ท้องเสีย หน้ามืด อ่อนเพลีย ให้น้ำเกลือ ที่คลินิก Intravenous therapy (IV Fluids)

เมื่ออ่อนเพลียหรือท้องเสีย เรามักจะคุ้นเคยกับการไปหาหมอ แล้วหมอให้น้ำเกลือ แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะได้รับการรักษาเช่นนี้ เนื่องจากว่าการให้น้ำเกลือจะอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น เพราะในน้ำเกลือมีส่วนผสมของสารหลายอย่างที่เฉพาะทางการแพทย์ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน  รวมทั้งผู้ป่วยแต่ละคนมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเกลือแตกต่างกัน

และที่สำคัญการได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจส่งผลเสียตามมาได้ แพทย์จะพิจารณาจะให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับเท่านั้น

เรื่องที่ควรรู้เรื่องการให้น้ำเกลือ

  1. น้ำเกลือ คืออะไร

  2. ทำไมต้องให้น้ำเกลือ

  3. ชนิดของน้ำเกลือที่นิยมในการให้น้ำเกลือ

  4. วิธีการให้น้ำเกลือหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

  5. ผู้ป่วยที่ต้องให้น้ำเกลือหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

  6. ประโยชน์ของการให้น้ำเกลือ

  7. หมอจะให้น้ำเกลือในกรณีใดบ้าง

  8. ข้อควรระวังการให้น้ำเกลือ

  9. ผลข้างเคียงของการให้น้ำเกลือ

  10. ค่าใช้จ่ายบริการให้น้ำเกลือที่คลินิก ราคาเท่าไร 

น้ำเกลือ

น้ำเกลือ คืออะไร

น้ำเกลือ คือ สารละลายที่มีองค์ประกอบเกลือแร่ต่างๆ โซเดียมคลอไรด์  (Sodium chloride) ไบคาร์บอนเนต (Bicarbonate) ฟอสเฟต  (Phosphate) หรือบางชนิดก็มี โพแทสเซียม (Potassium) มีน้ำตาล ในปริมาณสัดส่วนต่างๆกัน ขึ้นกับชนิดของน้ำเกลือ

 

ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทางการแพทย์ เช่น ทำความสะอาดบาดแผล  ให้ความชุ่มชื้นกับตา ช่วยในการเอาเลนส์สัมผัสออกจากตา สามารถให้ทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำหรือที่เราคุ้นเคยกับคำว่า “ให้น้ำเกลือ” นั่นเอง

ทำไมต้องให้น้ำเกลือ

การให้น้ำเกลือเป็นการช่วยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงได้  ซึ่งน้ำเกลือสามารถทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไปได้อย่างรวดเร็วหรือช่วยชดเชยพลังงานเวลาที่ผู้ป่วยอ่อนเพลียได้  เพราะน้ำเกลือมีระดับความเข้มข้นเท่ากับที่ร่างกายต้องการ

 

นอกจากนี้ยังอาจใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ตามปกติอีกด้วยรวมทั้งในกรณีอื่นๆ เช่น ให้น้ำเกลือก่อนและหลังการผ่านตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

ชนิดของน้ำเกลือที่นิยมในการให้น้ำเกลือ

ชนิดของน้ำเกลือที่นิยมในการให้น้ำเกลือ

  1. นอร์มัลซาไลน์ (Normal saline solution/NSS) หมายถึง น้ำเกลือเกลือธรรมดาที่มีความเข็มข้น 0.9% ซึ่งเท่ากับกับความเข้มข้นของเกลือในกระแสเลือดของคนปกติ มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

  2. 5% เดกซ์โทรส ( 5% Dextrose in water หรือ 5%D/W) หมายถึงน้ำตาลเดกซ์โทรสที่มีความเข้นข้น 5% ไม่มีเกลือแร่ผสม มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

  3. 5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS หรือ 5% D/NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรส เข้มข้น 5% ผสมกับน้ำเกลือธรรมดา

  4. 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5 % ผสมกับน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% (เข้มข้นเพียง 1/3 ของน้ำเกลือธรรมดา) มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

การให้น้ำเกลือแต่ละชนิดกับผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี

วิธีการให้น้ำเกลือหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

  1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการให้น้ำเกลือผู้ป่วย ตรวจสอบป้ายข้อมือ ทวนชื่อ-สกุล ผู้ป่วยก่อนการให้น้ำเกลือ

  2. เลือกตำแหน่งหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็มให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย เลือกตำแหน่งแทงเข็มบริเวณหลอดเลือดดำหลังมือและแขน ทั้ง metacarpal, cephalic, และ basilic veins

  3. รัดสายรัด (Tourniquet) เหนือตำแหน่งที่จะแทงเข็ม  จากนั้นเช็ดบริเวณที่จะแทงเข็มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ด้วยน้ำยาทำลายเชื้อรอให้แท้ง ได้แก่ 70% alcohol ทิ้งไว้ให้แห้งหรืออย่างน้อย15 วินาที่ หรือ โพวิโดน-ไอโอดีน (Povidone-iodine) อย่างน้อย 2 นาที หรือ 2% Chlorhexidine gluconate in alcohol อย่างน้อย 30 วินาที

  4. แทงเข็มให้น้ำเกลือ (IV Catheter)  โดยให้เข็มอยู่ในแนว 30 องศา กับผิวหนังที่จะแทง ดันเข็มให้น้ำเกลือ เข้าหลอดเลือดดำอย่างระมัดระวัง และเบามือเมื่อเห็นเลือดย้อนขึ้นมาให้ดึงแกนนำร่อง (stylet)  ออกและต่อชุดให้น้ำเกลือ (Set IV Fluid) เข้ากับเข็มให้น้ำเกลือข้อต่อให้แน่น แล้วทดสอบการไหลของสารน้ำ

  5. ปิดทับด้วยแผ่นฟิล์มใสปิดแผลกันน้ำ (Transparent film) และปิดพลาสเตอร์ทับสายให้น้ำเกลือโดยให้สามารถเห็นบริเวณที่แทงเข็มที่ปิดด้วยแผ่นฟิล์มใสปิดแผลกันน้ำ เพื่อสามารถสังเกตหลอดเลือดดำ (Phlebitis) หรือการรั่ว (Extravasation) ได้ง่าย กรณีที่ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมาก หรือมีเลือดซึมบริเวณที่แทงเข็ม ให้ใช้ก๊อซปราศจากเชื้อปิดตำแหน่งที่แทงเข็ม

  6. ปรับจำนวนหยดตามแผนการรักษา เก็บอุปกรณ์ ถอดถุงมือและทำความสะอาดมือ

ผู้ป่วยที่ต้องให้น้ำเกลือ

ป่วยที่ต้องให้น้ำเกลือหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

1.ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ หรือกินข้าวและน้ำไม่ได้นาน ๆ ควรให้น้ำเกลือ เพื่อเป็นการรักษาระดับและทดแทนน้ำ เกลือแร่ วิตามิน โปรตีน ไนโตรเจน และพลังงาน

2.ผู้ป่วยที่มีภาวะไม่สมดุลของกรด-ด่าง

3.ผู้ป่วยที่สูญเสียน้ำและเกลือแร่ปริมาณมากๆ รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์  (Electrolyte)

4.ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับเลือดหรือรับการผ่าตัด เพราะต้องอดอาหารและน้ำก่อนและหลังผ่าตัด

5.ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาทางหลอดเลือดดำ

6.ผู้ป่วยที่ขาดน้ำ ท้องเดิน อาเจียนรุนแรง

7.ผู้ป่วยที่น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เนื่องจากอดอาหารนาน ๆ ดื่มเหล้าจัด ผู้ที่ใช้ยารักษาเบาหวานเกินขนาด

ประโยชน์ของการให้น้ำเกลือ 

  1. ทดแทนสารน้ำในร่างกายผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว

  2. การให้น้ำเกลือจะสามารถทดแทนเกลือแร่ในร่างกายที่สูญเสียไปได้อย่างรวดเร็ว

  3. เพื่อเป็นการทดแทนน้ำตาลในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลต่ำได้อย่างรวดเร็ว

  4. ช่วยให้การรักษาอื่นๆเป็นไปได้สะดวก เช่น ให้น้ำเกลือช้าๆ คากับหลอดเลือดดำในคนที่ต้องฉีดยาวันละหลายๆครั้ง

หมอจะให้น้ำเกลือในกรณีใดบ้าง

  1. ร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำ/กำลังสูญเสียน้ำ

  2. มีการสูญเสียเกลือแร่จากอาการป่วยที่ต้องการการทดแทนโดยเร็ว

  3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอได้เอง รวมทั้งในกรณีที่จำเป็นจะต้องงดน้ำงดอาการทางปาก

  4. ความดันโลหิตต่ำจากสภาวะขาดน้ำ

  5. เกลือแร่บางชนิดในร่างกายผิดปกติ

  6. ผู้ที่มีระดับน้ำตาลให้เลือดต่ำ

  7. ใช้ร่วมกับการรักษาอื่น เช่น ร่วมกับการให้ยาปฎิชีวนะ

ข้อควรระวังการให้น้ำเกลือ

ข้อควรระวังการให้น้ำเกลือ

1. เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่นัดก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนข้างที่ถนัดทำกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง

2. ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็ม เช่น ไม่มีบาดแผล หรือแผลไหม้ที่ทำให้หลอดเลือดถูกทำลาย รวมทั้งได้รับการผ่าตัด ห้ามเจาะเลือดแขนข้างนั้นเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและการรัดสาย Tourniguet จะขัดขวางระบบไหลเวียนแขนอาจบวมได้

3. ไม่ควรใช้ Antecubital vein ถ้ายังมีหลอดเลือดอื่นที่พอจะหาได้เพราะการงอแขนของผู้ป่วยจะทำให้เข็มให้น้ำเกลือเลื่อน

4. ไม่ควรใช้หลอดเลือดที่ขาเนื่องจากอาจเกิดอันตรายการไหลเวียนของเลือดไม่ดีได้ง่าย

5. ไม่ใช้หลอดเลือดดำบริเวณที่ได้รับการผ่าตัด เนื่องจากบริเวณนี้หลอดเลือดดำถูกรบกวนจากการได้รับการผ่าตัด

ผู้ป่วย ให้น้ำเกลือ

6.กรณีให้น้ำเกลือในทารกแรกเกิด ให้แทงเข็มบริเวณ Scalp vein เนื่องจากเห็นชัด ตำแหน่งของเข็มเลื่อนหลุดได้ยากกว่าเมื่อทารกดิ้น

7. คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้น้ำ สารน้ำชนิด Hypertonic เนื่องจากสารน้ำมีความเข้มช้นของสารละลายสูง และมีความหนืดควรเลือกหลอดเลือดเส้นใหญ่ในการให้สารน้ำ

8. ผู้ป่วยที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ เช่น ยาปฏิชีวนะ โพแทสเซียมคลอไรด์อาจมีการระคายเคืองและปวด บริเวณหลอดเลือด

9. ควรเปลี่ยนตำแหน่งหลอดเลือดทุก 72-96 ชม. การแทงเข็มให้เริ่มจากตำแหน่งส่วนปลายของหลอดเลือดเข้าหาส่วนต้นในทิศทางเข้าหาหัวใจ

10. ในผู้ป่วยที่มีคำสั่งการรักษาต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาหลายวัน ควรเลือกเข็มเบอร์เล็ก ความยาว สั้น ให้เหมาะสม

11. หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับเพราะจะทำให้เข็มเคลื่อนไปมา ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด

ผลข้างเคียง ให้น้ำเกลือ

ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนของการให้น้ำเกลือ

  1. หากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้น้ำเกลือและน้ำยาที่ใช้ไม่สะอาด หรือเทคนิคการให้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้

  2. หากเกิดฟองอากาศ เพราะไล่อากาศจากสายน้ำเกลือไม่หมด ฟองอากาศจะเข้าไปในหลอดเลือดดำ และเข้าสู่หัวใจอาจเป็นอันตรายได้

  3. มีอาการไข้และหนาวสั่น ปวดศีรษะและปวดเมื่อย ตามตัว จากการแพ้น้ำเกลือ

  4. หากให้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าความเข้มข้นของเกลือในเลือด อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก

  5. ถ้าให้น้ำเกลือมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้มีอาการบวม มีน้ำคั่งในปอด หรือหัวใจวายถึงตายได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตอยู่ก่อน

ให้น้ำเกลือผู้ป่วย

ค่าใช้จ่ายบริการให้น้ำเกลือที่คลินิก ราคาเท่าไร

อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมบริการ ให้น้ำเกลือที่คลินิก ราคาเริ่มต้น 1,900 บาท 

หมายเหตุ
1. ราคานี้ยังไม่ร่วมค่ายา 
2. การให้น้ำเกลือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ตามความเหมาะสม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก

    

 @qns9056c

 อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

แก้ไขล่าสุด : 03/09/2024

อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com