโซมทารกได้ เป็นเทคนิคการตรวจที่พัฒนาใหม่กว่าวิธีอื่น
อ่านบทความเพิ่มเติม : ตรวจนิฟตี้ NIFTY Test |
Quad test ทำตอนไหน
-
ตรวจ quad test ควรตรวจไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (Second-trimester screening) อายุครรภ์ 14 – 18 สัปดาห์
สำหรับคุณแม่ที่อยากตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของลูกน้อยในครรภ์เพื่อความอุ่นใจ ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันได้ทันเมื่อพบความผิดปกติ
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเข้ามาที่อินทัชเมดิแคร์ได้ทุกช่องทางเลยค่ะ เจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำก่อนเข้ารับบริการ
ค้นหาบริการตรวจ quad test ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกของเรา บน google ได้โดยค้นหาคำว่า ตรวจ quad Test คลินิกใกล้ฉัน ได้เลยค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
พญ.สุพรรษา เหนียวบุบผา
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 18/01/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com