งานในที่อับอากาศเป็นงานที่มีความเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมในที่อับอากาศมีลักษณะเฉพาะที่เป็นอันตรายหลายประการ
เช่น ระดับออกซิเจนใน อากาศที่ต่ำหรือสูงเกินกว่าภาวะปกติ ช่องทางที่ยากแก่การเข้าออกของคนทำงาน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็เข้าไปช่วยเหลือได้ยาก ทำให้การเข้าไปทำงานจะต้องใช้ความระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเครีงครัด
การตรวจสุขภาพคนทำงานที่อับอากาศ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดโอกาสการสูญเสียชีวิต และเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศลงได้ |
เรื่องที่ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศควรรู้
- ตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศคืออะไร
- นิยามของที่อับอากาศ
- พื้นที่เสี่ยงภาวะอับอากาศ
- อันตรายจากการทํางานในที่อับอากาศ
- ความถี่ในการเข้ารับการตรวจสุขภาพ
- ตรวจสุขภาพทํางานที่อับอากาศต้องตรวจหาอะไรบ้าง
ตรวจสุขภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศคืออะไร
ตรวจสุขภาพทํางานในที่อับอากาศ คือ การตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อับอากาศเพื่อใบรับรองแพทย์อับอากาศ ทั้งการทำงานแบบประจำและชั่วคราว เพื่อให้ทราบถึงความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายและความพร้อมของจิตใจในการทำงาน ส่งผลเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและประสิทธิภาพของการงานออกมาเหมาะสมตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะของงานในแต่ละสาขาอาชีพนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งอันตรายต่าง ๆ ระหว่างการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากขาดการป้องกันที่ดีพอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากหน้างาน หรือแม้กระทั่งปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเอง จึงทำให้ทุกอาชีพควรต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ยิ่งถ้าหากเป็นคนต้องทำงานในสถานที่อับอากาศ พื้นที่จำกัด คับแคบ หรือสภาพอากาศไม่เป็นใจ
นิยามของที่อับอากาศ
ตามกฎกระทรวงแรงงาน นิยามคำว่า สถานที่อับอากาศ (Confined Space) หมายถึง สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในการทำงานที่เป็นอันตรายกับร่างกาย เช่น ท่อ, เตา, ถังไซโล, อุโมงค์, หลุม, บ่อ, ห้องใต้ดิน, ห้องนิรภัย, หรืออื่นใดก็ตามที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ เป็นแหล่งสะสมของสารพิษ สารไวไฟที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องสูดดมเข้าไป
ส่วนคำว่าสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศอันตราย หมายถึง มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่า 23.5 โดยปริมาตร หรือมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟและระเบิดได้มากกว่าปริมาณที่กำหนด ทั้งนี้นายจ้างจะต้องทำการตรวจสุขภาพในสถานที่อับอากาศให้กับลูกจ้างที่ทำงานด้านนี้ทุกคนก่อนเริ่มงาน คล้ายเป็นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อยืนยันว่าพนักงานไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรืออื่นใดก็ตามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเมื่อมีการทำงานในสถานที่อับอากาศ
พื้นที่เสี่ยงภาวะอับอากาศ
พื้นที่อับอากาศที่เสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ อุโมงค์ ถ้ำ บ่อพักน้ำเสีย บ่อเก็บก๊าซชีวภาพ บ่อฝึกงานเชื่อมใต้น้ำ บ่อบาดาล หลุม ห้องหรือสถานีใต้ดิน ห้องนิรภัย โรงไฟฟ้า ถังน้ำมัน ถังหมัก ถังไซโล ท่อ เตา ภาชนะ รวมไปถึงห้องเก็บปลาใต้ท้องเรือและโรงเห็ด เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ส่วนใหญ่มักทำให้ผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิตมากกว่าเจ็บป่วย
อย่างเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2550 สำนักระบาดวิทยารายงานการเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ เพิ่มอีก 2 เหตุการณ์ ที่จังหวัดภูเก็ตและสตูล ผู้ประสบเหตุเป็นชาวประมงที่เข้าไปชนปลาในห้องใต้ท้องเรือ รวมเป็นจำนวน 16 ราย เสียชีวิต 6 ราย และเจ็บป่วย 10 ราย
ข้อมูลจาก : มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2561. (แสงโฉม เกิดคล้าย. โรคพิษจากก๊าซและการขาดอากาศหายใจ – สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2550.นนทบุรี: สำนักระบาตวิทยา กรมควบคุบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2550.)
อันตรายจากการทํางานในที่อับอากาศ
ที่อับอากาศเป็นที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเทน้อย ทำให้เกิดอันตรายต่างๆ เช่น ขาดออกซิเจน, การสะสมของก๊าซพิษ, การขาดแสงสว่าง, อุณหภูมิสูง, และความเสี่ยงจากการติดเชื้อหรือสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวที่จำกัดยังเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม : อันตรายจากที่อับอากาศและโรคจากภาวะอับอากาศ
ตรวจสุขภาพทํางานที่อับอากาศต้องตรวจหาอะไรบ้าง
สอบถามข้อมูลสุขภาพ
- โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
- โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและหลอดเลือดหัวใจ
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- โรคหัวใจโต
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคหอบหืด
- โรคปอด
- โรคลมชัก
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- โรคเกี่ยวกับข้ออักเสบ
- ความผิดปกติของกระดูกและข้อ
- โรคกลัวที่แคบ
- โรคทางจิตเวช
- โรคเบาหวาน
- ภาวะเลือดออกง่าย
- โรคไส้เลื่อน
- ตั้งครรภ์อยู่หรือไม่
- ครั้งสุดท้ายที่เป็นประจำเดือน
ตรวจร่างกายและค้นหาความเสี่ยง
- ดัชนีมวลกาย
- ความดันโลหิต
- อัตราเร็วชีพจร
- การมองเห็นระยะไกล
- การได้ยินเสียงพูด
ตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และตรวจเลือด
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- เอ็กซ์เรย์ทรวงอก
- ตรวจสมรรถภาพของปอด
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- ตรวจการตั้งครรภ์
ความถี่ในการเข้ารับการตรวจสุขภาพ
ตรวจสุขภาพทํางานที่อับอากาศหรือตรวจประเมินสุขภาพอย่างน้อยทุก 1 ปี แต่หากเป็นผู้ที่แพทย์เห็นว่ามีความเสี่ยงสูง และอาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงแย่ลงได้เมื่อเวลาผ่านไป อาจแนะนําให้คนทํางานนั้นมาตรวจประเมินสุขภาพถี่บ่อยขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคนทํางานผู้นั้นเองได้
การตรวจประเมินสุขภาพของคน ทำงานก่อนเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และทำด้วยความละเอียดถี่ถ้วน |
บทความที่น่าสนใจ
- ตรวจสุขภาพเพื่อขอใบรับรองแพทย์ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
- ภัยร้ายและโรคอันตรายจากที่อับอากาศ พร้อมวิธีป้องกัน!
- 8 อาชีพเสี่ยงที่ควรตรวจสุขภาพก่อนทำงานพื้นที่อับอากาศ
นายอัชวินทร์ ธรรมสุนธร
ผู้จัดการทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 11/09/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com