หลายคนมักเข้าใจผิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณได้รับเชื้อ HIV คือคนที่เป็นโรคเอดส์ จริงๆ แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อเชื้อ HIV ไม่ว่าจะได้รับเชื้อจากแม่สู่ลูก การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อ ระยะแรกจะยังไม่เป็นโรคเอดส์จนโรคดำเนินไปถึงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จึงจะเรียกว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ ในปัจจุบันเป็นมียาป้องกันเชื้อเอซไอวี HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ นั้นก็คือ ยาเพร็พ prep (Pre-Exposure Prophylaxis) ที่สำคัญที่สุดการทานยาเพร็พต้องมีวินัย กินยาให้ตรงเวลาและไม่ควรลืมเด็ดขาด
การติดเชื้อไวรัส HIV อันตรายอย่างไร
โรคติดเชื้อไวรัส HIV เป็นโรคติดต่อที่สำคัญและอันตรายมาก โดยที่ตัวไวรัสจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อฉวยโอกาสที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา
ความสำคัญของโรคนี้คือในผู้ติดเชื้อช่วงแรกจะยังไม่มีอาการชัดเจน จึงทำให้ผู้ป่วยจะยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ แต่สามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆได้ ผ่านทางเพศสัมพันธ์และเลือดเป็นหลัก และส่งผลทำให้ได้รับการรักษาล่าช้าด้วย
เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้จากอะไรบ้าง
1. การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
2. ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV
3. การสัมผัสเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อ HIV
4. การติดต่อจากแม่สู่ลูก
5. การรับโลหิตบริจาคที่มีเชื้อ HIV ปนเปื้อน
ระยะการติดเชื้อ HIV
1. ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน ในช่วงแรกที่ติดเชื้อปริมาณไม่มาก ซึ่งอาจเป็นช่วงตั้งแต่ 2-12 สัปดาห์ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
2. ระยะไม่ปรากฏอาการ แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เรียกว่าเป็นพาหะจะแบ่งตัวเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ และทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
3. ระยะมีอาการ ระยะแรกจะแสดงอาการเล็กน้อย และระยะที่สองจะแสดงอาการปานกลาง
4. ระยะเอดส์ ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของผู้ป่วยเสื่อมเต็มที่ ถ้าตรวจระดับ CD4 จะพบว่ามักมีจำนวนต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร เป็นผลทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว วัณโรค ฉวยโอกาสเข้ารุมเร้าเรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส
พฤติกรรมเสี่ยงเมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV
1. ใช้ของร่วมกัน เช่น มีดโกน กรรไกลตัดเล็บ แปรงสีฟัน
2. ควรล้างมือบ่อยๆ เช่น ก่อนและหลังรับประทานอาหาร การเข้าห้องน้ำ
3. บุคคลในบ้านป่วย เช่น เป็นไข้หวัด หัด หัดเยอรมัน สุกใส แล้วไม่แยกจากผู้ติดเชื้อ
4. การมีเพศสัมพันธ์ เช่น ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งระมัดระวังในการแพร่เชื้อ
5. บุคคลในบ้านควรฉีดวัคซีน เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด คอตีบ ไอกรน
การรักษาโรค HIV
1. ยาต้านไวรัส (ARV; antiretroviral therapy) ซึ่งมีฤิทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวและลดจำนวนของเชื้อเอชไอวี ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
2. การรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ให้ยารักษาวัณโรค ยาปฏิชีวนะรักษาปอดอักเสบ ยารักษาเชื้อราต้านไวรัส ยารักษาโรคเริม
บทความที่น่าสนใจ
- สาธิตวิธีการใช้ Strip Anti HIV แบบ One Step Test
- สาธิตวิธีการใช้ชุดตรวจ HAV IgMIgG Test
- สาธิตวิธีการใช้ Strip HBsAg แบบ One Step Test
- สาธิตวิธีการใช้ Strip Anti TP (VDRL) แบบ One Step Test
- สาธิตวิธีการใช้ Strip Anti HCV แบบ One Step Test
นายอัชวิน ธรรมสุนทร
ผู้จัดการทั่วไป
แก้ไขล่าสุด : 23/04/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com