การเตรียมตัวเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
การเตรียมตัวเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน กับอินทัชเมดิแคร์แม้จะไม่ยุ่งยากแต่ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประสงค์จะเข้ารับบริการตรวจสุขภาพไม่ควรละเลย เนื่องจากอาจส่งผลต่อการแสดงผลการตรวจที่คาดเคลื่อนหรือมีปัญหา ดังนั้น เพื่อให้ผลการตรวจสามารถแสดงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสที่องค์กรจะพิจารณาให้คุณผ่านไปจนถึงขั้นเซ็นสัญญารับคุณเข้าทำงาน จึงควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นเรามาไล่ดูกันทีละอย่างเพื่อจะได้เตรียมตัวได้อย่างถูกต้อง
8 วิธีเตรียมตัวเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน กับอินทัชเมดิแคร์
1) ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
ปกติการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน หากเป็นการตรวจเลือดเช่น ระดับน้ำตาลในเลือด หรือ ไขมันในเลือด จำเป็นที่จะต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก็สามารถตรวจได้ (ทั้งนี้ขึ้นกับโปรแกรมตรวจ)
2) งดทานอาหารแสลง
คงเคยสงสัยกันใช่ไหมว่า ก่อนตรวจสุขภาพ ห้ามกินอะไร กินอะไรได้บ้าง ก่อนที่จะเข้ามาตรวจสุขภาพ แนะนำให้งดของมึนเมา อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เครื่องดื่มมีคาเฟอีน อย่างน้อย 24 – 48 ชั่วโมง เนื่องจากอาหารแสลงที่เราทานเข้าสู่ร่างกายนั้นมีผลต่อการตรวจสูง อาจทำให้ผลตรวจที่ได้ออกมาคาดเคลื่อนจากเดิม ถึงแม้ว่าจะสามารถทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่ควรงดอาหารบางชนิดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การตรวจที่ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
3) เช็คความพร้อมของร่างกาย (สำหรับผู้หญิง)
ในกรณีวันตรวจตรงกับช่วงที่ประจำเดือน สามารถที่จะโทรติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อขอเลื่อนวันออกไปได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจช่วงระหว่างก่อนมีประจำเดือนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน จะดีที่สุด การที่ตรวจช่วงมีประจำเดือน อาจส่งผลต่อผลปัสสาวะได้นั้นเอง
4) กรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่องดตรวจเอ็กซเรย์
ต้องแจ้งให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ก่อนเอกซ์เรย์ “ทุกครั้ง” และไม่ควรเอกซ์เรย์ในช่วงอายุครรภ์ 10 – 17 สัปดาห์ เพราะรังสีจะส่งผลต่อระบบประสาทของทารกในครรภ์ ผลที่จะเกิดกับลูกในครรภ์ ถ้าได้รับรังสีมากเกินไปคือ การแท้งบุตร เด็กในครรภ์เติบโตช้า อวัยวะต่างๆพิการแต่กำเนิด ศีรษะเล็กกว่าปกติ ปัญญาอ่อน และเป็นมะเร็ง
5) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ในการเตรียมตัวตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน การนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อการตรวจในหลายด้านด้วยกัน อาทิ ค่าความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจ, อุณหภูมิร่างกาย และอื่นๆ ซึ่งหากพักผ่อนไม่เพียงพอ ค่าที่ได้อาจแย่กว่าปกติหรือมีปัญหาได้ โดยที่ไม่สามารถประเมินได้ชัดเจนว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายจริงๆ หรือเป็นเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอกันแน่ จึงขอแนะนำว่าคืนก่อนที่จะเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานควรที่จะนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
6) สวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการตรวจ
ในวันตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการตรวจสุขภาพ อย่างเสื้อที่ไม่รัดรูป แขนอยู่เหนือข้อพับแขน จะช่วยให้การตรวจวัดความดันหรือเจาะเลือดทำได้ง่ายขึ้น รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับประเภทโลหะ ที่อาจส่งผลต่อการเอกซเรย์ สำหรับผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงการใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็กในวันนัดตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน
7) เตรียมข้อมูลที่ต้องแจ้งแก่แพทย์
เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสุขภาพ การใส่ข้อมูลลงในเอกสารสุขภาพควรเตรียมข้อมูลที่ต้องแจ้งแก่แพทย์ที่ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานให้คุณ เช่น โรคประจำตัว ยา อาหารเสริม สงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ประเภทงานที่กำลังจะเข้าทำงาน ฯลฯ นอกจากนี้ หากมีผลการตรวจหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ ที่แสดงถึงอาการผิดปกติหรือโรคใดๆ ควรนำมาแสดงแก่แพทย์ผู้ให้บริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เพื่อประกอบการวินิจฉัยด้วย
เตรียมคำตอบ
ตัวอย่างคำตอบที่ควรเตรียมไปตอบคำถามแพทย์ในโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน
- ประวัติการแพ้ยา อาหาร หรือสารใดๆ ก็ตามที่ทราบ
- ยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่ใช้อยู่
- พฤติกรรมการออกกำลังกาย เช่น วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นต้น
- พฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความถี่ ปริมาณ
- อาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ เช่น ความเจ็บปวด คุณภาพการนอนหลับ เป็นต้น
- หากมีใบผลการตรวจจากการตรวจสุขภาพครั้งก่อน รวมถึงชื่อของแพทย์ เบอร์โทรของสถานที่ที่ตรวจ ควรนำมาด้วย
เตรียมคำถาม
หลังจากแพทย์ตรวจร่างกายเสร็จ มักจะเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยต่างๆ แนวทางการถามคำถามที่ช่วยให้ได้รับคำแนะนำอาจมีดังนี้
- ช่วงอายุของคุณควรตรวจคัดกรองอะไรบ้าง มีอะไรควรตรวจเพิ่มหรือไม่?
- วัคซีนป้องกันโรคที่คุณควรฉีดมีอะไรบ้าง?
- จากประวัติคนในครอบครัวของคุณ มีโอกาสที่คุณจะเป็นโรคอะไรหรือไม่?
- มีพฤติกรรมใดที่ควรปรับเปลี่ยนเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นไหม?
8) หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้
ในช่วงที่กำลังจะเข้ารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานอาจจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพปกติมากที่สุด ได้แก่ ผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงช่วงก่อนและหลังเป็นประจำเดือน 7 วัน เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจปัสสาวะ, หลีกเลี่ยงช่วงเจ็บตา, หลีกเลี่ยงหลังจากได้ยินเสียงดังมาอย่างน้อย 16 ชั่วโมง ฯลฯ เป็นต้น
ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในหลากหลายองค์กร เนื่องจากส่งผลดีต่อการทำงาน ทั้งกับตัวผู้ทำงานเอง รวมถึงเพื่อนร่วมงานด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคติดต่อ และสุขภาพระหว่างการทำงาน ช่วยลดความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง กรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ทันท่วงที หลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพมากยิ่งขึ้น
ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายในข้อไหนออกมาให้เราตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน นอกจากงานที่ทำหน้าที่เสี่ยงอันตราย ยกตัวอย่างหน้างานที่ต้องเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม งานที่ต้องอยู่กับสารเคมีบ่อย หรืองานที่เสี่ยงในเรื่องของสถานที่ ยกตัวอย่างหากเราเป็นโรคใดโรคหนึ่งโดยที่ไม่รู้ตัว และไม่เหมาะกับงาน หากเกิดอันตรายระหว่างทำงาน อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ จึงทำให้มีการออกกฎข้อนี้มานั่นเอง ส่วนใหญ่จะทำการตรวจสุขภาพเมื่อเข้าไปทำงานเซ็นสัญญาว่าจ้างในบริษัทแล้ว
สรุปง่ายๆ ก็คือ เราไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานก็ได้ เพราะไม่ผิดกฎหมาย แต่หากบริษัทไม่รับเข้าทำงาน เราก็ต้องยอมรับความจริงในข้อนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันก่อนเริ่มงานในองค์กร หลายบริษัทกำหนดให้ต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ซึ่งก็เป็นผลดีกับทั้งผู้สมัครงาน องค์กร รวมถึงเพื่อนร่วมงาน ในการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อ หรือทำให้ทราบโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายกับผู้รับการตรวจสุขภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมขั้นตอนต่างๆ นั้นไม่ยุ่งยากเลย หากศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและปฏิบัติตามนี้ก็จะช่วยให้ผลตรวจสุขภาพของคุณออกมาแม่นยำเพื่อนำไปใช้ยื่นกับบริษัท ทั้งนี้นอกจากการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานแล้ว หากเป็นไปได้ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งก็จะช่วยให้เราทราบถึงความเสี่ยงและวิธีการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย
ทางอินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรมสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้ได้ ทางคลินิกมีสาขาให้บริการหลากหลาย สามารถติดต่อสอบถามของคลินิกที่สาขาใกล้บ้านได้ > เลือกคลินิกใกล้ฉัน
อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 15/06/2022
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com